เรื่องที่ควรรู้ก่อนไปเที่ยวศรีลังกา

เรื่องที่ควรรู้ก่อนไปเที่ยวศรีลังกา
   

ภูมิศาสตร์ศรีลังกา
เป็นเกาะรูปร่างคล้ายลูกแพร ไข่มุก หรือ หยดน้ำมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 24  ของโลก มีพื้นที่ 65610 ตารางกิโลเมตร (เล็กกว่าไทย 8 เท่ามีความยาวจากเหนือจรดใต้ 434 กิโลเมตรมีความกว้างจากตะวันออกถึงตะวันตก 225 กิโลเมตร มีชายฝั่งทะเลยาว 1330 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดียห่างจากประเทศอินเดีย 35 กิโลเมตรมีช่องแคบพอล์ก Polk ขวางกั้นอยู่และมีหมุ่เกาะอาดัมส์เรียงตัวเป็นแนวยาวเกือบเชื่อมต่อกัน เรียกกันว่า สะพานอาดัมส์ Adam Bridge ลักษณะเป็นแนวหินปะการังน้ำตื้นคล้ายสะพาน

ภูมิอากาศศรีลังกา
เป็นแบบประเทศเขตร้อนชื้นอุณภูมิเฉลี่ย 27 องศา เซลเซียสตลอดปี เมืองแคนดี้สูงจากน้ำทะเล 305 เมตร มีอุณภูมิเฉลี่ย 20 และเมืองนูวาระ เอลิยะ สูงจากน้ำทะเล 1890 เมตรมีอุณภูมิเฉลี่ย 16 องศาเซลเซียส มีมรสุมในระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม
ภูเขา  ยอดที่สูงที่สุดชื่อว่า “ ปิดูรูทาละกาลา “ สูง 2524 เมตรมีเทือกเขาสลับซับซ้อนตอนกลางประเทศ ประกอบด้วยไร่ชา และป่าไม้อันงดงาม ซึ่งมีอากาศเย็นตลอดปีเหมือนกับอังกฤษ

แม่น้ำศรีลังกา
แม่น้ำที่ยาวที่สุดคือ “ มหาเวลิ “  Mahaweli ยาว 412 กิโลเมตรไหลจากทางตอนใต้ของเกาะ บริเวณที่รอบสูงแคนดี้ลงสู่ทางเหนือ ออกสู่ทะเลที่ตริงโกมาลี

ประชากรศรีลังกา
ประชากร  20  คน เฉลี่ย 305 คนต่อตารางกิโลเมตรหนาแน่นที่สุดในเอเชียประเทศหนึ่ง  ทุกคนเรียนฟรี รักษาพยาบาลฟรี อัตราผู้รู้หนังสือ 92 % เป็นอัตราที่สูงที่สุดในเอเชียประเทศหนึ่ง อายุเฉลี่ยของผู้หญิงค่อนข้างอายุยืนคือ 74 ปี ส่วนผู้ชาย 69 โดยแบ่งออกเป็น 4 เชื้อชาติคือ สิงหล 74 เปอร์เซ็น  ทมิฬ   18  เปอร์เซ็น มุสลิม 7 เปอร์เซ็น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมัวร์  Moors  คนยากจน  หลังจากเกิดมหันตภัยคลื่นยักษ์สึนามิ เมื่วันที่ 26 ธันวาคม 2547 ทำให้มีคนยากจนเพิ่มมากขึ้นอีกถึง 2 แสน 8 หมื่นคน หรือมีอัตราเพิ่มขึ้น 26.6 เปอร์เซ็นต์

เมืองหลวงศรีลังกา
เมืองหลวงอย่างเป็นทางการคือ “ ศรีจายะวาเดเนปุระ “ Sri Jayawardenepura ส่วนโคลัมโบเป็นเมืองหลวงทางการเมืองการเศรษฐกิจ และสังคม มีประชากรราว 3 ล้านคน

ภาษาศรีลังกา
ที่ใช้พูดกันคือ  สิงหล  ทมิฬ และ อังกฤษ ภาษาทางราชการคือสิงหล
ภาษากาย   การส่ายหน้า หมายถึง  ใช่ หรือ ตกลง
 
