ข้อมูลเที่ยวบรูไน : วันชาติบรูไนดารุสซาลาม(National Day of Brunei Darussalam.)

ข้อมูลเที่ยวบรูไน : วันชาติบรูไนดารุสซาลาม(National Day of Brunei Darussalam.)

วันชาติบรูไนดารุสซาลาม
๒๓ กุมภาพันธ์
บรูไน หรือเนการาบรูไนดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam แปลว่า ดินแดนแห่งความสงบสุข) เป็นชาติสมาชิกอาเซียน บรูไนตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของเกาะบอร์เนียว มีอาณาเขตติกับรัฐซาราวักของประเทศมาเลเซีย ขนาดพื้นที่ไกล้เคียงกับจังหวัดจันทบุรีเป็นประเทศที่ร่ำรวยด้วยทรัพยากรน้ำมันและมีความสัมพันธ์อันดีกับไทย วันชาติของบรูไนคือวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์เป็นวันที่บรูไน พ้นจากการอารักขาของสหราชอาณาจักร ส่วนวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นวันประกาศเอกราช (Independence Day)ถือว่าเป็นวันสำคัญที่คนในชาติภาคภูมิใจ และใช้เวลาเตรียมงานล่วงหน้ามากกว่า ๒ เดือนในวันนั้นจะมีการแต่งกายสีสดใส ข้าราชการ ประชาชน ร่วมเดินและสวดในมัสยิดกันอย่างพร้อมเพรียง บรุไนเป็นชาติที่เก่าแก่ ปรากฏชื่อในเอกสารของชาวจีนว่า โป-นิ (P’o-ni)และพบหลักฐานเป็นเศษแก้วถ้วยชาวจีนสมัยราชวงศ์ฮั่น ประมาณพพุทธศตวรรษที่ ๓-๗ สินค้าสำคัญของบรุไนคือรังนก และปรากฏหลักฐานว่า บรูไนส่งเครื่องบรรณาการให้จีนสมัยราชวงศ์ซ่ง (พ.ศ.๑๕๐๓-๑๘๒๒)นอกจากนี้ยังค้าขายกับมะละกา ส่งการบูร ข้าว ทองคำ สาคู ไปยังมะละกา เพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าเช่น ผ้าทองจากอินเดีย ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ภายหลังจากโปรตุเกตยึดมะละกาบรูไนที่เคยยอมรับอำนาจของมะละกาก็เป็นอิสระทางด้านการเมืองอย่างเต็มที่ บรูไนยึดนโยบายเป็นไมตรีและยอมรับอำนาจมหาอำนาจที่ผลัดเปลี่ยนเข้ามาเป็นมหาอำนาจในภูมิภาค เช่นสเปนเป็นชาติแรกที่เข้ามาขอเป็นพันธมิตร ในปี พ.ศ.๒๐๖๔ ต่อมาโปรตุเกตที่ต้องการผลประโยชน์ทางการค้า หันมาสร้างสัมพันธ์กับบรูไน ในปี พ.ศ.๒๐๖๔ ต่อมาโปรตุเกตที่ต้องการผลประโยชน์ทางการค้า หันมาสร้างสัมพันธ์กับบรูไน ในปี พ.ศ.๒๐๖๗
การผูกมิตรและไม่ยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งบริเวณคาบสมุทรและช่องแคบมะละกา ส่งผลให้บรูไน ไม่มีศัตรู สร้างความมั่นคงทางการเมือง สามารถขยายอาณาเขตการครอบครองไปถึงชายฝั่งตะวันตกของบอร์เนียวและหมู่เกาะซูลู
         


พ.ศ.๒๐๖๙ การค้าระหว่างโปรตุเกส จีนและญี่ปุ่นเจริญขึ้นมากโปรตุเกสจึงใช้บรูไนเป็นถานีการค้า เป็นเมืองท่าแวะพักระหว่างมะละกากับมาเก๊า รูไนเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงเนื่องจากเกิดการแย่งชิงอำนาจกันเองระหว่างราชวงศ์ ต่างฝ่ายต่างดึงมหาอำนาจทั้งในโปรตุเกสและสเปนเข้ามาฝ่ายตน โดยเสนอยกดินแดนให้แก่ผู้ช่วยเหลือ บรูไนเสื่อมอาจลงอย่างรวดเร็ว พุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๔ บรูไนไม่ได้เป็นเมืองท่าสำคัญอีกต่อไป การค้าระหว่างจีนกับบรูไนสิ้นสุดลงกินแดนทางภาคใต้ของเกาเบอร์เนียวที่เคยเป็นของบรุไนก็กลายเป็นเมืองขึ้นแค่ในนาม ขณะที่ชาวดัตซ์เข้ามาครอบครองตอนกลางของเกาะเบอร์เนียวทีละน้อย ส่วนทางตะวันออกซูลูก้ได้ตั้งตนเป็นอิสระพุทธศตวรรษที่ ๒๔ บรูไนเหลือเพียงอาณาเขตบรูไนในปัจจุบัน เขตซาราวักและบางส่วนของเบอร์เนียวตอนเหนือเท่านั้น อังกฤษเข้ามามีอิทธิพลในดินแดนแถบนี้ เมื่อเห็นความสำคัญว่าต้องเสาะแสวงหาสถานที่สนับสนุนการค้าภาคตะวันออกไปสู่จีนในช่วง พ.ศ. ๓๘๓-๒๓๙๒ อังกฤษปราบปรามโจรสลัดในน่านน้ำเบอร์   เนียวจนขยายอาณาเขตสู่บรูไน จึงถือโอกาสทำสัญญากับบรูไน ใน พ.ศ.๒๓๘๐ โดยการตั้งกงศุลและเป็นผู้ให้การยินยิมต่อการยกดินแดนของบรุไนให้ชาติอื่น เซอร์ เจมส์ บรุค (Sir James Brook ) ทหารและนักสำรวจชาวอังกฤษ พ.ศ.๒๓๘๒ ได้เข้ามาช่วยเหลือการปราบจลาจลที่กุจิง จน พ.ศ.๒๓๘๕ สุลต่านบรูไนได้แต่งตั้งเขาให้ครอบครองซาราวัก ในตำแหน่งราชาแห่งซาราวัก (Raja of Sarawak)อังกฤษได้สิทธิเต็มที่ในการค้าขายแบบชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง 

