ประวัติศาสตร์ศรีลังกา
ประวัติศาสตร์ศรีลังกา
ประเทศศรีลังกามีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์และอยู่ต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากหลักฐานต่างๆในการจัดแสดงที่อยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติโคลัมเบีย โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มวัฒนธรรม 2 กลุ่มด้วยกันคือ
วัฒนธรรมรัตนปุระ (Ratanapura Culture) ศรีลังกา
อยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ เรียกว่า“ ยุคหินเก่า” (Palaeolithic Age ) อายุประมาณ 50000 ถึง 15000 ปีมาแล้ว หลักฐานที่พบเป็นเครื่องมือหิน เป็นหินกรวดมน หรือหินร่องน้ำ ทำมาจากแกนหิน ไม่มีการเจาะผลึกหรือสะเก็ดหินจะหนาและกลมเกลี้ยงมักจะค้นพบในระดับความลึกราว 3.6 – 16 เมตรจากผิวดิน ฝังอยู่ในชั้นทราย และในคัมภีร์มหาวงศ์ของศรีลังกาได้กล่าวไว่ว่า เกาะศรีลังกาเป็นถิ่นที่อยู่ของชนเผ่าที่เรียกว่า “ยักษา” (Yakshes) และ “นาค” (Nages) ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมอาศัยอยู่ที่นี่ ก่อนที่ชนชาติอินโด – อารยันจะอพยพเข้ามาตั้งรกรากที่เกาะแห่งนี้
วัฒนธรรมพลังโคทา (Balangoda Culture) ศรีลังกา
อยู่ในยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ สืบต่อมาจากวัฒนธรรมรัตนปุระ จัดแบ่งออกเป็น 3 สมัย สมัยหินกลาง ประมาณ 15000-8000 ปี มาแล้ว สมัยหินใหม่ ประมาณ 8000-2600 ปีมาแล้ว และสมัยโลหะ ประมาณ 2600-2500 ปี มาแล้วหลักฐานที่พบส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือขนาดใหญ่ทำด้วยหิน และกระดุกเป็นเครื่องมือมีวิธีการกระเทาะที่ประณีตบนแกนหิน อันเป็นกรรมวิธีที่ค้นพบในระยะที่เกิดการใช้ภาชนะดินเผาเป็นครั้งแรกในศรีลังกา
ต่อมาเข้าสู่ยุคศิลปะสมัยประวัติศาสตร์ (Historical Art) ของศรีลังกา แบ่งออกเป็น 6 แบบด้วยกัน ดังต่อไปนี้
1. ศิลปะแบบอนุราธปุระ ( Anuradhapura) พ.ศ. 106-1560
2. ศิลปะแบบโปโลนนารุวะ Polonnaruwa พ.ศ 1560-1778
3. ศิลปะแบบทัมพเทณิยะ ยาปวุวะ และกุรุเณคละ Dambadeniya Yapavuva and Kurunegala พ.ศ. 1778 -1884
4. ศิลปะแบบคัมปาละ หรือ คัมโปละ Gampala or Gampola พ.ศ. 1884 1958
5. ศิลปะแบบชัยวรรธนะปุระ หรือ โกฏเก Jayavardhanapura or Kotte พ.ศ. 1958 2140
6. ศิลปะแบบสิริวัฒนบุรี หรือแคนดี้ Sirivardhanapuri or kandy พ.ศ. 2140 – 2358
ชาวศรีลังกาได้รับพุทธศาสนามาจากพระเจ้าอโศกมหาราชของอินเดีย พระองค์ทรงส่งพระราชโอรส คือ พระมหินท์ Mahinda และพระราชธิดาคือ พระนางเถรีสังฆมิตตา Their Sanghamitta มาเป็นสมณฑูตในดินแดนศรีลังกา เมื่อปี พ.