ศาสนาศรีลังกา
พุทธ  69 เปอร์เซ็นต์  ฮินดู 15 เปอร์เซ็นต์  คริสต์ 8  เปอร์เซ็นต์  อิสลาม 8  เปอร์เซ็นต์ 

เวลาศรีลังกา
เร็วกว่าเวลามาตรฐานกรีนิช  5 ชั่วโมง  (ช้ากว่าไทย 1 ชั่วโมง)

รายได้หลักศรีลังกา
มาจากการเกษตรคือ   ชาซีลอน ข้าว  ยางพารา มะพร้าว  ไข่มุก  เครื่องเทศ เช่น อบเชย  และอัญมณีคือ ไพลิน   หรือ บลูแซฟไฟร์  Blue  Sapphire  รองลงไปได้แก่  เสื้อผ้า  การขายแรงงานในตะวันออกกลาง  และการท่องเที่ยว 
ตลาดส่งออกหลัก ศรีลังกา
สิ่งทอ  เสื้อผ้า  คือ สหรัฐอเมริกา   อังกฤษ  และ ญี่ปุ่น

สกุลเงินศรีลังกา , เงินตราศรีลังกา
ศรีลังการูปี   (1 รูปีมี  100  เซ็นต์ )  ธนบัตรมีใบละ  10,20,50,100 200,500  และ 1000  ส่วนเหรียญมี 25,50 เซ็น 1,2,5 และ  10  รูปปี  1 ยูเอสดอลล่าร์ แลกได้  110  รูปี  หรือคิดเป็นเงินไทยง่ายๆ คือ  100  รูปี เท่ากับ  35  บาท

การปกครองศรีลังกา
แบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข  ชื่อว่า  นางจันทริกา บันดาราไนยเก  กุมาราตุงคะ มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลชื่อ นายรานิล  วิกรมสิงเห ศรีลังกานั้นเคยเป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกส ฮอลันดา และอังกฤษ สังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา  Democratic Socialist Republic of Srilanka

เทศกาลสำคัญ “เพราเฮรา” Perahara หรือเทศกาลแห่พระเขี้ยวแก้ว  ศรีลังกา
จัดขึ้นในเดือนกรกฏาคมถึงเดือนสิงหาคมของทุกปี เพื่อขอพร ขอฝน มีช้างร่วมขบวนกว่า 100 เชือก ประชาชนเดินพาเหรด 1000 คน เต้นรำ รำคบไฟ มีสืบทอดกันมายาวนานหลายร้อยปี จัดที่เมืองแคนดี้

ขนบธรรมเนียมประเพณีศรีลังกา

จะถอดร้องเท้าก่อนเข้าสถานที่ ศักดิ์สิทธิ์ และเข้าบ้านพักอาศัย สตรีจะสวมกระโปรงยาว  หรือกางเกงหลวม เสื้อผ้าฝ้ายหลวมๆชาวศรีลังกายังนิยมรัปประทานอาหารด้วย มือขวา หรือทั้งสองมือจึงจะถือว่าสุภาพ การแสดงความเคารพจะใช้วิธีพนมมือไหว้เหมือนคนไทย

วันสำคัญ  “พอซอน  อูดาวา “ Poson Udawa ศรีลังกา 
เป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือนมิถุนายน เป็นวันที่พระมหินท์แสดงธรรมให้กับพระเจ้าเทวานัม ปิยะติสสะที่มหินตาเล ใกล้กับเมืองอนุราธปุระเป็นครั้งแรก มีประชาชนมาร่วมงานเป็นแสนคนทุกๆปี

วีซ่าศรีลังกา,การขอวีซ่าศรีลังกา
คนไทยทำวีซ่า คิดค่าบริการ ท่านละ USD 30   www.eta.gov.lk 

