ข้อมูลเที่ยวพม่า : เจดีย์เยเลพญา Yele Paya
เที่ยวเจดีย์เยเลพญา Yele Paya
ประวัติความเป็นมา เจดีย์เยเลพญาหรือคนพม่าเรียก เจ๊าตันเยเลพญา (Kyauktan Yele Paya) เป็นวัดเจดีย์บนเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งกลางแม่น้ำย่างกุ้ง สำหรับที่มาของคำว่าเจ้าตันเยเลพญา คือ เจ๊าตันเป็นชื่อเมือง เชื่อกันว่าสร้างโดยคหบดีชาวมอญ เมื่อพันกว่าปีที่แล้ว ตั้งแต่ยุคสมัยมอญยังรุ่งเรือง ในตอนสร้าง ได้อธิษฐานไว้ว่า ถ้าน้ำท่วมก็อย่าให้ท่วมองค์เจดีย์ ถ้ามีคนมากราบไหว้มากเท่าไหร่ก็อย่าให้ล้นพื้นที่นั้นๆ ตามความเชื่อแล้ว เจดีย์เยเลพญา เป็นเจดีย์ยอดฮิตของพ่อค้าแม่ค้า และนักธุรกิจทั้งหลาย เพราะเชื่อกันว่า หากใครได้มีโอกาสมาขอพรที่เจดีย์เยเลพญาแล้วจะทำให้การค้ารุ่งเรื่อง อีกทั้งภายในเจดีย์ยังมีพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ใจกลางเจดีย์ ทำจากหินอ่อนปิดทองอร่ามองค์ งดงามเป็นอย่างมาก แต่หนึ่่งสิ่งที่ขาดไม่ได้ที่ต้องสักการะให้ได้บนเกาะเจดีย์เยเลพญาเล็กๆ แห่งนี้คือ พระอุปคุต โดยวิหารของพระอุปคุตถูกสร้างยื่นออกมาจากเกาะเล็กน้อย เพื่อให้อยู่ใจกลางน้ำจริงๆ อีกทั้งเป็นพื้นที่สำหรับให้อาหารปลาอีกด้วย
เรื่องเล่าเจดีย์เยเลพญา
1. เจดีย์เยเลพญา หรือ เจดีย์กลางน้ำ ตามตำนานเล่าว่า เจดีย์แห่งนี้สร้างในสมัยมอญเรืองอำนาจ เมื่อราวพันกว่าปีก่อน โดยมีคหบดีชาวมอญเป็นผู้สร้างและยังได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้าน้ำท่วมก็ขออย่าให้ท่วมองค์พระเจดีย์ ถ้ามีผู้คนมากราบไหว้จำนวนมากเท่าไหร่ก็ขอให้ไม่มีวันเต็มล้นพื้นที่ เพราะเจดีย์แห่งนี้สร้างบนเกาะมีสภาพเป็นเพียงเกาะเล็กๆกลางแม่น้ำกว้างใหญ่เท่านั้น และเจดีย์แห่งนี้ขึ้นชื่อในเรื่อง ไหว้พระขอพรทำธุระกิจทางการค้า
2. การเดินทางเมืองสิเรียมอยู่ห่างจากกรุงย่างกุ้งประมาณ 25 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 45 นาที ถนนลาดยางสภาพดีครับ
เกร็ดน่ารู้ สิเรียม (Syriem)
