ข้อมูลท่องเที่ยวเมืองแคนดี้

ข้อมูลท่องเที่ยวเมืองแคนดี้

แคนดี้ ศรีลังกา 

แคนดี้ เป็นสถานที่จัดงานเทศกาล "เประแหระ" แคนดี้เป็นเมืองที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของพุทธศาสนาในศรีลังกา วัดวาอาราม ในเมืองนี้ยังคงรักษาขนบประเพณีของพุทธศาสนิกชน แคนดี้ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับพุทธศาสนิกชนในศรีลังกาและทั่วโลก เพราะเป็นที่ตั้งของดาลาดา มาลิกาวา หรือ วัดพระเขี้ยวแก้ว ซึ่งประดิษฐานพระทนต์ของพระพุทธเจ้า เมืองแคนดี้ (Kandy) อยู่บนยอดเขา สูงเหนือระดับน้ำทะเลถึง 500 เมตร เป็นเมืองมรดกโลกอีกแห่งหนึ่งของศรีลังกา เมืองนี้เคยเป็นที่มั่นสุดท้ายของกษัตริย์สิงหล ก่อนการยกดินแดนให้กับจักรวรรดิอังกฤษใน ค.ศ. 1815 หลังจากที่ได้ต่อต้านชาวโปรตุเกส และชาวดัตช์มานานถึงสามศตวรรษ สุดท้ายก็ต้องยอมพ่ายแพ้ไปในที่สุดเมืองแคนดี้ เดิมเรียกว่า ‘ศิริวัฒนานคร’ หรือ ‘สิงหขันธนคร’ ชาวเมืองสิงหลเรียก ‘ขันธะ’ หมายถึงกองหินหรือภูเขา เมื่อฝรั่งเข้าครองเมือง ขันธะ จึงออกสำเนียงตามฝรั่งว่า แคนดิ หรือ แคนดี้นั่นเอง เมืองแคนดี้ มีบ้านเรือนอยู่มาก แต่ไม่ถึงกับแออัดเท่ากับเมือง โคลัมโบ ทั้งยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย เช่น สถานีรถไฟ โรงแรมดี ๆ หลายแห่ง โรงพยาบาล อากาศเย็นสบายตลอดปี มีแม่น้ำไหลผ่าน มีทะเลสาบกว้างใหญ่ และมีศาสนสถานคือวัดพระเขี้ยวแก้ว อีกทั้งวัดมัลลวะตะ หรือวัดบุปผาราม... นอกจากนั้นเมืองแคนดี้ยังมีสถานที่สวยงามอีกหลายแห่ง เช่น พระราชวังเก่า, มหาวิทยาลัยเมืองแคนดี้ (Kandy University) อันเป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุดใน ศรีลังกา
วัดพระเขี้ยวแก้ว หรือ ดาลาดา มาลิกาวะ Dalada Maligawa www.sridaladamaligawa.lk

 

