ข้อมูลเที่ยวอินเดีย : ข้อมูลทั่วไป สิกขิม (Sikkim)

ข้อมูลทั่วไป สิกขิม (Sikkim) 

- สิกขิม มีที่มาจากคำ 2 คำในภาษาลิมบู (Limbu) คือ คำว่า “Su” หมายถึง ใหม่ และคำว่า “Khyim” ที่หมายถึง พระราชวัง หรือ บ้าน เมื่อรวมกันแล้ว สิกขิมจึงหมายความว่า “พระราชวังหรือบ้านหลังใหม่” ซึ่งมีผู้ปกครองคนแรกคือ Phuntsok Namgyal (ส่วนในภาษาทิเบต คำว่า สิกขิมคือ Denjong ซึ่งมีความหมายว่า หุบเขาแห่งข้าว)
- สิกขิม (Sikkim) เป็นรัฐที่เล็กที่สุดเป็นอันดับสองรองจากรัฐ “กัว” หรือ “โคอา” (Goa) ในประเทศอินเดีย มีพื้นที่ทั้งสิ้น 7,098 ตารางกิโลเมตร และมีเมืองหลวงชื่อว่า “กังต็อก” (Gangtok) ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุด (ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของสิกขิม) 
- สิกขิมมียอดเขาที่สูงที่สุดคือ ยอดเขาคันชังจุงก้า (Khangchendzonga) เดิมมีความสูงถึง 8,598 เมตร ซึ่งคนพื้นเมืองถือเป็นยอดเขาศักดิ์สิทธิ์ เพราะเชื่อกันว่าที่ยอดเขานี้เป็นที่เก็บสัญลักษณ์ทั้ง 5 อย่างของพระเจ้า คือ เงิน ทอง รัตนชาติ และพระคัมภร์ สำหรับยอดเขาคันชังจุงก้าเป็นยอดเขาสูงอันดับ 3 ของโลก รองจากยอดเขาเอเวอเรสต์ที่สูง 8,848 เมตรและ ยอดเขาเคทูที่สูง 8,611 เมตร

อาณาเขตของรัฐสิกขิม : - ด้านตะวันตกติดกับประเทศเนปาล
                                    - ด้านเหนือและตะวันออก ติดกับทิเบต
                                    - ตะวันออกเฉียงใต้ติดกับภูฎาน
                                    - ด้านทิศใต้ติดกับรัฐเบงกอลตะวันตก
การปกครอง : สิกขิมแบ่งการปกครองออกเป็น 4 เขต ได้แก่ สิกขิมเหนือ สิกขิมใต้ สิกขิมตะวันออก และ สิกขิมตะวันตก
ภาษาที่ใช้ในสิกขิม : ภาษาฮินดี ภาษาภูเทีย เลปชา ลิมบู โดยมีภาษาราชการคือ ภาษาอังกฤษ
ศาสนาที่นับถือ : ศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ
เวลา : อินเดียเวลาช้ากว่าเมืองไทย 1 ชั่วโมงครึ่ง

ภูมิอากาศสิกขิม
ด้วยความที่สิกขิมมีภูมิประเทศที่เป็นภูเขา ไม่มีที่ราบ จึงทำให้สิกขิมมีสภาพภูมิอากาศเพียง 3 ฤดูคือ
- ฤดูใบไม้ผลิ ประมาณเดือน มีนาคม - พฤษภาคม ช่วงนี้จะมีดอกกุหลาบพันปีและกล้วยไม้หลากหลายชนิด แข่งกันบานต้อนรับนักท่องเที่ยวเต็มไปหมด
- ฤดูฝน ช่วงประมาณเดือน มิถุนายน-กันยายน โดยมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 12-25 องศาเซลเซียส แต่จะเป็นช่วงที่มีมรสุมและมีฝนตกตลอดเวลาด้วย 
- ฤดูหนาว ช่วงเดือน ตุลาคม-กุมภาพันธ์ มีอุณหภูมิประมาณ 5-15 องศาเซลเซียส เป็นช่วงที่ท้องฟ้าเปิดและเหมาะสำหรับการเดินป่า แต่อาจจะมีถนนถูกตัดขาดเหนื่องจากหิมะตกหนัก

- ฤดูท่องเที่ยวที่เหมาะสม
- ช่วงเดือนเมษายน –พฤษภาคม เพราะเป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิตและดอกไม้บาน 
- ช่วงกลางเดือนตุลาคม - กลางเดือนกุมภาพันธ์ เหมาะสำหรับการเดินทางไปเที่ยวชมบรรยากาศของภูเขาหิมะ

งานเทศกาลสิกขิม
- สิกขิมมีเทศกาลฉลองของวัดรุมเต็ก แสดงระบำหน้ากาก ซึ่งกำหนดขึ้นตามปฏิทินทิเบต