ศุลกากรศรีลังกา
อนุญาตให้นำเข้าเหล้าคนละไม่เกิน 2 ลิตร ไวน์ 2ขวด บุหรี่ 20 มวน ซิการ์ 50 มวน น้ำหอมตามความเหมาะสมหากมีเงินสดเกิน  10000 เหรียญสหรัฐ  จะต้องแจ้งดีแคลร์ Declare ต่อเจ้าหน้าที่  ส่วนขาออกจะเข้มงวดกับสินค้าที่ไม่มีใบเสร็จการซื้อหรือใบอนุญาต เช่น ชาลีซอนน้ำหนักมากกว่า 3 กิโลกรัม วัตถุโบราณอายุเกิน 100 ปี ห้ามนำออก เงินตราต่างประเทศที่ไม่ได้แจ้งดีแคลร์และอัญมณีที่ซื้อมาต้องแสดงใบเสร็จด้วย  รวมถึงพันธ์พืชและดอกไม้บางชนิด  ภาษีสนามบิน  ขาออกนอกประเทศศรีลังกาคือคนละ  1000 รูปี

การแต่งกาย ที่ศรีลังกา
เนื่องจากมีอากาศแบบร้อนชื้น  จึงควรเป็นเสื้อผ้าสวมสบาย ไม่ร้อนซับเหงื่อได้ดี  ผ้าเนื้อบางเบา เช่น ผ้าฝ้าย  ลินิน  เป็นต้น สตรีต้องแต่งกายสุภาพเวลาเข้าไปในวัด  ผู้ชายศรีลังกาชอบนุ่งโสร่งควรเตรียมหมวกกันแดด ร่ม แว่นตากันแดด รองเท้าสวมสบาย หากขึ้นไปยังที่ราบสูง ภูเขา ควรมีเสื้อสเว็ตเตอร์กันหนาวไปด้วย

โรงแรมและที่พักที่ศรีลังกา
มีทุกระดับในเมืองใหญ่  ตั้งแต่เกสต์เฮ้าส์ขนาดเล็กไปจนถึงโรงแรมระดับ  5 ดาว มีโรงแรมสวยๆ บรรยากาศโรแมนติกหลายแห่ง  ราคาไม่แพง เริ่มต้น 20 เหรียญสหรัฐ  ถึง 180 เหรียญสหรัฐ

ชีวิตกลางคืนของศรีลังกา  
ค่อนข้างเงียบสงบในชนบท  แต่ในกรุงโคลัมโบนั้นก็มีทุกอย่างครบครัน ทั้งผับ  บาร์ ดิสโก้  คาราโอเกะ ไนต์คลับ และที่พิเศษกว่าเมือง ไทยก็คือมีคาสิโนถึงราว 20 แห่ง เปิดตลอด  24 ชั่วโมงในทุกวัน ปิดเฉพาะวันโพย่า Poya  คือวันพระจันทร์เต็มดวงขึ้น  15  ค่ำ
กีฬา   ที่นิยมมากที่สุดคือ คริกเก็ต และ รักบี้  โดยเฉพาะคริกเก็ตศรีลังกาเคยเป็นแชมโลกอีกด้วย ฤดูกาลของคริกเก็ตเริ่มตั้งแต่เดือนกันยายนถึงปลายเดือนเมษายนของทุกปี เรียกว่า The Lackspray  Thorphy

การตกปลา ศรีลังกา 
ที่แปลกและมีชื่อเสียง  อยู่ทางตอนใต้ของเกาะที่เมือง Matara คนตกปลาจะนั่งอยู่บนเสาไม้ ปักอยู่ห่างจากชายฝั่งราว 200-300  เมตรตกปลาเฮอริ่งซึ่งมีชุกชุมมาก ตกได้นาทีละ 20 ตัว ว่ายกันมาเป็นฝูงๆนิยมตกกันตอนช่วงเวลาเย็น

การรักษาพยาบาล ศรีลังกา
ชาวต่างชาติจะต้องจะต้องจ่ายเงินสดเอง  ขอแนะนำให้ไปโรงพยาบาลเอกชนจะสะอาดและทันสมัยมากกว่า  ผู้คนไม่แน่นเหมือนกับโรงพยาบาลของรัฐบาล  แพทย์ส่วนใหญ่จะพูดภาษาอังกฤษได้ และมียารักษาโรคแผนปัจจุบันอย่างแพร่หลาย
 