1. สิเรียม (Syriem) สิเรียมเป็นเมืองเล็กๆตั้งอยู่ตรงจุดบรรจบของแม่น้ำหงสาและแม่น้ำย่างกุ้ง ซึ่งในอดีตเมืองนี้เป็นเมืองท่าสำคัญในการเดินเรือของชาวโปรตุเกส ปัจจุบันเมืองสิเรียมเป็นเมืองอุตสาหกรรม ชาวเมืองส่วนใหญ่ทำงานในโรงกลั่นน้ำมันหรือไม่ก็เป็นลูกจ้างในโรงเบียร์ ประชากรส่วนมากเป็นชาวพม่าเชื้อชายอินเดีย เพราะในสมัยที่พม่าเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ สิเรียมเป็นศูนย์กลางของเมืองท่าและยังเป็นแหล่งผลิตอาหารส่งสู่กรุงย่างกุ้ง และอังกฤษต้องเกณฑ์แรงงานอินดียมาทำนา แล้วพากันมาปักหลักทำมาหากินกันจนถึงปัจจุบนี้
2. ประวัติศาสตร์เมืองสิเรียม
3. สิเรียม พื้นที่มีสภาพเป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ เป็นแหล่งอูข้าวอู่น้ำที่สำคัญ ทำให้เป็นที่หมายปองของชาวต่างชาติในยุคล่าอาณานิคม มีชาวโปรตุเกส อังกฤษ ฝรั่งเศส และฮอนลันดาต่างก็แย่งกันขยายอิทธิพลในภูมิภาคนี้
4. หลังจากหมดยุคอันเกรียงไกรของอาณาจักรหงสาวดี สิ้นบุญพระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่าผู้สืบราชบัลลังก์ต่อจากบุเรงนองคือพระเจ้านันทบุเรง พระองค์ทรงอ่อนแอจนบรรดาประเทศราชประกาศแยกตัวเป็นอิสระ แม้กระทั่งกองทหารและชาวบ้านก็หลบลี้หนีหาย จนอาณาจักรหงสาวดีที่เคยยิ่งใหญ่เกรียงไกรแทบกลายเป็นเมืองร้าง กองทัพชาวยะไข่ จากรัฐอาระกัน ก็บุกเข้ามาปล้นสะดมแล้วเผาเมืองโดยง่าย พวกยะไข่มีกองทัพที่เข้มแข็งและยังมีทหารรับจ้างเป็นชาวโปรุเกสที่เชี่ยวชาญการรบ เมื่อครั้นเคลื่อนพลมาหงสาวดีก็ตั้งกองทัพเรือที่เมืองสิเรียม ครั้นเสร็จศึกสงคราม ก็ปูนบำเหน็จให้ทหารรับจ้างโปรตุเกสชื่อฟิลิป เดอ บริโต ยี นิโคเต เป็นเจ้าเมืองสิเรียม ตั้งแต่นั้นมาเมืองสิเรียมก็เป็นศูนย์กลางการค้าทางทะเลแทนหงสาวดี
5. ฟิลิป เดอ บริโต ยี นิโคเต ปกครองเมืองสิเรียม 13 ปี ได้ทำลายดินแดนพระพุทธศาสนา ยึดทรัพย์สินและบังคับให้ชาวเมืองสิเรียมเข้ารีตเป็นชาวคริสต์นิกายโรมันคาทอริก ให้ทำลายรูปปั้นในศาสนาอื่น โดยเฉพาะวัดในพุทธศาสนา กอบโกยผลประโยชน์ทุกสิ่งทุกอย่างไปจากเมืองสิเรียม จนพระเจ้าอนอคะเปตลุน กษัตริย์พม่า มาล้อมเมืองสิเรียม จับ เดอ บริโต เสียบประจานรับโทษทัณฑ์สูงสุดตามกบิลเมืองพม่าที่กำหนดไว้สำหรับผู้ที่ปล้นวัดวาอาราม ทนทุกข์ทรมานอยู่สามวันจึงตาย
6. หลังจากการตายของเดอ บริโต เมืองสิเรียมตกอยู่ในอำนาจของพม่าบ้าง มอญบ้าง ไทยบ้างกระทั่ง พ.ศ.2428 พม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 อังกฤษได้พัฒนาเมืองสิเรียมเป็นเมืองอุตสาหกรรมและแหล่งปลูกข้าวตราบจนปัจจุบัน