ข้อมูลเที่ยวญี่ปุ่น : "ฮินะมัตสึริ" เทศกาลวันเด็กผู้หญิง (Hina Matsuri)
เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองของเด็กผู้หญิงในประเทศญี่ปุ่น ว่ากันว่าจำนวนชั้นจะมากหรือน้อยนั้น ก็เป็นการแสดงถึงฐานะของแต่ละบ้าน ซึ่งระดับจะสูงสุดที่ประมาณ 7 ขั้น จำนวนตุ๊กตาและการตกแต่งจัดเครื่องแต่งกายให้กับตุ๊กตาก็เป็นการแสดงออกถึง ฐานะเช่นกัน
Happy Hinamatsuri (Girl's Day Celebration)
เทศกาลฮินะ (Hina Matsuri) หรือฮินะ มัตสุริ เทศกาลนี้จะมีการจัดขึ้นในวันที่ 3 มีนาคม เป็นประจำทุกปี ซึ่งเป็นเทศกาลที่มีชื่อเสียงมาตั้งแต่สมัยเอโดะ Edo (1603-1867) เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองของเด็กผู้หญิงในประเทศญี่ปุ่น โดยจะมีการตกแต่งตุ๊กตาญี่ปุ่น ที่สวยงามหลายตัวบนชั้นวาง ที่ตั้งอยู่ภายในบ้าน ตามความเชื่อที่ว่า จะทำให้ลูกสาวมีสุขภาพแข็งแรงและมีความสุข บางครั้งเรียกเทศกาลนี้ว่า เทศกาลเด็กผู้หญิง (Girl's Festival) ชาวญี่ปุ่นรับเทศกาลนี้มาจากธรรมเนียมจีน ตามความเชื่อว่า จะสามารถขจัดเคราะห์ร้าย ให้ไปกับตุ๊กตาได้ โดยปล่อยตุ๊กตาลอยไปกับแม่น้ำ ส่วนในประเทศญี่ปุ่น จะถือว่าเป็นเทศกาลของการอธิษฐานให้ลูกสาวมีความสุข ขจัดพลังชั่วร้ายออกไปจากชีวิต ประสบความสำเร็จ สุขภาพร่างกายแข็งแรง และสวย
เด็กผู้หญิงที่เริ่มเข้าสู่เทศกาลฮินะครั้งแรก จะถูกเรียกว่า "ฮัตสุ เซกุ" (hatzu-zekku) โดยจะเป็นที่ชื่นชอบในหมู่ย่าหรือยาย เพราะพวกเธอจะซื้อตุ๊กตามาจัดโชว์ให้กับหลานสาว เริ่มนำตุ๊กตามาทำความสะอาดตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ จนกระทั่งเมื่อถึงวันที่ 3 มีนาคม ก็จะนำตุ๊กตาฮินะหรือ ฮินะนิงโย (hinaningyo) มาตั้งโชว์ ซึ่งเป็นตุ๊กตาที่ทำด้วยมือแบบดั้งเดิม วางไว้บนชั้นปกติจะมีทั้งหมด 7 ชั้น รอบๆ ชั้นจะประดับด้วยเครื่องบูชา เช่น ดอกพีช ข้าว เค้ก และเค้ก ที่ทำจากข้าวรูปร่างคล้ายเพชร ซึ่งเรียกว่าฮิชิโมกิ (hishimochi) รวมไปถึงสาเกขาว และคิราชิซูชิ (chirashi sushi) ตุ๊กตาที่ส่วนใหญ่จะต้องนำมาวางในชั้น คือ ตุ๊กตา เจ้าชายโอไดริ-ซามะ (Odairi-sama) และเจ้าหญิงโอฮินะ-ซามะ (Ohina-sama) ซึ่งตุ๊กตาทั้งสองตัวนี้ จะถูกวางไว้บนสุดของชั้นวาง