ไปรษณีย์ ศรีลังกา
มีราคาถูก  ค่าส่งโปสการ์ด  14 รูปี จดหมาย  20  รูปี  ควรส่งแบบลงทะเบียนด่วน เปิดทำการ  07.00-18.00 น ในทุกวัน เว้นวันอาทิตย์ รวมทั้งยังมีบริการของ Dhl,Fed,Ex,Tntและ Pronto Lanka  ซึ่งเป็นของเอกชน บริการได้รวดเร็วขึ้น

โทรศัพท์  ศรีลังกา
อัตราค่าโทรทางไกล มีราคาค่อนข้างแพง  ยกตัวอย่างหากเราโทรมือถือในศรีลังกานาที  21  บาทโทรไปเมืองไทยนาทีละ  179  บาท ทางไทยผู้รับไม่เสียเงิน หากโทรจากเมืองไทยนาทีละ 3  บาทแต่ผู้รับที่ศรีลังกาเสียนาทีละ 66  บาท

การถ่ายรูป ศรีลังกา
ฟิล์มและถ่านมีราคาค่อนข้างแพงและด้อยคุณภาพควรเตรียมให้พร้อมและจะต้องเสียค่าธรรมเนียมกล้องถ่ายรูปตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆเช่น อนุราธปุระ สีคิริยะ และโปโลนนารุวะแห่งละ 15  เหรียญสหรัฐ  แคนดี้  12  เหรียญสหรัฐ และยังมีข้อห้ามในการถ่ายรุป คือห้ามแตะต้อง ห้ามยืนหันหลังให้กับพระพุทธรูปและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่สุภาพไม่เคารพต่อสถานที่ทางศาสนา

อาหารศรีลังกา,อาหารการกินของศรีลังกา
1. ฮอปเปอร์  Hoppers  อีนเดียจะเรียกว่า “อาโปม” หรือ อัปปา Appa  มีรูปร่างหน้าตาคล้ายขนมครกมาก แต่จะมีขนาดใหญ่กว่า  3-4  เท่า ตรงกลางจะเป็นแป้งนุ่มหนา รอบข้างจะกรอบ ในเมืองไทยก็มีขายตามร้านชุมชน ชาวมุสลิมที่มีเชื้อสายบรรพบุรุษมาจากอินเดียทางใต้  ในเมืองไทยก็กินฮอปเปอร์หรืออาโปมคู่กับแกงปลาหรือปลาอินทรีทอดชิ้นโตๆอร่อยดีถึงรสเครื่องเทศ 
2.  สตริงฮอปเปอร์  String Hopper  อินเดียเรียกว่า “อีเลีย อาโปม” หรืออินเดียอัปปาหน้าตาคล้ายเส้นหมี่หรือก๋วยเตี๋ยวหลอดเส้นเล็กฝอย แต่จะเหนียวกว่าและจับตัวเป็นก้อนมีขนาดใหญ่กว่าขนมถ้วยนิดหน่อยรูปร่างลักษณะคล้ายขนมเรไรเวลากินสตริงฮอปเปอร์จะต้องราดด้วยแกงกะทิผสมขมิ้นเครื่องเทศ กินกับไข่ต้มหนึ่งฟองลอยมากับน้ำแกงสีเหลืองขมิ้นหนึ่งถ้วย
3. ซัมบาล  Sambal หรือ Polsambal  เป็นมะพร้าวขูดผสมน้ำมะนาวเล็กน้อย เหยาะเกลือและพริกแห้งลงไปเล็กน้อยแล้วคละเคล้าจนได้รสชาติกลมกล่อม เปรี้ยวนิด เค็มหน่อย
4.  โยเกิร์ต  (Yokert) ทำมาจากนมควาย บรรจุในหม้อดินเผาปิดฝาด้วยใบตองบ้าง กระดาษบ้าง แล้วรัดปากหม้อด้วยเชือกใยมะพร้าวมีหลายขนาด เวลารัปประทานมักราดด้วยน้ำผื้ง หรือน้ำหวานจากต้นตาลและมะพร้าว
5.  กีไรซ์  (Ghee Rice)  กี  แปลว่า เนย  เป็นข้าวหุงกับเนย ใส่เครื่องสมุนไพร มีสีเหลืองของเครื่องเทศผสม บางครั้งใส่ลูกเกด ถั่วอัลมอนด์ ผงหญ้าฝรั่น อบเชย กระวาน กานพลู เรีอกอีกอย่างว่า  “ข้าวปุเหล่า”  หากต้องการใส่เนื้อสัตว์เพิ่มเติมลงไป นิยมใส่ตรงเนื้ออกไก่ไม่ติดหนัง หั่นเป็นรูปเต๋า