วัดพระเขี้ยวแก้ว ถูกสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าวิมลสุริย์พระองค์ยังได้อัญเชิญพระมอญเข้าไปบวชในแคนดี้ ไม่มีโบสถ์ก็บวชกันที่เกาะกลางแม่น้ำมหาเวลีคงคา มีคนบวชเป็นร้อย แต่สมัยต่อมาพระเจ้าแผ่นดินทอดทิ้งไม่เอาใจใส่ก็กลับเสื่อมลงอีก จนถึงสมัยพระเจ้าศรีวิชัยราชสิงหะทรงส่งราชฑูตมาขอสงฆ์เมืองไทยเมื่อลังการเกิดวิกตฤทางพุทธศาสนาคือไม่มีพระสงฆ์ กษัตริย์ลังการู้จากพ่อค้าชาวฮอลันดาว่ามีพระสงฆ์อยู่ในกรุงศรีอยุธยาก็แต่งราชทูตเข้ามาทูลขอคณะสงฆ์ออกไปอุปสมบทแก่ชาวสิงหล สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ได้ทรงอาราธนาคณะสงฆ์สยาม มีพระราชาคณะคือ พระอุบาลี และพระอริยมุนีเป็นประธานออกไปอุปสมบทแก่ชาวสิงหล ลักษณะเด่นภายในวัด ประตูกำแพงและลวดลายสลักหินด้านนอกวัด เป็นผลงานของพระเจ้าศรีวิกรมมาราชสิงห กษัตริย์องสุดท้ายแห่งราชวงค์แคนดี้ยัน ที่ประตูด้านนอกมีภาพแกะสลักช้าง ในประวัติจารึกไว้ว่า นำมาจากส่วนหนึ่งของพระราชวังนเรนทราสิงห ที่เมืองกุนดาสาล ตามทางขึ้นสู่ตัวตึกด้านในมีภาพพระนางลักษมีแห่โดยขบวนช้างทรงผินพระพักตร์มทางที่ประดิษฐานพระทันตธาตุ บนเพดานเป็นภาพเขียนบนปูนหมาดๆ แสดงถึงนรกขุมต่างๆในพุทธศาสนา ลายสลักแคนดี้ยัน หอประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วเป็นอาคารแปดเหลี่ยม สร้างโดยกษัตริย์องสุดท้ายของแคนดี้คือ พระเจ้าศรีวิกรมราชสิงหะบนที่ตั้งเดิมที่พระเจ้าวิมาลาธรรมสุริยะสร้างไว้ในรูปทรงเดิมตัวอาคาร 2 ชั้น ชั้นบนประดิษฐานพระเขี้ยวแก้ว บานประตูประกอบไปด้วยสิ่งประดับมีค่า เช่น เงินและงาช้างก่อนถึงห้องชั้นในเป็นห้องแคบๆจุคนได้ไม่เกินยี่สิบ เป็นห้องปลอดภัย มีม่านสีทองปิดสนิท ไม่มีใครผ่านเข้าไปได้จนกว่าจะได้รับอนุญาต และห้องนี้แหละเป็นห้องประดิษฐานพระทันธาตุ ในห้องมีแท่นบูชาขนาดใหญ่อยู่หน้าตู้กระจกกันกระสุนภายในตู้มีเจดีย์ทองอยู่ภายใน บนเจดีย์มีสร้อยสังวาลทองและพลอยประดับอยู่ประมุขของประเทศต่างๆจัดของเหล่านี้มาถวาย เจดีย์ทองคำนั้นครอบอยู่ถึง 7 ชั้น ชั้นในสุดมีซองห่อหุ้มพระเขี้ยวแก้วอีก 6 ชั้นทุกชั้นเป็นทองและพลอยมีค่า เช่น ทับทิม มรกต ชิ้นสุดท้ายเป็นงาช้างรูปร่างเหมือนเขี้ยวห่อหุ้มองค์พระเขี้ยวแก้วไว้ภายใน ด้านข้างมีห้องเก็บคัมภีร์ใบลาน มีห้องสวดมน์หลายห้อง มีพระพุทธรูปจำนวนมาก รวมทั้งพระพุทธชินราชจำลองและองคือื่นๆจากทั่วโลก นอกจากอาคารแปดเหลี่ยมแล้วยังมีอาคารอื่นอีก เช่น กุฏิและหอฉัน ซึ่งจัดเป็นระเบียบ การที่พระเขี้ยวแก้วเป็นที่รวมจิตใจของชาวพุทธ มีความพยายามหลายครั้งที่จะทำลาย เพื่อสามารถครอบครองประเทสนี้ให้ได้อย่างเต็มภาคภูมิ ดังกรณีของโปรตุเกส เมื่อ พ.ศ 2541 กบฏอีแลมใช้รถบรรทุกระเบิดพยายามถล่มวัดนี้แต่ก็ไม่ทำให้เกิดความเสียหายมากนัก ปัจจุบันมีการดูแลอย่างเข้มงวด และผู้เข้าวัดก็ต้องถูกตรวจอย่างละเอียด ทุกวันจะมีชาวสีลังกาและชาวพุทธจากทั่วโลกนับหมื่นคนมาสักการะบูชาพระเขี้ยวแก้ว แต่ช่วงเวลาย่ำค่ำกับย่ำรุ่งของทุกวันเป้นเวลาที่มีการประกอบพิธีบูชา มีการสวดมนต์และตีกลอง