รายล้อมไปด้วยข้าราชบริพาร และเครื่องตกแต่งชิ้นเล็กๆ โดยฉากหลังของชั้น จะประดับด้วยฉากที่เป็นสีทอง ให้เหมือนกับคฤหาสน์จำลองว่ากันว่าจำนวนชั้นจะมากหรือน้อยนั้น ก็เป็นการแสดงถึงฐานะของแต่ละบ้าน ซึ่งระดับจะสูงสุดที่ประมาณ 7 ขั้น จำนวนตุ๊กตาและการตกแต่งจัดเครื่องแต่งกายให้กับตุ๊กตาก็เป็นการแสดงออกถึง ฐานะเช่นกัน โดยทั่วไปในหนึ่งเซทจะมีประมาณ 15 ตัว เป็นตุ๊กตาชาววังที่เริ่มตั้งแต่ จักรพรรดิ จักรพรรดินี เจ้าชาย เจ้าหญิง ผู้รับใช้ ฯลฯ ลดหลั่นกันลงมาตามลำดับ
ในยุคแรกๆ การตั้งตุ๊กตาเป็นประเพณีของผู้มีอันจะกิน หลักๆ จะเป็นตุ๊กตาเจ้าชายและเจ้าหญิง โดยในสมัยโบราณนั้นจะมีการจัดทำตุ๊กตาฮินะขึ้นจากวัสดุพวกไม้กระดาษที่ทำ ขึ้นมาอย่างง่ายๆ แล้วนำไปใส่กระด้งเล็กๆ ลอยแม่น้ำหรือทะเลเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ภาวนาให้ลูกสาวของบ้านนั้นเติบโตขึ้นโดยมีสุขภาพแข็งแรง หลังจากนั้นก็ได้รับความนิยมเรื่อยมาจนเกิดเป็นประเพณีของผู้คนทุกฐานะ และเริ่มตกแต่ง ประดับประดา จัดทำเครื่องแต่งกายให้สวยงามมากขึ้น ใช้วัสดุที่ดีอย่างผ้าไหมตัดเป็นเครื่องแต่งกายให้ตุ๊กตาในชุดกิโมโนเต็มยศ แบบโบราณ ซึ่งบางบ้านเป็นตุ๊กตาประจำตระกูลที่สืบทอดต่อๆ กันมาหลายร้อยปี มีการบูชาและถวายเครื่องเซ่นต่างๆ ทั้งขนมหวานที่ชื่อว่า " อาราเร่ " และขนมที่ทำมาจากข้าวเหนียว " คาชิวะ โมจิ " หรืออาจจะเป็นเค้กที่ทำจากข้าว พร้อมเครื่องดื่มพวกเหล้าขาวอย่าง " ชิโรสาเก " และบูชาด้วยดอกไม้อย่างดอกท้อ เทศกาลน่ารักๆ นี้ แต่ละครอบครัวที่มีลูกสาวจะเลี้ยงฉลองพิธีนี้อย่างตั้งใจ มีการดื่มฉลองแสดงความยินดีและอวยพรให้เติบโตอย่างมีความสุข และในปัจจุบันก็เปิดโอกาสให้มีการสังสรรค์กันในกลุ่มเพื่อนๆ เพิ่มขึ้น คืออาจจะชวนกันมาจัดปาร์ตี้กลางแจ้ง ทานอาหารร่วมกันที่บ้าน ซึ่งนับเป็นอีกเทศกาลหนึ่งที่สามารถสร้างรอยยิ้ม สร้างความสุข และสร้างความสัมพันธ์อันดีให้กับคนในครอบครัว
"ฮินะมัตสึริ" เทศกาลวันเด็กผู้หญิงของญี่ปุ่น วันที่ 3 มีนาคม ของทุกปี
วันเด็กผู้หญิง ที่จัดขึ้นเพื่ออวยพรให้ลูกสาวเติบโตขึ้นอย่างมีความสุข สุขภาพแข็งแรง และประสบความสำเร็จในชีวิต เทศกาลนี้มีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ 1,000 ปีก่อน โดยรับอิทธิพลจากประเทศจีนที่คนโบราณมีความเชื่อว่าจะขจัดเคราะห์ร้ายได้ด้วยการนำตุ๊กตาไปลอยในแม่น้ำ แต่ญี่ปุ่นนำมาปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมของตัวเอง และธรรมชาติของเด็กผู้หญิงที่ชอบเล่นตุ๊กตากระดาษ อีกหลายร้อยปีถัดมา บรรดาเจ้านายในราชสำนักก็เลิกใช้กระดาษแล้วหันมาตกแต่งตุ๊กตาให้มีความหรูหรา ประดับประดาชั้นวางอย่างสวยสดงดงามสำหรับการเฉลิมฉลองในพระราชวัง ก่อนจะแพร่หลายไปในหมู่พ่อค้าคหบดีร่ำรวยจนถึงประชาชนคนธรรมดา และกลายเป็นเทศกาลประจำปีทุกวันที่ 3 มีนาคม นับแต่นั้นเป็นต้นมา ส่วนจำนวนตุ๊กตาที่จะนำมาจัดแสดงมากน้อยนั้นขึ้นอยู่กับฐานะของครอบครัว เพราะส่วนราคาของตุ๊กตาแต่ละตัวนั้นแพงไม่น้อย ถ้าหากจัดแสดงครบเต็มรูปแบบจะมีทั้งหมด 7 ชั้น โดยชั้นสูงสุดจะประกอบด้วยตุ๊กตาจักรพรรดิและจักรพรรดินี รองลงมาเป็นนางข้าหลวง นักดนตรีหลวง เสนาบดี และองครักษ์ ลดหลั่นลงมาตามลำดับ ส่วนชั้นล่างจะมีเครื่องใช้ต่างๆ ตามแบบราชสำนักโบราณ ต้นไม้ที่นำมาจัดแสดงนั้นมีทั้งต้นส้ม และต้นซากุระ สัญลักษณ์ของญี่ปุ่น แต่หากเป็นประเพณีเดิมจะประดับด้วยต้นท้อที่กำลังเบ่งบานด้วย เนื่องจากเดือนมีนาคมเป็นฤดูที่ดอกท้อกำลังบาน และชาวญี่ปุ่นถือว่าท้อเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ เป็นสัญลักษณ์ของพลังแห่งชีวิต ความเป็นอมตะ และสันติสุข เทศกาลฮินะมัตสึริ (ひな祭り) หรือที่เรียกกันว่า เทศกาลวันเด็กผู้หญิง (Girl’s Festival) จัดขึ้นในวันที่ 3 เดือนมีนาคมเป็นประจำทุกปี เป็นเทศกาลที่มีมาตั้งแต่สมัยเฮอันช่วง ค.ศ. 794-1192 เป็นช่วงที่มีการเล่นตุ๊กตากระดาษของเหล่าบรรดาบุตรีของขุนนาง ซึ่งในยุคนั้นมีความเชื่อว่า เมื่อหลังจากการไหว้เจ้าแล้วนำตุ๊กตากระดาษปล่อยลอยน้ำไปนั้นจะช่วยขจัดสิ่งชั่วร้ายและความเจ็บไข้ได้ป่วยออกไปได้ หลังจากราวศตวรรษที่ 18 เป็นช่วงกลางสมัยเอโดะเป็นต้นมา (ค.