ศ 307 พระมหินท์ทรงสำเร็จเป็นพระอรหันต์ และได้รับการถวายสมัญญานามจากชาวศรีลังกา หลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบ สนับสนุนให้เชื่อได้ว่าพระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงจัดส่งสมณฑูตไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาได้แก่ศิลาจารึกอักษรพราหมี Brahmi ที่พระองค์ทรงประดิษฐ์ขึ้นเป็นครั้งแรกบันทึกเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศรีลังกาชิ้นแรกสุดหรือเก่าแก่ที่สุดได่แก่ คัมภีร์มหาวงศ์ Mahavamsa เป็นคัมภีร์ที่สำคัญที่สุดของศรีลังกาคู่กับคัมภีร์อีกเล่มหนึ่งที่เกิดขึ้นระยะหลังคือ คัมภีร์จุลวงษ์ Culavamsa ทั้งสองคัมภีร์ไดถูกรวบรวมขึ้นเป็นครั้งแรกในพุทธศตวรรษที่ 11 โดยพระภิกษุหลายรูป มีเนื้อหาเกี่ยวกับการตั้งรกรากของชาวศรีลังกาโดยการเข้ามามาของชนเผ่าแรกคือ ชนชาติสิงหล Sinhalese ซึ่งมีการสืบเชื้อสายมาจากชนชาติอินโด - อารยัน โดยอพยพมาจากตอนเหนือของอินเดีย ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 1 ตัมพปัณณิในช่วงเวลาที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน
เมืองอนุราธปุระ ศรีลังกา
อนุราธปุระเป็นเมืองที่มีพิธีกรรมเฉลิมฉลองมากที่สุดในบรรดาเมืองเก่าแก่ต่างๆ ของศรีลังกาทรัพย์สมบัติที่มีค่ามากที่สุดของเมืองนี้คือ ดากาบา (เจดีย์) สร้างด้วยอิฐตากแห้งก้อนเล็กๆสร้างเป็นรูปทรงกลมผ่าครึ่ง สำหรับดากาบาที่เด่นๆ มีอยู่ 3 แห่งคือ หนึ่งที่ รูวันเวลี มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาวถึง 300 ฟุตและมีอายุสืบไปในสมัยศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล สองที่ เจตวันวนาราม มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 370 ฟุต และ สามที่ ถูปาราม ซึ่งประดิษฐานอัฐิพระรากขวัญของพระพุทธเจ้า สำหรับโบราณวัตถุที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักกันดีของเมืองนี้คือ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นต้นที่งอกมาจากกิ่งต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ปลูกขึ้นเมื่อ 2,250 ปี ก่อนและนับเป็นต้นไม้แห่งประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
สถานที่สำคัญในเมืองอนุราธปุระ ศรีลังกา
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ศรีลังกา
เป็นต้นไม้สำคัญในพระพุทธศาสนา เพราะเป็นต้นไม้ที่ประทับและตรัสรู้สัมโพธิญาณของพระพุทธเจ้า ดังปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาว่าต้นโพธิ์เปรียบได้กับพุทธอุเทสิกเจดีย์อย่างหนึ่ง ทำให้พันธ์ต้นโพธิ์กลายเป็นพันธ์ไม้ที่เป็นที่เคารพนับถือของชาวพุทธเสมอมานับแต่สมัยพุทธกาล ต้นโพธิ์ในพระพุทธประวัติสองต้นคือ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ และ ต้นอานันทโพธิ์ ณ วัดเชตวันมหาวิหาร ซึ่งอานันทโพธิ์ยังคงยืนต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยคำว่า "ต้นพระศรีมหาโพธิ์" นั้น อาจหมายถึงต้นที่อยู่ที่พุทธคยา