วัดพระเขี้ยวแก้ว เมืองแคนดี้ ศรีลังกา,ทัวร์ศรีลังกา

ความเป็นมาของพระเขี้ยวแก้ว แคนดี้ ศรีลังกา

พระพุทธเจ้าหรือสมณะโคดมนั้น มีเวลาปฏิบัติธรรมเพียง 45 พรรษาจึงทรงอธิษฐานว่า เมื่อพระองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว ขอให้พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์แตกแยกเป็น 3 สันฐาน เว้นแต้พระธาตุทั้ง 7 นอกนั้นให้กระจายทั่วทุกทิศ เพื่อให้ชาวพุทธมีโอกาสได้อัฐิธาตุของพระองค์ไปอุปัฏฐากบูชา เมื่อถวายพระเพลิงที่กุสินาราแล้ว โทณพราหมณ์ได้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุเป็น 8 ส่วน ถวายกษัตริย์จากแคว้นต่างๆ เพื่อนำไปบรรจุในสถูปที่ต่างๆ แต่ต่อมาในสมัยพระเจ้าอชาตศัตรูและพระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงรวบรวมพระบรมสารีริกธาตุให้มาประทับรวมกันไว้ที่เดียว ส่วนพระบรมธาตุทั้ง 7 ประการ ซึ่งเป็นแบบที่ไม่กระจัดกระจายนั้น คัมภีร์ระบุไว้ว่าได้มีการนำไปประดิษฐานที่ต่างๆ ดังนี้
1. พระอรุณหิศ (กรามหน้า) ประดิษฐานที่เมืองอนุราธปุระ
2. พระรากขวัญเบื้องซ้าย (ไหปลาร้า) ประดิษฐานอยู่ที่ทุสสเจดีย์บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
3. พระรากขวัญเบื้องขวา ประดิษฐานอยู่ที่พระเกศจุฬามณีเจดีย์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
4. พระขี้ยวแก้วเบื้องล่างขวาประดิษฐานอยุ่ที่เมืองกาลิงคะ แล้วไปที่ศรีลังกาที่แคนดี
5. พระเขี้ยวแก้วเบื้องล่างซ้าย ประดิษฐานอยู่ที่นาคพิภพ
6. พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนขวา ประดิษฐาน อยู่ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
7. พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนซ้าย ประดิษฐานอยู่ที่คันธาระในอัฟกานิสถานต่อมาถุกอัญเชิญไปเมืองฉางอัน ในจีนโดยหลวงจีนฟาเหียนต่อมานำมาบรรจุที่วัด หลิงกวง นครปักกิ่ง แต่เดิมพระเขี้ยวแก้วองค์นี้เดิมอยู่ที่แคว้นกาลิงคะหรือรัฐโอริสสาในอินเดียตะวันออก ถูกอัญเชิญมาที่ ศรีลังกา นอกเหนือจากพระเขี้ยวแก้วแล้วกล่าวกันว่า ศรีลังกายังมีต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ตอนจากกิ่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยา ต้นแรกอยู่ที่อนุราธปุระ พระรากขวัญที่ พระมหาสถูปถูปารามที่อนุราธปุระ พระบรมสารีริกธาตุจำนวนเท่าทะนานหนึ่งบรรจุที่มหาสถูปรุวันเวลิสิยะที่อนุราธปุระ พระเกศาและเส้นที่ตัดแล้วของพระพุทธองค์ที่วัดคงคาราม กษัตริย์กุหะศิวะแห่งแคว้นกลิงคะทรงให้พระราชธิดา คือ เจ้าหญิงเหมาลาซ่อนพระเขี้ยวแก้วไว้ในมวยผมแล้วหนีออกจากบ้านเมือง ขณะที่พวกฮินดูกำลังได้ชัยชนะ กัตริย์กุหะศิวะทรงพิจารณาว่าหากพวกฮินดูยึดเมืองได้ก็จะทำลายพระเขี้ยวแก้วนี้ ซึ่งมีเรื่องเล่าว่า มีครั้งหนึ่งที่พวกฮินดูพยายามทำลายโดยเอาค้อนทุบแต่ฆ้อนกลับแตก จึงส่งคืนให้ชาวพุทธ เมื่อเจ้าหญิงเหมาลาและเจ้าชายทันตะพระสวามีเดินทางมาถึงศรีลังกาก็ได้รับการต้อนรับอย่างดีจากพระเจ้ากิติศิริเมฆวัน โดยทรงสร้างอาคารประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วที่โปโลนนารุวะ และมี พิธีการต่างๆ รวมทั้งการถวายสักการะ แห่ง เปรา-เฮรา และได้กลายเป็นสิ่งศักสิทธิ์ที่สุดของประเทศนี้ กษัตริย์ต้องสร้างวัดพระเขี้ยวแก้วไว้ใกล้วังและกษัตริย์ ปัจจุบันพระเขี้ยวแก้วอยู่ในความดูแลของพระภิกษุจากวัดมัลวัตตะและวัดอัสสคีรี และคฤหัสถ์ที่สืบตระกูลติยะวัฒนา นิลาม เป็นผู้พิทักษ์ไม่มีผู้ห็นพระเขี้ยวแก้วบ่อยนักเพราะถูกปิดผนึกแน่น จนใน พ.ศ 2358 เมื่ออังกฤษเข้ายึดแคนดี้ได้ ได้เปิดผอบพิสูจน์ว่าวัตถุสีขาวค่อนไปทางน้ำตาลที่หุ้มด้วยไหมทองคำนั้นเป็นฟันแน่นอน แต่เนื่องจากมีขนาดถึง 5 เซนติเมตร อังกฤษจึงสงสัยว่าเป็นฟันจระเข้ไม่น่าใช่ฟันมนุษย์

 