ศ. 1603-1868) เริ่มมีการทำตุ๊กตาฮินะที่ดูหรูหราโดยแต่งกายตามแบบราชสำนักของญี่ปุ่น จะมีการวางบนชั้นทั้งหมด 7 ชั้น ในแต่ละชั้นก็จะมีเครื่องประดับซึ่งเป็นเครื่องบูชาแบบางๆ (Matsuri=เป็นงานเทศกาลตามประเพณีของญี่ปุ่น) การจัดเทศกาลนี้ มักจะจัดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ก่อนจะถึงวันเทศกาลฮินะ ชาวญี่ปุ่นจะนำชุดตุ๊กตาฮินะมาจัดแต่งภายในห้องโดยประดับชุดตุ๊กตาฮินะไว้บนชั้นและตกแต่งอย่างสวยงาม ส่วนชุดตุ๊กตาฮินะ ชาวญี่ปุ่นเค้าเรียกกันว่า 雛人形 Hina ningyoo (人形 Ningyoo มีความหมายว่า ตุ๊กตา) เพื่ออวยพรให้เด็กผู้หญิงเติบโตมีสุขภาพที่แข็งแรง มีความสุขและประสบความสำเร็จในชีวิต และเนื่องจากตรงกับฤดูดอกท้อบาน จึงเป็นการเฉลิมฉลองวันเด็กผู้หญิงที่ผสมผสานกับช่วงฤดูดอกท้อบาน ซึ่งเรียกเทศกาลนี้ว่า 桃の節句 Momo no sekku 桃の節句 Momo no sekku (桃 Momo = ลูกท้อ / 節句 sekku มีความหมายว่า วันเทศกาลประจำปีที่อยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงฤดูกาล)
เด็กผู้หญิงที่พึ่งเข้าสู่เทศกาลฮินะเป็นครั้งแรกตั้งแต่แรกเกิด เรียกว่า 初節句 Hatsuzekku (初 Hatsu มีความหมายว่า ครั้งแรก) ผู้อาวุโส คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย จะให้ชุดตุ๊กตาฮินะเป็นของขวัญในการเฉลิมฉลองสำหรับเทศกาลที่สำคัญของหลานสาวโดยจะให้ตุ๊กตาจักรพรรดิกับจักรพรรดินีคู่กัน 2 ตัว ในครอบครัวที่มีลูกสาวมักจะจัดเตรียมอาหารแล้วเชิญชวนเพื่อนบ้านมาร่วมเฉลิมฉลองด้วยกันอย่างสนุกสนานเฮฮา และเมื่อจบเทศกาลฮินะ ชาวญี่ปุ่นที่มีลูกสาวมักจะเก็บชุดตุ๊กตาฮินะภายในวันเทศกาล เพราะชาวญี่ปุ่นมีความเชื่อว่า ถ้าไม่เก็บภายในวันนั้นจะทำให้ลูกสาวแต่งงานช้า หรือที่เรียกกันว่าขึ้นคานนั้นเอง
วิธีการประดับตกแต่งตุ๊กตาฮินะ
1. ประกอบหิ้งวางตุ๊กตาและปูพรมสีแดงคลุม
2. หิ้งชั้นบนสุดประดับด้วยตุ๊กตา 内裏びな Dairi-bina จักรพรรดิกับจักรพรรดินี ทางซ้ายมือจะวาง 男雛 Obina จักรพรรดิ ส่วนทางขวามือจะวาง 女雛 Mebina จักรพรรดินี โดยทั้งสองฝั่งจะมี 雪洞Bonbori โคมไฟ ตั้งอยู่ข้างๆ ทั้งสองฝั่ง ด้านหลังตั้งฉากสีทอง พร้อมกับตั้ง 桃の花 Momo no hana ดอกท้อ ไว้ตรงกลางระหว่างจักรพรรดิกับจักรพรรดินี
3. หิ้งชั้นที่ 2 ประดับด้วยตุ๊กตา 三人官女 Sannin-kanjo นางสนองพระโอษฐ์ 3 คน เป็นผู้หญิงที่คอยดูแลจักรพรรดิและจักรพรรดินี
4. หิ้งชั้นที่ 3 ประดับด้วยตุ๊กตา 五人囃 Gonin-bayashi นักดนตรี 5 คน ซึ่งเล่น 太鼓 Taiko กลองใหญ่ / 大鼓 Ookawa กลองกลาง / 鼓 Tsuzumi กลองเล็ก / 笛 Fue ขลุ่ย / 謡方 Utaikata ผู้ที่ขับร้อง