ต้นโพธิ์ที่สืบมาจากหน่อโพธิ์ตรัสรู้ที่พุทธคยา หรือต้นโพธิ์ที่เป็นอุเทสิกเจดีย์อื่น ๆ ก็ได้ เช่น ต้นโพธิ์ตามวัดต่าง ๆในปัจจุบันต้นพระศรีโพธิ์สำคัญที่ยังคงยืนต้นอยู่ในปัจจุบันมี 3 ต้นด้วยกัน คือ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ตรัสรู้ที่พุทธคยา, ต้นพระศรีมหาโพธิ์เมืองอนุราธปุระ, และต้นอานันทโพธิ์วัดพระเชตวันมหาวิหาร แต่ต้นโพธิ์พระเจ้าอโศกแห่งเมืองอนุราธปุระ ที่นำหน่อพันธ์มาจากพุทธคยา ได้รับการเคารพนับถือและปฏิบัติบูชาด้วยความเคารพอย่างสูงมาตลอดตั้งแต่สองพันปีโดยไม่ขาดช่วง มีการทำกำแพงทองคำและมีชาวพุทธผู้ศรัทธามาทำการสักการะตลอดเวลา ซึ่งต่างจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยาที่ถูกทำลายและล้มลงตามธรรมชาติหลายครั้ง และต้นอานันทโพธิ์ที่วัดเชตวันที่ขาดช่วงการดูแลจากชาวพุทธหลังจากพระพุทธศาสนาเสื่อมไปจากอินเดีย พุทธศานิกชนชาวศรีลังกาจะต้องมาบูชาสวดมนต์เป็นแห่งแรก ต้นศรีมหาโพธ์ ที่มีอายุยืนนานถึง 2309 ปี เริ่มปลูก พ.ศ 236 ต้นศรีมหาโพธิ์ต้นนี้ ไม่เคยมีใครมาทำร้าย หรือทำลายเหมือนต้นศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย ตามประวัติที่ปรากฏเป็นหลักฐานหลายแห่งระบุไว้ตรงกันว่า พระภิกษุณี ซึ่งมีพระนามว่า สังฆมิตตา ได้ทรงนำมาพระนางสังฆมิตตาเถรีพระองค์ทรงเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดียทรงผนวชและบำเพ็ญเพียรจนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในพระพุทธศาสนา พระนางทรงเป็นผู้นำกิ่งตอนของต้นศรีมหาโพธิ์ต้นเดิมที่สมเด็จพระชินสีห์มุนีนาถ พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้ได้เสด็จรอนแรมมาจากพุทธคยา แล้วทรงนำเรือจากอินเดียข้ามมาสู่เกาะลังกา นำมาถวายแด่พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะแล้วพระองค์ได้ทรงนำมาปลุกไว้ที่ตรงนี้ และทรงทำนุบำรุงรักษาไว้เป็นอย่างดีตกทอดมาเป็นสมบัติของชาวพุทธศรีลังกา นับได้ว่าเป็นต้นโพธิ์ที่มีอายุยืนนานที่สุดในโลก หากต้นโพธิ์ที่พระพุทธองค์ ทรงตรัสรู้ยังอยู่ดีไม่มีมารผจญทำลายล้างก็จะต้องมีอายุยืนนานมากกว่า 2600 ปี เพราะก่อนที่พระองค์จะเสด็จมาประทับภายใต้ต้นโพธิ์ที่ทรงตรัสรู้ ต้นโพธิ์มีกิ่งก้านสาขาใหญ่ใต อาจจะมีอายุมากกว่า 100 ปีมาแล้ว บริเวณวัดพระศรีมหาโพธิ์กว้างขวางใหญ่โตพอสมควร สังเกตเห็นว่ามีกำแพงล้อมรอบอยู่ถึง 3 ชั้นด้วยกัน คือกำแพงที่กั้นเขตวัดเป็นชั้นที่ 1 ส่วนชั้นที่ 2 ก็คือกำแพงที่กั้นล้อมต้นพระศรีมหาโพธิ์ซึ่งสร้างขึ้นไว้ในลักษณะเหมือนวิหาร แล้วยังมีกำแพงชั้นในสุดที่กั้นล้อมบริเวณโคนต้น ยกฐานขึ้นสูงจากพื้นดินปกติธรรมดาขึ้นไปไม่น้อยกว่า 4-5 เมตรภายในเขตกำแพงชั้น3 ห้ามมิให้ผู้ใดบังอาจเข้าไปใกล้โคนต้นเป็นอันขาด ณ บริเวณพระวิหารพระศรีมหาโพธิ์ทางด้านหน้าเขาสร้างเป็นซุ้มใหญ่มีประติมากรรมรูปปั้นของพระนางสังฆมิตตาเถรีพระราชธิดาของพระเจ้าอโศกมหาราช กำลังถวายกิ่งตอนของพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งอยู่ในกระถางทองคำแด่พระเจ้าเทวนัมปิยติสสะ ซึ่งได้ปั้นไว้ในภายในซุ้มเดียวกันในการเข้าไปสักการะบูชาต้นศรีมหาโพธิ์ทุกคนจะต้องถอดร้องเท้าก่อนที่จะเข้าไปยังบริเวณต้นของพระศรีมหาโพธิ์ โดยต้องผ่านการตรวจอาวุธในห้องสี่เหลี่ยมขนาดเล็กแยกเป็นชายหญิงคนละห้อง มีทหารชายและหญิงเป้นผู้ตรวจโดยที่ผู้เข้าไปจะต้องเข้าแถวไปตรวจทีละคน เป็นการป้องกันเหตุร้าย การลอบวางระเบิดเพื่อความปลอดภัยของทุกคน
โลหะปราสาท ศรีลังกา
โลหะปราสาทหลังที่ 1 อินเดีย
สร้างขึ้นโดยนางวิสาขา บุตรีธนัญชัยเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี โดยการประมูลราคาเครื่องประดับของตน ชื่อ "มหาลดาประสาธน์" เป็น 9 โกฏิ 1 แสน แล้วนำเงินสร้างที่อยู่ให้พระสงฆ์ มีลักษณะเป็นปราสาท 2 ชั้น 1,000 ห้อง ยอดปราสาททำด้วยทองคำมีชื่อว่า "มิคารมาตุปราสาท"
โลหะปราสาทหลังที่ 2 ศรีลังกา
พระเจ้าทุฏฐคามณีอภัย กษัตริย์แห่งกรุงอนุราธปุระ ทรงสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พุทธศักราช 382 ตามคำทำนายในแผ่น พระสุพรรณบัฏขิง พระมหินทเถระที่ทรงได้พบ โปรดฯ ให้สร้างแบบทิพยพิมานที่ทอดพระเนตร มีความกว้างและสูงด้านละ 100 ศอก มี 9 ชั้น 1,000 ห้อง หลังคามุงด้วยแผ่นทองคำ ผนังเป็นไม้ประดับหินมีค่าและงานช้าง ปัจจุบันเหลือแต่ซากปราสาท ซึ่งประกอบด้วยเสาหิน ประมาณ 1,600 ต้น
โลหะปราสาทหลังที่ 3 ประเทศไทย
เป็นโลหะปราสาทวัดราชนัดดารามวรวิหาร สร้างในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดช่วยให้ช่างออกแบบก่อสร้าง ตามลักษณะของโลหะปราสาท ที่พรรณนาไว้ในหนังสือมหาวงศ์ พงศาวดารลังกา ซึ่งพระเจ้าทุฏฐคามณีอภัย กษัตริย์ลังกาทรงสร้างไว้ เมื่อพุทธศักราช 387 ในพุทธศักราช 2394 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงโปรดกระหม่อมให้สร้างโลหะปราสาทขึ้นที่วัดราชนัดดารามวรวิหาร การสร้างโลหะปราสาทของพระองค์ เป็นการสร้างแทนการสร้างเจดีย์ โดยทรงมอบหมายให้สมเด็จพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) ขณะยังเป็นพระยาพิพัฒน์รัตนราชโกษา ดำรงตำแหน่งอธิบดีก่อสร้างช่างสิบหมู่และช่างศิลา เป็นแม่กลองดำเนินการก่อสร้าง การออกแบบก่อนสร้าง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างเดินทางไปดูแบบโลหะปราสาท ณ ลังกาประเทศ โดยนำเค้าเดิมมาเป็นแบบ แล้วปรับปรุงให้เป็นสถาปัตยกรรม ตามลักษณะศิลปกรรมไทย
พระมหาเจดีย์รุวันเวลิสยา เมืองอนุราธปุระ ศรีลังกา