วัดมัลละวัตตะเมืองแคนดี้ หรือวัดพระอุบาลี แคนดี้ ศรีลังกา

พระอุบาลีมหาเถระ ผู้สถาปนาอุบาลีวงศ์ในศรีลังกาพระธรรมทูตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทยในพ.ศ. 2295  ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษ แห่งกรุงศรีอยุธยา พระองค์ได้จัดส่งพระสงฆ์ไปให้บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรชาวศรีลังกา ตามคำขอร้องของพระเจ้ากีรติศิริราชสิงหะแห่งศรีลังกา  ซึ่งส่งราชทูตเข้ามาขอพระสงฆ์ไทยไปศรีลังกา คณะธรรมทูตไทยมีจำนวน 25  รูปประกอบด้วยพระสงฆ์ 18 รูป สามเณร  7 รูป โดยมีพระอุบาลีมหาเถระและพระอริยมุนีมหาเถระเป็นหัวหน้า ออกเดินทางโดยเรือกำปั่นฮอลันดาจากกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันขึ้น 10 ค่ำ เดือนอ้าย พ.ศ. 2295 ถึงเมืองตรินโคมาลี อันเป็นเมืองท่าอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะลังกา เมื่อวันแรม 15 ค่ำ เดือน 6 โดยใช้เวลาเดินทางถึง 5 เดือน 4 วัน  ประวัติและผลงานของพระอุบาลีมหาเถระเป็นเรื่องที่อนุชนคนรุ่นหลังควรรับรู้ เพื่อเป็นการระลึกถึงความกล้าหาญของท่านที่ได้ข้ามน้ำข้ามทะเลไปยังศรีลังกา ดินแดนที่อยู่ห่างไกลจากมาตุภูมิ ซึ่งมีภูมิอากาศ อาหารการขบฉันแตกต่างจากที่เดิม แต่ท่านได้เดินทางไปเพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนาในศรีลังกาให้กลับเจริญเช่นที่เคยเป็นมา  ในกรุงศรีอยุธยา พระอุบาลีมหาเถระพำนักอยู่ที่วัดธรรมาราม ซึ่งเป็นวัดเล็ก ๆ มีอาณาเขตทิศเหนืออยู่ติดกับวัดท่าการ้อง ทิศใต้อยู่ติดกับวัดกษัตราธิราช ทิศตะวันออกอยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ทิศตะวันตกอยู่ติดกับถนนบางบาล  ตั้งอยู่ที่ ต.บ้านป้อม  อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันคือพระอธิการประสาท เขมปญฺโญ  เมื่อท่านไปถึงศรีลังกาได้พำนักอยู่ที่วัดบุปผาราม ซึ่งปัจจุบันเรียกว่าวัดมัลวัตตะและเป็นวัดของสังฆนายก คณะสงฆ์นิกายสยามวงศ์ คณะมัลวัตตะ อยู่ตรงกันข้ามกับวัดพระเขี้ยวแก้ว ซึ่งมีทะเลสาบกั้นกลาง อยู่ในเมืองศิริวัฒนนคร ปัจจุบันคือเมืองแคนด ท่านได้ให้บรรพชาอุปสมบทแก่ชาวศรีลังกาเป็นพระภิกษุ 700 รูป เป็นสามเณร 3000 รูป ในระยะ 3 ปีที่ออกไปอยู่ในศรีลังกา คือ พ.ศ. 2295-2298  ท่านอยู่ในศรีลังกานั้น ไม่ใช่จะทำหน้าที่แต่การให้บรรพชาอุปสมบทแก่ชาวศรีลังกาอย่างเดียว แต่ได้ทำการสั่งสอนอบรมประชาชนทุกอย่างเท่าที่ท่านสามารถทำได้ เพื่อให้ชาวศรีลังกาดำเนินชีวิตถูกต้องตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า และท่านยังเป็นผู้ฉลาดในอุบายเครื่องแนะนำอีกด้วย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ไว้เมื่อครั้งเสด็จไปถึงเมืองแคนดี้ ตอนหนึ่งว่า “เมื่อครั้งพระอุบาลีมหาเถระออกไปอยู่ศรีลังกานั้น ราษฎรชาวเมืองศิริวัฒนนคร นับถือพระพุทธศาสนากับศาสนาพราหมณ์ปนกันอยู่ เมื่อถึงฤดูนักขัตฤกษ์เป็นประเพณีเมือง ที่จะเชิญเทวรูปซึ่งนับถือตามลัทธิศาสนาพราหมณ์ออกแห่ปีละ 1 ครั้ง พระอุบาลีมหาเถระถวายพระพรพระเจ้ากีรติศิริราชสิงหะว่า พระพุทธศาสนาก็ประดิษฐานมั่นคงในศรีลังกา การแห่นั้นควรแห่ปูชนียวัตถุทางพระพุทธศาสนาด้วย พระเจ้ากีรติศิริราชสิงหะทรงพระราชดำริเห็นชอบด้วย