เทศกาล ญี่ปุ่น เทศกาลประดับไฟ Milky Way Illumination

เทศกาล ญี่ปุ่น เทศกาลประดับไฟ Milky Way Illumination ที่ โตเกียวทาวเวอร์ ประเทศ ญี่ปุ่น 
เนื่องในโอกาสฉลองเทศกาลทะนะบะตะเป็นประจำทุกปี ของ ญี่ปุ่น ที่โตเกียวทาวเวอร์จะจัดงาน Amanogawa (Milky Way) Illumination 天の川イルミネーション โดยจะประดับไฟเป็นทางช้างเผือกด้วยหลอดไฟ LED กว่า 27,000 ดวงที่บริเวณหอชมวิว งานจะมีตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน จนถึงวันที่ 7 เดือน 7 ซึ่งเป็นวันทะนะบะตะพอดี (จะเริ่มเปิดไฟช่วงเวลา 17.00-22.00 น.)
วันทานาบาตะ เป็นเรื่องราวความรักเจ้าหญิงทอผ้ากับชายขายวัว ในวันแห่งดวงดาว ที่ในหนึ่งปีจะมีหนึ่งวันที่ทั้งคู่จะได้มาพบกัน ในวันที่ 7 เดือน 7 ทั่วญี่ปุ่นจะจัดงานเทศกาลประจำปีคือ Tanabata Matsuri 七夕祭

ทะนะบะตะ (七夕 หมายถึง ยามเย็นของวันที่เจ็ด) เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองตามดวงดาวของ ญี่ปุ่น มีต้นกำเนิดมาจากงานเทศกาลเจ็ดนางฟ้าของจีน เนื่องจากการพบกันของ นางฟ้าโอริฮิเมะ (ดาวเวกา) และ ฮิโคโบชิ (ดาวอัลแทร์) ผู้เลี้ยงวัวบนสวรรค์ โดยอ้างอิงจากตำนานในอดีตว่า ทางช้างเผือก คือแม่น้ำของดวงดาวพาดผ่านท้องฟ้า ได้ทำการแยกคู่รัก (โอริฮิเมะและฮิโคโบชิ) ไม่ให้ได้อยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยา แต่อนุญาตให้เจอเพียงปีละหนึ่งครั้ง ในวันที่เจ็ดของเดือนที่เจ็ดตามปฏิทินสุริยจันทรคติ เทศกาลเฉลิมฉลองมีขึ้นตอนกลางคืนของวันนั้น

(tanabata) เทศกาลทะนะบะตะ ได้รับอิทธิพลจากตำนานเจ็ดนางฟ้าจากประเทศจีน ตำนานมีหลายหลายรูปแบบ บางรูปแบบได้ถูกรวมอยู่ในตำนานหมื่นใบไม้ ซึ่งเป็นหนังสือรวบรวมบทกลอนเก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น  รูปแบบของตำนานที่ถูกกล่าวขานมากที่สุดก็คือ นางฟ้าโอริฮิเมะ เป็นลูกสาวของกษัตริย์แห่งท้องฟ้า(หรือจักรวาล) ทำหน้าที่ทอผ้าอยู่ที่แม่น้ำอะมะโนกะวะ ท่านพ่อชอบฝีมือการทอผ้าของเธอ แม้ว่าเธอจะทำงานอย่างหนักทุกวันแต่มันก็ไม่ได้ทำให้เธอมีความสุข เพราะไม่ได้พบหรือได้หลงรักชายใดเลย
กษัตริย์แห่งท้องฟ้าผู้ห่วงใยลูกสาว เลยได้จัดการให้เธอได้พบกับฮิโคโบชิ ผู้เลี้ยงวัวอาศัยอยู่อีกฝั่งของทางช้่างเผือก เมื่อทั้งคู่ได้พบกัน ไม่นานนักทั้งคู่ก็ได้หลงรักกันและได้แต่งงาน เมื่อแต่งงานแล้ว นางฟ้าโอริฮิเมะ ก็ไม่ได้ขยันทอผ้าดั่งที่เคย ส่วนฮิโคโบชิก็ได้ปล่อยให้วัววิ่งเพ่นพ่านไปทั่วสวรรค์ ด้วยความโกรธ กษัตริย์แห่งท้องฟ้าจึงได้แยกทั้งคู่ไม่ให้พบกัน กีดกั้นโดยทางช้่างเผือก นางฟ้าโอริฮิเมะเสียใจจากการสูญเสียสามีจึงได้ขอร้องบิดาของตนให้ได้เจอกับสามีของนางอีกครั้ง บิดาพ่ายแพ้แก่น้ำตาของลูกสาวจึงยอมให้ทั้งคู่สามารถเจอกันได้ในวันที่เจ็ดเดือนเจ็ดของทุกปี แต่จะสามารถพบได้ก็ต่อเมื่อเธอทำงานอย่างหนักและทอผ้าจนเสร็จ

เมื่อถึงเวลาที่จะได้พบกันอีกครั้งแรก ทั้งคู่ไม่สามารถข้ามทางช้่างเผือกมาพบกันได้เนื่องจากไร้ซึ่งสะพานข้ามทางช้่างเผือก เมื่อรู้ดังนั้น นางฟ้าโอริฮิเมะได้ร้องไห้อย่างหนักจนฝูงนกกางเขนได้เข้ามาหาด้วยความสงสารและสัญญาว่าจะสร้างสะพานโดยใช้ปีกของพวกมันช่วยกัน จนเธอสามารถข้ามทางช้่างเผือกได้ มีคนกล่าวไว้ว่าถ้าในวันทะนะบะตะปีไหนเกิดฝนตก เหล่าฝูงนกกางเขนจะไม่สามารถช่วยเป็นสะพานในปีนั้นได้ จะทำให้ทั้งคู่ต้องรออีกถึงปีหน้าเพื่อที่จะได้พบกันอีก

ทัวร์แนะนำ ที่คุณอาจจะสนใจ