พระมหาเจดีย์รุวันเวลิสยา ชาวศรีลังกาเรียกกันหลายชื่อ เช่น สุวรรณมาลิกเจดีย์ รัตนมาลี เหมปาลี รุวันเวลิสยา พระมหาเจดีย์มีขนาดใหญ่ ปูด้วยก้อนหินภูเขา โดยใช้ช้างลากหินเหล่านั้นมา เพราะฉะนั้นเราจะเห็นการสร้างช้างล้อมไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้กับช้างที่ได้ช่วยในการก่อสร้างพระมหาเจดีย์นี้ด้วยพระมหาเจดีย์รุวันเวลิสยา ประวัติความเป็นมานั้น พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ได้ให้ดอกจำปากับพระมหินเถระพระมหินเถระจึงโปรยดอกไม้ลงไปในแผ่นดินบริเวณหนึ่ง แผ่นดินก็ไหว พระราชาจึงได้ถามพระเถระว่าเหตุใดแผ่นดินจึงไหว พระเถระทูลตอบพระราชาว่า ณ บริเวณนี้ จะเป็นที่ประดิษฐานพระมหาเจดีย์อันไม่มีใครเหมือนเลย พระราชาจึงได้ถามพระเถระว่าใครจะเป็นผู้สร้างพระเถระทูลว่าไม่ใช่พระองค์สร้างแต่จะเป็นพระนัดดา(หลาน)คือพระเจ้าทุฏฐคามณีอภัยเป็นผู้สร้างพระมหาเจดีย์นี้ ซากโบราณสถานนี้จะเป็นวิหารที่มีอยู่หลายหลังด้วยกันขนาดไม่ใหญ่นัก ฐานทำด้วยหิน มีเสาหินปักเรียงรายอยู่ หลังคามุงด้วยกระเบื้อง ยอดของเสาหินจะมีลวดลายแกะสลักเป็นรูปคนแคระหรือยักแบกปรากฏอยู่ และตรงหน้าบันไดวิหารจะต้องมีอัฒจันทร์ วางอยู่บนพื้นดินเสมอ และจะแกะสลักเป็นเป็นภาพต่างๆตรงกลางจะเป็นรุปดอกบัวครึ่งดอก จากนั้นจะเป็นแนวโค้งรอบดอกบัวต่อกันออกไปหลายๆแนวมักนิยมสลักเป็นรูปสัตว์ 4 ชนิดเรียงกันอยู่ในแนวนอกสุด คือ ช้าง ม้า วัว และสิงโต สันนิษฐานกันว่ารูปสลักบนอัฒจันทร์ รูปช้าง ม้า วัว และสิงโต หมายถึงทิศหลักทั้ง 4 ทิศ ส่วนรูปสลักหงส์หรือห่าน หมายถึงทิศทั้ง 5 ทิศข้างบนที่อยู่เหนือศรีษะ ผู้ใดเดินผ่านเหมือนได้ขึ้นสวรรค์
เจดีย์เชตวัน เมืองอนุราธปุระ ศรีลังกา
สร้างด้วยอิฐทั้งองค์ในสมัยพระเจ้ามหาเสนะ(ครองราชย์พ.ศ. 819-846) เป็นเจดีย์มีความสูง 122 เมตร จึงเป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงเป็นอันดับ 3 ของโลกในยุคสมัยเดียวกัน เป็นรองลงมาจากปิรามิด 2 แห่ง ในอียิปต์ฐานเจดีย์มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 113 เมตร บริเวณโดยรอบองค์เจดีย์เชตวันนี้มีซากโบราณสถานและอาคารต่างๆหลงเหลืออยู่มากมาย เช่น อาคารที่ประดิษฐานพระพุทธปฏิมา กุฏิพระสงฆ์ ศาลาโรงธรรม อ่างเก็บน้ำ ที่สรงน้ำพระ โรงทาน และสำนักสงฆ์ ที่พระเจ้ามหาเสนะทรงสร้างขึ้นมีชื่อว่า “เชตวันวิหาร”
เจดีย์อภัยคีรี เมืองอนุราธปุระ ศรีลังกา
“เจดีย์อภัยคีรี” (Abayagiriya) ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดอภัยคีรีวิหาร ซึ่งเป็นสถานที่ซึ่งพระพุทธศาสนานิกายมหายานเจริญรุ่งเรือง เจดีย์อภัยคีรีนี้เป็นเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่มากเป็นอันดับสองรองจากเจดีย์เชตวัน เส้นผ่านศูนย์กลาง 110 เมตร สูง 113 เมตร สร้างโดยพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัยเมื่อราว 2,100 ปีก่อน ด้านหน้าขององค์เจดีย์ มีวิหารประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ก่ออิฐถือปูนยาวประมาณ 10 เมตร สวยงามพอสมควร มีพุทธศาสนิกชนเดินทางมาสักการบูชากันอย่างเนืองแน่นด้วยดอกบัวสีชมพู ดอกสาละ และดอกพุดสีขาว ที่น่าสังเกตก็คือพวกเขาไม่นิยมจุดธูปเทียนบูชาแต่อย่างใด มีแต่จุดตะไลดินเผาที่บรรจุน้ำมันมะพร้าวเพื่อบูชา