จึงให้เชิญพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) ขึ้นบนคชาธาร (ช้าง) นำหน้าไปในกระบวนแห่   ประเพณีอันนั้นยังมีมาตราบเท่าทุกวันนี้”พระอุบาลีมหาเถระ รวมทั้งพระสงฆ์สามเณรที่ไปสืบต่อศาสนวงศ์เหล่านั้นเกิดป่วยไข้เพราะผิดอาหารบ้าง ผิดอากาศบ้าง  เพราะว่าเมืองศิริวัฒนนครนั้นอยู่ในหุบเขา  สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1602 ฟุต ปรากฏว่าพระสงฆ์มรณภาพเสีย 11 รูป รวมทั้งพระอุบาลีมหาเถระด้วย สามเณรมรณภาพ 2 รูป ในจำนวนพระสงฆ์ 18 รูปเหลือกลับมาตุภูมิเพียง 7 รูปเท่านั้น ในพ.ศ. 2298 พระเจ้าอยู่หัวบรมโกษได้ส่งพระสงฆ์ออกไปศรีลังกาอีก 1 ชุด เพื่อผลัดเปลี่ยนชุดแรก เพราะได้ให้สัญญากับพระสงฆ์ไว้ว่า จะให้อยู่เพียง 3 ปี พระธรรมทูตไทยชุดที่ 2 ประกอบด้วยพระราชาคณะ 2 รูป คือพระวิสุทธาจารย์และพระวรญาณมุนี กับพระสงฆ์อันดับ 20 รูปและสามเณร 20 รูป รวม 42  รูป  ออกเดินทางเมื่อวันแรม 10  ค่ำ  เดือน 11 พ.ศ. 2298 แต่เรือไปเกยหินโสโครก แล้วถูกคลื่นกระแทกเสียในทะเลระหว่างเกาะลังกากับอินเดีย ทำให้พระสงฆ์มรณภาพไป 4 รูป สามเณร 2 รูป ประสบความลำบากแสนสาหัส   กว่าจะเดินทางไปถึงเมืองศิริวัฒนนครคือเมืองแคนดี้ แต่ขณะที่พระสงฆ์คณะนี้กำลังเดินทางอยู่ในเกาะลังกานั้น  พระอุบาลีมหาเถระก็มรณภาพเสียแล้วในศรีลังกานั่นเอง  พระอุบาลีมหาเถระได้รับการยกย่องนับถือจากชาวศรีลังกามาก เนื่องจากผลงานหลายประการที่ท่านได้ทำไว้ให้แก่ชาวศรีลังกานี้เอง และท่านยังได้มรณภาพในประเทศศรีลังกาเพราะการปฏิบัติกิจพระศาสนา ถ้าจะเปรียบเหมือนนักรบแล้ว ท่านก็เป็นนักรบที่ตายในสมรภูมิโดยแท้ ผู้ที่เตรียมตัวเป็นพระธรรมทูตควรศึกษาปฏิปทาของท่านไว้ เพื่อจะได้เข้าถึงเจตนารมณ์ของการเป็นพระธรรมทูตที่แท้จริง บริขารและสิ่งของที่ท่านเคยใช้สอยที่ยังเหลืออยู่ ชาวศรีลังกาก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ควรเคารพเช่นกันและได้เก็บรักษาไว้จนทุกวันนี้ ศพของท่านได้เผาที่วัดกิตติเก ซึ่งปัจจุบันได้ก่ออิฐล้อมสถานที่เผาศพท่านไว้ ส่วนอัฐิของท่านถูกบรรจุไว้ที่เจดีย์บนยอดเขาใกล้วัดอัสคีริยะ  วัดธรรมารามเป็นวัดโบราณที่ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน   อยู่ภายใต้การอนุรักษ์ของกรมศิลปากร  ตั้งอยู่ที่ อ. บ้านป้อม จ.อยุธยา  ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับเจดีย์ศรีสุริโยทัย  มีพื้นที่ 25 ไร่ จึงนับว่าเป็นวัดที่ไม่ใหญ่นัก  เหตุที่วัดนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานที่กรมศิลป์อนุรักษ์  เพราะมีอาคารเก่าซึ่งในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยาเคยเป็นที่อยู่ของพระอุบาลีมหาเถระ สังฆราชาฝ่ายวิปัสสนาธุระ   และมีจิตรกรรมฝาผนังที่ยังคงสภาพเดิม ของอยุธยาที่ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างสยามประเทศและเกาะลังกา  เป็นภาพของกลุ่มคณะทูตชาวสิงหล กำลังเข้าพบคณะสงฆ์ ของสยามประเทศ ในครั้งที่ประเทศลังกาตกเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส  ดัชท์และอังกฤษนั้นศาสนาพุทธได้ถูกทำลายล้างเป็นเวลาหลายร้อยปีจนในที่สุด ไม่มีพระภิกษุเหลือ อยู่อีกเลย  พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้ส่งคณะสงฆ์ของสยามนำโดยพระอุบาลีและพระอริยวงศ์เดิน ทางไปบวชให้ชายชาวสิงหล  โดยใช้เวลาอยู่ในประเทศศรีลังกา นานพอที่จะบวชพระสงฆ์ ได้หลายพันรูปและตั้งพระอุปัชฌาย์ชาวศรีลังกาเพื่อบวชให้ชาวสิงหลด้วยกันเอง ได้แล้ว จึงค่อยเดินทางกลับแต่พระอุบาลีผู้เป็นหัวหน้าคณะ ก็มิได้มีโอกาสเดินทางกลับ สยามประเทศ  เนื่องจากอาพาธและมรณภาพที่ประเทศศรีลังกานั้นเอง  มีเพียงพระอริยวงศ์ที่กลับมายังสยามประเทศและมรณภาพ  โดยอัฐิของท่าน ได้รับการบรรจุไว้ที่องค์เจดีย์ประธานของวัดธรรมาราม วัดธรรมารามจึงเป็น โบราณสถานที่สำคัญยิ่งในทางประวัติศาสตร์ด้านความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ   รัฐบาลไทยนำหน่อของต้นพระศรีมหาโพธ์ที่พระนางสังฆมิตตานำมาปลูกไว้ที่ เมืองอนุราธปุระ  มาปลูกไว้ด้านข้างของเจดีย์เพื่อเป็นสัญญลักษณ์  ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย-ศรีลังกา  และรัฐบาลศรีลังกาได้ให้ทุนในการบูรณะอาคารเก่าของพระอุบาลีที่อยู่ริมน้ำ ในวาระครบรอบ 250 ปีของความสัมพันธ์   พระสายสยามวงศ์จากศรีลังกา จะต้องเดินทางมากราบคารวะต่อพระอุบาลีและพระอริยวงศ์ ผู้เปรียบประดุจพ่อผู้ให้กำเนิดแก่พระทุกรูปของสยามวงศ์   พุทธศาสนา   จึงกลับมาตั้งมั่นได้อย่างมั่นคงอีกครั้ง ในศรีลังกา จากประวัติอันยาวนานของวัดธรรมาราม ประกอบกับความสำคัญที่เคยรุ่งโรจน์มาแล้วในอดีต จึงมีผู้สนใจใคร่จะอนุรักษ์วัดนี้ให้คงอยู่คู่กับชาติไทยต่อไป เพื่ออนุชนคนรุ่นหลัง จะได้มีโอกาส ศึกษาหาความรู้ยังเป็นอนุสรณ์สถานแด่พระอุบาลีมหาเถระและพระอริยมุนีมหาเถระ ผู้เพียรพยามหยั่งรากพระพุทธศาสนาให้ลึกลงในศรีลังกาประเทศอีกครั้งหนึ่ง  ทุกวันนี้ชาวลังกาที่นับถือ พุทธศาสนา เมื่อมีโอกาสมาประเทศไทยจะต้องหาเวลามาเยี่ยมวัดนี้เสมอ 250 ปีนิกายสยามวงศ์ สายสัมพันธ์เถรวาทไทย-ลังกาปีพุทธศักราช  2546 เป็นวาระครบรอบ 250 ปีแห่งการประดิษฐานพระพุทธศาสนานิกายสยามวงศ์ของศรีลังกาซึ่งเป็นนิกายที่ได้รับการอุปสมบทจากคณะสงฆ์นำโดยพระอุบาลีมหาเถระ วัดธรรมารามแห่งกรุงศรีอยุธยานับเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างไทย - ศรีลังกา จนถึงปัจจุบันประเทศไทยและศรีลังกามีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นสืบเนื่องกันมานานกว่า 700 ปีนับแต่แรกรับนับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทอย่างลังกาวงศ์ในยุคกรุงสุโขทัยจนถึงพุทธศตวรรษที่ 23 พระพุทธศาสนาเถรวาทในศรีลังกาประสบปัญหาสูญสิ้นสมณวงศ์ ไม่มีพระสงฆ์เพียงพอที่จะทำพิธีอุปสมบทกุลบุตรได้ แต่มีสามเณรผู้มีความรู้ทั้งภาษาบาลีและคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาอย่างแตกฉานรูปหนึ่งนามว่า สามเณรสรณังการ ได้กราบทูลพระเจ้าแผ่นดินศรีลังกา ให้ส่งราชทูตมายังประเทศที่พระพุทธศาสนาเถรวาทอย่างลังกาวงศ์เจริญรุ่งเรืองพระเจ้าศรีวิชัย ราชสิงห์ ส่งคณะราชทูตมาถึงเมืองปัตตาเวียก็สิ้นรัชกาล พระเจ้ากีรติ ศรีราชสิงห์ พระมหากษัตริย์องค์ใหม่ได้ส่งคณะราชทูตอัญเชิญพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการมาถวายพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยาเดินทางถึงปากน้ำเจ้าพระยา เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2294พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดคณะสงฆ์ประกอบด้วยพระอุบาลี มหาเถระจากวัดธรรมารามเป็นหัวหน้าคณะ อัญเชิญพระธรรมคัมภีร์ไปกับคณะราชทูตออกเดินทางสู่ศรีลังกาการเดินทางคราวแรกประสบเหตุขัดข้อง เรือเกยตื้นแต่ก็ได้ออกเดินทางไปอีกครั้ง ถึงเกาะลังกาในเดือนพฤษภาคมคณะสงฆ์สยามได้ประกอบพิธีอุปสมบทบรรพชาได้พระภิกษุ สามเณร รวมกว่า 3000 รูป การฟื้นฟูสมณวงศ์เป็นผลสำเร็จ พระพุทธศาสนาเถรวาทฝ่ายสยามนิกายได้ประดิษฐานนับแต่นั้นมาปัจจุบันมีวัดฝ่ายสยามวงศ์ในประเทศศรีลังกาถึง 5500 วัด ในจำนวนวัด 9000 วัดทั่วประเทศ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 250 ปี ของการสืบต่อพระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา รัฐบาลศรีลังกาได้เสนอให้การสนับสนุนงบประมาณเพื่อการบูรณะโบราณสถานในวัดธรรมารามที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระอุบาลีมหาเถระได้แก่ หอพระไตรปิฎก และหอระฆัง โดยรัฐบาลศรีลังกากำหนดการเฉลิมฉลองไว้ในเบื้องต้นในเดือนพฤษภาคม 2546 วันที่ 22 พฤษภาคม 2545 ได้มีพิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจ ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยและศรีลังกา เรื่องการบูรณะวัดธรรมาราม โดยรัฐบาลศรีลังกายินดีสนับสนุนเงินจำนวน 3,440,000 บาท สำหรับการบูรณะหอพระไตรปิฎกและหอระฆัง และรัฐบาลไทย โดยกรมศิลปากร จัดสรรเงินอีกจำนวน 1,000,000 บาท  เพื่อการสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งพังทลายวันที่ 31 สิงหาคม 2545 ได้มีพิธีเปิดโครงการบูรณะวัดธรรมาราม โดยมี นายปองพล อดิเรกสาร รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นประธานฝ่ายไทย ฝ่ายศรีลังกามีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพุทธศาสนาพระสังฆราช และผู้แทนระดับสูงทั้งฝ่ายสงฆ์และฝ่ายฆราวาสมาร่วมพิธี ทั้งนี้ กรมศิลปากรได้เริ่มดำเนินการบูรณะเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2545 กำหนดงานแล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน 2546 เพื่อให้ทันการเฉลิมฉลองในเดือนพฤษภาคม  2546    ในวาระอันสำคัญยิ่งนี้ รัฐบาลไทยและรัฐบาลศรีลังกา ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมเฉลิมฉลอง 250 ปี พระพุทธศาสนานิกายสยามวงศ์ของศรีลังกา ประกอบด้วยพิธีการรับมอบระฆังจากศรีลังกา เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ณ วัดธรรมารามจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมี นายสนธยา คุณปลื้มรมว.การท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานฝ่ายไทยและนายราชจิต มานดูมา บานดารา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการท่องเที่ยว เป็นประธานฝ่ายศรีลังกานอกจากนั้นยังมีการจัดงานวันวิสาขบูชาใน 2 ประเทศ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2546 ด้วยสายสัมพันธ์ของคณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนชาวไทยและศรีลังกา พระพุทธศาสนาเถรวาทลังกาวงศ์และสยามวงศ์จะเจริญยั่งยืนชั่วกาลนาน ..