 ฮอปเปอร์  Hoppers  

อาหารว่างละอาหารเรียกน้ำย่อย
1. โรตี  (Roti) นักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเรียกว่า “แพนเค้ก มีทั้งแบบหวานใส่นม โรยน้ำตาล ไปจนถึงโรยพริก หัวหอมและโรตีใส่ไข่ใส่นม
2. บาเยีย (Bajee)  ทำมาจากถั่วเขียว เอาไปแช่น้ำให้บานแล้วเอาเปลือกออกผสมแป้ง ทอดในน้ำมันท่วมนำมาจิ้มน้ำมะขามออกรสหวานอมเปรี้ยว
3. ซาโมซา  (Samosa)  ทำจากแป้งปอเปี๊ยะบางๆห่อใส่เนื้อไก่หรือผักมัดรวมกับเครื่องเทศผสมหอมใหญ่ ทอดในน้ำมันจนสีเหลืองทอง ตักขึ้นตะแกรงที่กรองด้วยกระดาษซับมันนิยมรัปประทานกับซอสมะขามเปียก ซอสพริก หรือแยมซัตนี่มินต์สดจะเอร็ดอร่อยมาก
4.  ทอดมันหอมใหญ่  รูปร่างค่อนข้างกลมรัปประทานตอนร้อนๆกับซอสพริกหรือแยมซัตนี่มะม่วงแบบเผ็ด  ทำมาจากหอมใหญ่  กระเทียม แป้งถั่วชิคพี แป้งสาลี ไข่ โซดาไบคาร์บอเนต พริกแห้งป่น แล้วนำไปทอดในกระทะก้นแบน กดให้กระจายออกเป็นแผ่นบางๆทอดจนข้างในสุกและเหลืองทั้งสองด้านตักขึ้นซับน้ำมัน
5. จปาตี  เป็นแป้งสาลี ที่ไม่ใส่เชื้อฟู  ทอดจนเหลืองกรอบ รูปกลมแบน รัประทานเครื่องเคียงกับอาหารได้ทุกประเภททำมาจากอัตตาหรือแป้งสาลีไม่ขัดขาว ผสมกี  และเกลือ ทอดในกระทะหนา  หรือเคลือบสารกันติดกระทะแล้ว ใช้ไฟกลาง ทอดจนเหลืองทั้งสองด้านเมื่อสุกได้ที่แผ่นจปาตีและแห้งและนุ่มน่ารัประทาน
6.  แกงถั่วเลนทิล รัปประทานกับจปาตี  ทำจากถั่วเลนทิล สีน้ำตาล หอมใหญ่ ขิงสับละเอียด มันฝรั่ง มะเขือเทศ  ลูกผักชีป่น ยีหร่าป่น พริกแห้งป่นหยาบๆ มะพร้าวขูด น้ำมะขามเปียก กะหล่ำปลีหั่นฝอย
7. เคบับไก่  ทันดูรี  (Kabab Tandoori)  ชาวศรีลังกาถือว่าเนื้อไก่เป็นอาหารพิเศษ จะรัประทานกันในโอกาสสำคัญๆโดยนำเนื้ออกไก่ไม่ติดหนังหั่นเป็นชิ้นขนาด พอเหมาะแล้วนำไปเสียบบนไม้ปิ้งที่ทาน้ำมันไว้ ระหว่างปิ้งให้ทาด้วยเนยละลายโดยไม่ให้เนื้อแห้ง 

ทัวร์แนะนำ ที่คุณอาจจะสนใจ