 

จากปัญหาโจรสลัด ความวุ่นวายแย่งชิงอำนาจในหมู่ราชวงศ์และการสูญเสียอำนาจปกครองอาณานิคมทำให้บรูไนเสนอเป็นรัฐอารักขาของอังกฤษด้วยความสมัครใจ และลงนามสัญญารับรององการเป็นรัฐอารักขาในวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๔๓๑ มีสาระว่า อังกฤษจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการปกครองภายในประเทศ บรูไนยังคงมีสุลต่านเป็นประมุข และอังกฤษจะได้สิทธิพิเศษทางการค้า การศาล และการเดินเรืออย่างเต็มที่ ห้ามบรูไนยกดินแดนให้แก่ชาวต่างชาติก่อนได้รับการอนุญาตจากอังกฤษ อังกฤษได้แต่งตั้งผู้ว่าราชการประจำเขต สเตรทส์ เซทเทิลเมนต์ (Straits Settlement)ของอังกฤษมาเป็นข้าหลวงใหญ่ในบรุไนและทำหน้าที่สำเร็จราชการควบคุมซาราวักและเบอรืเนียวด้วย การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลดีแก่บรูไนคือ สามารถยุติความขัดแย้งในหราชวงศ์ได้เด็ดขาด แต่เมื่อเกิดจลาจลในลิมบัง ราชาชาลส์ บรุค (Raja Charles Brook)บีบบังคับให้แยกลิมบังจากการปกครองของบรูไนเมื่อสุลต่านปฏิเสธ บรุคได้ใช้อำนาจยึดลิมบังและถือโอกาสยึดหุบเขาทรูซานเป็นของซาราวักด้วย ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๙ บรูไนได้ลงนามสนธิสัญญากับอังกฤษ ยินยิมอยู่ภายใต้อารักขาของอังกฤษเต็มรูปแบบ หลังจากสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง อาณานิคมของสหราชอาณาจักร ต่างทยอยกันเป็นเอกราชอังกฤษก็ลดบทบาทในการอารักขาบรูไนลงในปี พ.ศ.๒๕๐๕ ได้มีการจัดเลือกตั้ง พรรคประชาชนเบอร์เนียว (Borneo People’s Party) ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น แต่ถูกกีดกั้นไม่ให้จัดตั้งรัฐบาลต่อมาจึงได้ยึดอำนาจจากสุลต่านทรงได้รับความช่วยเหลือจากกองทหารกูรข่าของอังกฤษที่ส่งตรงมาจากสิงคโปร์ ในวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๑ อังกฤษและบรุไนได้ร่วมลงนามสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือระหว่างกัน (The new Treaty of Friendship and Co-operation between the UK and Brunei) ที่กรุงลอนดอน เปิดทางให้บรูไนได้รับอิสรภาพภายในห้าปี และได้มีการลงนามที่เมืองหลวง คือ บรูไนทาวน์ (Brunei Town –ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นบันดาร์เสรีเบกาวัน) ลงนามอีกครั้งหนึ่งจัดขึ้นเมื่อ ๗ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๒ เที่ยงคืนของวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๖ สมเด็จพระราชาธิบดีอัจญี ฮัสซานัล โบลเกียร์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ (His Majesty Paduka Seri Baginda Sultan Haji Hassanal Bolkiah Mu’izzaddin Waddaulah)สุลต่านองค์ที่ ๒๒ ได้ทรงอ่านประกาศเอกราช ณ มัสยิดโอมาร์ อาลี ซัยฟุดดีน กรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน หลังจากเสร็จตามพิธีแล้ว พระราชวงศ์และชาวบรูไนกว่า ๓๐,๐๐๐ คนมารวมกันที่สวนฮัจญี เซอร์ โอมาร์ อาลี ซัยฟุดดีน ปืน ๒๑ นัดยิงสลุต จุดดอกไม้ไฟ การเฉลิมฉลองเริ่มขึ้น ๔ วัน ในวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๗ ผู้แทนจาก ๔๐ ประเทศมาร่วมงานนี้และถือเป็นวันชาติ เป็นเอกราชอย่างสมบูรณ์หลังจากอังกฤษอารักขามาเกือบหนึ่งร้อยปี 

ทัวร์แนะนำ ที่คุณอาจจะสนใจ