 

วัดเกลานียา เมืองโคลัมโบ ศรีลังกา

วัดกัลยาณีมีชื่อเสียงอีกอย่างหนึ่งว่า วัดเกลาณียา ถือกันว่าเป็นวัดที่ใหญ่ที่สุดในศรีลังกาเช่นเดียวกับ เป็นวัดสำคัญอันดับหนึ่ง ก่อนเข้าวัดทุกคนต้องถอดรองเท้าเดินเท้าเปล่าเข้าไป ไม่ว่าพระมหากษัตริย์ ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรีก็ต้องถอดตามประเพณี และสิ่งที่ดูแล้วแปลกตาคือแม่ชีที่นี่จะห่มผ้าสีเหลืองเหมือนกับพระ คนไทยจะเรียกชื่อว่า วัดกัลยาณีราชมหาวิหาร อยุ่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 11 กม ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเกลานี อยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำ ซึ่งไหลลงมาจากยอดเขาศรีปาทะ เป็นวัดที่สำคัญและมีขนาดใหญ่ที่สุดในเขตชานเมืองโคลัมโบ มีพื้นที่ราว 100 ไร่ ตั้งอยู่บนเนินสูง มีเจดีย์สีขาวขนาดใหญ่มากสูง 30 เมตร ทรงระฆังคว่ำ ตั้งตระหง่านเด่นเป็นสง่าตรงใจกลางของวัด สร้างครอบรัตนบัลลังก์ที่กษัตริย์ศรีลังกาสร้างถวายพระพุทธเจ้าซึ่งชาวศรีลังกาเชื่อกันว่า พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาประทับที่นี่ในสมัยพุทธกาล ทางเข้าวัดมีซุ้มประตูโค้งสีขาว เดินตามพื้นทรายสะอาดสะอ้านดี ผ่านลานวัด เจดีย์ขาวขนาดใหญ่ไปยังวิหารซึ่งเป็นจุดที่น่าสนใจที่สุด ทุกคนจะต้องถอดรองเท้า ถอดหมวก แว่นตากันแดดออกก่อนขึ้นบันใดเพื่อเข้าไปในตัวอาคารข้างใน เป็นการเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตรงเชิงบันได 2 ข้าง มีรูปปั้นสิงโต มีหัวเป็นช้าง อิทธิพลมาจากทางศิลปะอินเดีย พร้อมทั้งอัฒจันทร์รูปครึ่งวงกลมอยู่ตรงเชิงบันไดขั้นแรกทางเข้าวิหาร เมื่อก้าวเข้าไปในตัววิหารจะรู้สึกเย็น และค่อนข้างมืด ห้องด้านขวามือเป็นที่ประดิษฐ์พระพุทธไสยาสน์ ปางปรินิพพานองค์ขนาดใหญ่มีผ้าม่านโปร่งบางกั้นไว้ด้านหน้า ซึ่งในศรีลังกานิยมทำกันมาก ดูแล้วแปลกตาห้องโถงตรงกลางจะประดิษฐานพระพุทธรูปนั่งปางสมาธิ มีผ้าม่านกั้นไว้ด้านหน้าเช่นเดียวกัน ฉากหลังเขียนเป็นภาพเทือกเขาหิมาลัย มองเห็นแล้วน่าเลื่อมใสยิ่ง ที่น่าสนใจมากก็คือ ภาพจิตรกรรมฝาผนังเขียนด้วยเทคนิคแบบเฟรสโก(เขียนขณะปูนยังเปียกอยู่) สวยงามทรงคุณค่า เขียนเป็นภาพเรื่องราวต่างๆในพุทธสาสนา ชาดกต่างๆ โดยรอบประมาณ 45 ภาพ เช่น
ภาพเจ้าชายทันตกุมารกับเจ้าหยิงเหมมาลา นำพระเขี้ยวแก้วซ่อนไว้ในมวยผม หนีภัยสงครามจากอินเดียตอนใต้มายังเกาะลังกา

ภาพพระสังฆมิตตาเถรี ราชธิดาของพระเจ้าอโศกมหาราชนำต้นศรีมหาโพธิ์ จากพุทธคยามายังเกาะศรีลังกามีพระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะ เสด็จลุยน้ำไปรับถึงเรือภาพพระเจ้าเกียรติศิริราชสิงหะขณะที่ทรงสถาปนาแต่งตั้งให้พระสรนังกรดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระสังฆราชแห่งศรีลังกาฝ่ายสยามวงศ์หรืออุบาลีวงศ์ ภาพพระพุทธโฆษาจารย์กำลังน้อมรับคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาจากพระหัตถ์ของสมเด็จพระสังฆราชพระประธานประจำวิหาร พระประธานนี้สร้างด้วยหินฝีมือพม่า หน้าตักประมาณ สอง ศอกเศษวิหารลังกานั้นทำคล้ายตึกฝรั่ง แต่แบ่งเป็นสามตอนกลางพระประธานเฉลียงซ้ายพระนอน เฉลียงขวามีมณฑปแปดเหลี่ยมเป็นที่ประดิษฐ์ฐานพระบรมธาตุ

 

ทัวร์แนะนำ ที่คุณอาจจะสนใจ