วิหารอิสสุรุมุณิยะ เมืองอนุราธปุระ ศรีลังกา
วัดอิสสุรุมุณิยะ เมืองอนุราธปุระ ศรีลังกา,ทัวร์ศรีลังกา
เป็นวัดเล็กในพุทธศาสนาตั้งอยู่ติดกับภูเขาเตี้ยๆ ขนาดเล็กหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีภาพสลักบนหน้าผา เป็นภาพการเสด็จลงมาจากสวรรค์ของพระแม่คงคา ณ วาลีปุรัม ในอินเดีย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 สมัยราชวงศ์ปัลละ จะมีภาพข้างหลังช้างสลักอยู่หลายเชือก ตรงกลางหน้าผาจะมีรอยแตกมี้น้ำฝนไหลลงมาได้ ถือเป้นการเสด็จลงของพระแม่คงคา ทางด้านซ้ายมือบนมีภาพสลักผู้ชายนั่งชันเข่าข้างหนึ่งขึ้น เรียกว่าท่า “มหาราชลีลา” นั่งคู่อยู่กับม้า สันนิษฐานว่าเป็นรูปของท้าวกบิลกำลังนั่งเฝ้าม้าที่จะส่งไปทำพิธีอัศวเมธ ตัววิหารเจาะสลักเข้าไปในภูผา หน้าวิหารก่อหินเป็นระเบียงและชาลา (ทางเดิน) ยื่นออกมาเล็กน้อยมีบันไดขึ้นชาลาสลักเป็นรูปคนแคระแบกขั้นบันไดอยู่ สองข้างทางขึ้นมีแผ่นศิลาแกะเป็นรุปทวารบาล “มนุษยนาค” เป็นผู้ชายยืนถือหม้อปรณฆฏะข้างหนึ่งอีกข้างหนึ่งถือดอกบบัวมีคนแคระเป็นบริวารอยู่ 2 ข้างทาง และมีพญานาค 7 เศียรแผ่พังพานอยู่ด้านหลัง ภายในมหาวิหารเป็นพระพุทธรูปแกะสลักหินเข้าไปในผนังภูเขา ห่มจีวรมีริ้ว เป็นพระพุทธรูปรุ่นหลัง ประทับนั่งปางสมาธิ มีภาพสตรีกับบช้าง 2 เชือก หมายถึง ภาพพระนางสิริมหามายา คือ ปางประสูติ หรือภาพของคชลักษมี สลักอยู่เหนือกรอบประตู ทางด้านทิศใต้ของวิหาร จะมีวิหารพุทธไสยาสน์ซึ่งสร้างขึ้นใหม่ ทาสีสอใส รวมทั้งรูปปั้นขององคุลีมาล พระมหินท์ พระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะ ผุ้สร้างวัดแห่งนี้ และภาพจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องเกี่ยวกับประวัติการสร้างวัดนี้ ออกมาจากตัววิหารจะมีถ้ำเล็กๆตื้นๆมีค้างคาวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ส่งเสียงร้องลั่นอึงคะนึงไปหมดน่าตื่นตาดี อาคารถัดไปพิพิธภัณฑ์ของทางวัด ซึ่งจัดแสดงโบราณวัตถุที่ค้นพบในเมืองอนุราธปุระ มีอยู่หลายชิ้นด้วยกัน มีอยู่ชั้นหนึ่งคือปฏิมากรรม ” คู่รัก” (The Love ) ได้รับการยกย่องว่ามีความอ่อนหวานน่ารักที่สุดชิ้นหนึ่งของศรีลังกา
เจดีย์ถูปาราม เมืองอนุราธปุระ ศรีลังกา
เจดีย์ถูปาราม เมืองอนุราธปุระ ศรีลังกา,ทัวร์ศรีลังกา