สกุลเงินสิกขิม : รูปี เงินเหรียญจะมีตั้งแต่ 10,20, 25, 50 Paise และ 1,2, 5 รูปี (1 รูปี เท่ากับ 100 Paise) ส่วนธนบัตร มี 10,20,50, 100 และ 1,000 รูปี อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 1 รูปี เท่ากับ 0.9x บาท (อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้)
เทคนิคการใช้เงินและแลกเงิน : หลักในการคิดเวลาซื้อของแบบง่ายคือ 1 รูปีเท่ากับ 1 บาทไทย ซึ่งสามาถแลกเงินรูปีได้จากธนาคารในเมืองต่างๆ หรือที่สนามบิน โดยไม่ควรแลกเงินกับพ่อค้าที่รับแลกเงินทั่วๆ ไป เนื่องจากมีสิทธิ์โดนโกงได้ สำหรับเมืองเล็กๆ ที่อยู่ในชนบทนั้น มักไม่ค่อยมีให้เงินทอน จึงควรเตรียมแลกเป็นแบงก์ย่อยด้วยเพื่อความสะดวก
ไฟฟ้า : ไฟฟ้าในอินเดียมีขนาด 230-240 โวลต์ และลักษณะขาเสียบเป็นขากลม สามขา ดังนั้น ควรเตรียมตัวแปลงปลั๊กไปติดไปด้วยเพื่อสำหรับชาร์จอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เช่น กล้อง โทรศัพท์
โทรศัพท์ : ถ้าต้องการโทรศัพท์กลับเมืองไทย หรือ โทรไปต่างประเทศจากอินเดีย ให้ใช้บริการของศูนย์บริการ PCO/STD/ISD มีราคาถูกกว่าโทรจากโรงแรมที่พัก โดยไม่แนะนำให้นำโทรศัพท์มือถือจากประเทศไทยไปใช้แล้วเปิดบริการ Roaming เพราะว่าเสียค่าบริการโทรกลับเมืองไทยในราคาแพง ประมาณ 114 บาท/นาที 
- อัตราค่าบริการ สำหรับมือถือของอินเดียนั้น จะมีหมายเลข 10 หลัก ซึ่งสามารถหาซิมการ์ดได้จากศูนย์บริการ PCO/STD/ISD ตามร้านขายโทรศัพท์ทั่วไป ซึ่งจะขายพร้อมบัตรเติมเงิน
- วิธีการโทรศัพท์ โทรภายในประเทศอินเดีย กดรหัสเมือง คือ 11 ตามด้วยหมายเลข 10 หลัก ส่วนการโทรกลับเมืองไทย กดรหัสต่างประเทศจากอินเดีย ตามด้วยรหัสประเทศไทย คือ 66 แล้วตามด้วยเบอร์โทรศัพท์ที่ต้องการ (ตัด 0 ข้างหน้าออก) เช่น เบอร์มือถือ 081 234 5678 ให้กด 00 66 81 234 5678
เวลาทำงานของสิกขิม : สถานที่ราชการของสิกขิมจะเริ่มทำการตั้งแต่เวลา 10.00 น. – 16.00 น. (วันจันทร์-เสาร์) ส่วนธนาคารจะเปิด 10.00 – 14.00 น. (วันจันทร์-ศุกร์) และวันเสาร์จะเปิดทำการครึ่งวัน ส่วนไปรษณีย์จะเปิดทำการ 09.00-17.30 น.(วันจันทร์-เสาร์) ในส่วนของร้านค้าทั่วไป จะเปิดตั้งแต่ เวลา 10.00 – 20.00 น.

การเตรียมตัวก่อนเดินทางไปสิกขิม
สำหรับนักท่องเที่ยวที่จะไปท่องเที่ยวในสิกขิมนั้น ควรจะเตรียมใจไว้สำหรับความสะดวกสบาย การเดินทาง 
- เสื้อผ้า 
- ฤดูใบไม้ผลิ เป็นช่วงที่อากาศเย็นสบาย ควรเตรียมเสื้อกันหนาวไปด้วย บนยอดเขาจะมีหิมะปกคลุมตลอดทั้งปี
- ฤดูฝน ควรเตรียมเสื้อผ้าไปหลายๆ ชุด เพราะฝนตกหนักและมีมรสุมเข้าบ่อย ทำให้มีฝนตกทั้งวัน เสื้อผ้าไม่ควรหนามากนัก ควรเป็นรองเท้าที่โปร่งสบายและทนน้ำได้ดี
- ฤดูหนาว เป็นช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นมาก อุณหภูมิติดลบ ควรเตรียมเสื้อกันหนาวแบบหนา หมวก ถุงมือ ถุงเท้า
- ตัวแปลงปลั๊กไฟ ไฟฟ้าในอินเดียมีขนาด 230-240 โวลต์ และลักษณะเป็นขาเสียบแบบขากลมสามขา ดังนั้น ควรเตรียมปลั๊กแปลงไฟติดไปด้วย
- น้ำดื่ม ควรเลือกซื้อน้ำดื่มที่บรรจุขวด ซึ่งพิมพ์วันผลิต วันหมดอายุ และราคาพร้อม ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายของชำทั่วไป
- ยาต่างๆ เช่น แก้ปวดหัว แก้หวัด แก้ไข้ แก้ปวดท้อง ยาโรคกระเพาะ แก้ท้องเสีย ผงเกลือแร่ ยา attitude sickness pill เผื่อใครแพ้ที่สูง 
- อุปกรณ์อื่น เช่น โลชั่นที่ให้ความชุ่มชื้น ลิปมัน ไฟฉาย (บางเมืองมีปัญหาเรื่องไฟตกบ่อย) ถุงพลาสติกใบใหญ่เพื่อกันเสื้อผ้าเปียกจากความหนาวเย็น ทิชชู ทิชชูเปียกเนื่องจากที่อินเดียมีปัญหาเรื่องขาดแคลนน้ำพอสมควรควรเอาไปเผื่อเวลาใช้เช็ดมือ

ทัวร์แนะนำ ที่คุณอาจจะสนใจ