5. หิ้งชั้นที่ 4 ประดับด้วยตุ๊กตา 右大臣 Udaijin ทหารรับใช้ฝ่ายขวา (อยู่ทางด้านซ้ายมือ) / 左大臣 Sadaijin ทหารรับใช้ฝ่ายซ้าย ซึ่งมีตำแหน่งสูงกว่า Udaijin (อยู่ทางด้านขวามือ) ระหว่างกลางจะมีของไหว้คือ 菱もち Hishi-mochi เป็นขนมโมจิรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
6. หิ้งชั้นที่ 5 ประดับด้วยตุ๊กตา 三人上戸 Sannin-joogo ทหารรักษาพระองค์ คนทางซ้ายจะถือร่มกันฝน คนตรงกลางจะถือที่วางรองเท้าของจักรพรรดิ และคนทางขวาจะถือร่มกันแดด ระหว่างทหารรักษาพระองค์ 3 คนนี้ ทางด้านซ้ายจะประดับด้วยต้นส้ม และทางด้านขวาจะประดับด้วยต้นซากุระ
7. หิ้งชั้นที่ 6 ประดับด้วยเครื่องเรือนต่างๆ 火鉢 Hibachi เตาถ่านสำหรับต้มน้ำและให้ความอบอุ่นร่างกายของจักรพรรดิ / お茶道具 Ochadoogu เครื่องชงชาสำหรับจักรพรรดิ
8. หิ้งชั้นที่ 7 ประดับด้วยพาหนะต่างๆ เช่น 籠 Kago เกี้ยว / 牛車 Gissha รถม้า สมัยนี้การจัดประดับชั้นตุ๊กตาฮินะอาจจะไม่ค่อยเห็นครบ 7 ชั้นนัก เพราะเนื่องจากตามบ้านเรือนของชาวญี่ปุ่นมีลักษณะค่อนข้างแคบ โดยส่วนใหญ่มักจะจัดแค่ชั้นแรกชั้นเดียวโดยมีจักรพรรดิกับจักรพรรดินีหรืออาจจะจัดชั้นประมาณ 2-3 ชั้น ขึ้นอยู่กับฐานะของแต่ละบ้านเรือน
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยตามความเชื่อในเทศกาลฮินะ มัตสึริ (Hina matsuri)
1. มีความเชื่อกันว่าถ้าบ้านไหนจัดบูชาตุ๊กตาในวันที่ 3 มีนาคมแล้วนั้น หากพ้นวันนี้ไปแล้วต้องรีบเก็บตุ๊กตาทันที เพราะหากประดับทิ้งไว้นานๆ จะทำให้ลูกสาวขึ้นคานได้ แต่ก็มีอีกความเชื่อหนึ่งที่กล่าวว่า จะตั้งตุ๊กตาฮินะประดับไว้จนถึงวันเด็กผู้ชายในวันที่ 5 พฤษภาคม เพื่อเป็นการฉลองต่อเนื่องกันไปเลย จากนั้นจึงค่อยเก็บให้เรียบร้อยเพื่อนำออกมาประดับในปีต่อๆไป
2. เทศกาลฮินะ มัตสุริ (Hina Matsuri) มีชื่อเรียกด้วยกันหลายชื่อ เช่น โมโมโนะเซกุ (Momo-no-Sekku) เทศกาลตุ๊กตา (Doll's Festival) เทศกาลเด็กผู้หญิง (Girl's Festival)
3. ฮินะ มัตสุริ (Hina Matsuri) มาจากคำว่า ฮินะ (Hina) ซึ่งเป็นคำโบราณที่ หมายถึง ตุ๊กตา ส่วนคำว่า มัตสุริ (Matsuri) หมายถึง เทศกาล