เป็นเจดีย์ทางพุทธศาสนาองค์แรกที่สร้างขึ้นในเกาะศรีลังกา โดยพระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะทรงสร้างขึ้นในราว พ.ศ. 300 ซึ่งเป็นเจดีย์หรือสถูปทีเก่าแก่ที่สุดในเมืองอนุราธปุระและในเกาะลังกา เพื่อประดิษฐานกระดูกพระรากขวัญ (ไหปลาร้า) เบื้องขวาของพระพุทธองค์ เจดีย์ถูปารามเดิมสร้างเป็นรูปลอมฟาง มีเสาหินเรียงรายอยู่ 3 แถว แสดงว่าเคยมีหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องคลุมอยู่อีกชั้นหนึ่งลักษณะเจดีย์แบบนี้ในลังกา เรียกว่า วฎะทาเค ตั้งอยู่บนลานทักษิณ ทุกคนจะต้องถอดรองเท้าก่อน แล้วเดินขึ้นบันได 8 ขั้นนจึงจะถึงลาน องค์เจดีย์มีการสร้างซ่อมแซมหลายครั้ง ครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2405 มีชาวบ้านขายดอกไม้ ธูปเทียนอยู่ตรงทางขึ้นด้านหน้า โดยให้เอาเงินใส่กล่องตามกำลังศรัทธา มีพระพุทธรูปนั่งปางสมาธิในซุ้มทั้ง 4 ทิศ เพื่อให้สักการะบูชา ได้ทั่วทุกทิศ เพื่อความาเป็นศิริมงคล
สระแฝด เมืองอนุราธปุระ ศรีลังกา
สระแฝดมีตำนานว่าสร้างมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่แปด คือประมาณ 1700 กว่าปีแล้ว วัตถุประสงค์ทีสร้างเพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ใช้เป็นที่สรงน้ำ สระแฝดแห่งนี้มีความยาวมากเป็นสองเท่าของความกว้าง และอยู่ต่อเนื่องกัน มีบันไดลงไปในสระ ทางด้านท้ายของสระยังมีบ่อขนาดเล็กคล้ายทำขึ้นเพื่อเป็นบ่อตกตะกอน เข้าใจว่าสระแฝดนี้จะต้องมีท่อระบายน้ำขนาดใหญ่เชื่อมต่อถึงกัน ตัวสระ ขอบสระ ขั้นบันไดตลอดจนลานกว้างรอบสระกูฏฏัมโปกุณะ ล้วนเป็นหินแข็งแกร่ง ทางลงบันไดทุกทิศทางมีเสาหินคู่สลักเ ป็นรูปคล้ายหม้อน้ำมีฝาปิด มีลายดอกไม้ใบไม้ ประดับประดาอย่างสวยงาม ละยังมีประติมากรรมสลักเป็นรูปพระยานาคและหัวสิงห์ที่ทำหน้าที่คุ้มครองสระน้ำ
เมืองโปโลนนารุวะ ศรีลังกา
รูปปั้นกษัติรย์ปรักกรมพาหุมหาราช เมืองโปโลนนารุวะ ศรีลังกา,ทัวร์ศรีลังกา
ระยะทางจากมหินตาเลเพียง 89 กิโลเมตรใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง เมืองหลวงแห่งนี้ตั้งขึ้นโดยพวกโจฬะในกองทัพพระเจ้าราชราชาที่ 1 จากอินเดียตอนใต้ยกทัพมาเข้ายึดเมืองอนุราธปุระ แล้วได้ย้ายราชธารนีไปอยู่ที่เมืองโปโลนนารุวะในปีพ.ศ 1560 แต่เดิมเมืองนี้ได้มีกษัตริย์ศรีลังกาหลายพระองค์เสด็จมาประทับ เช่น พระเจ้าอัคคโพธิที่ 7 (พ.ศ. 1315-1320) พระเจ้าเสนะที่ 1(พ.ศ. 1376-1396) และพระเจ้าเสนะที่ 5 (พ.ศ. 1515-1525) เป็นต้น ด้วยเหตุนีเองจึงได้มีการสร้างเทวาลัยถวายพระอิศวรในศิลปะโจฬะปรากฏอยู่ให้เห็น เป็นศาสนสถานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็ก สร้างด้วยหินสีเทา มีสภาพพังทลายไปมากเหลือเป็นเพียงห้องสี่เหลี่ยม 2 ห้อง คือ ห้องข้างนอกใหญ่กว่า เปิดโล่ง และห้องข้างในมีขนาดเล็ก เป็นห้องสำคัญเรียกว่า “ครรภคฤหะ” มีศีวลึงค์ตั้งอยู่สำหรับพราหมณ์ประกอบพิธีกรรมที่สำคัญ คือ “พิธี อภิเษกศิวลึงค์” โดยพราหมณ์จะนำน้ำหรือนมไปราดบนยอดศิวลึงค์ พร้อมสวดมนต์บริกรรม ปล่อยให้น้ำหรือนมไหลลงข่างล่างผ่านฐานโยนีลงท่อโสมสูตร ไหลสู่ด้านนอกตัวอาคาร เพื่อให้เหล่าขุนนางและประชาชนได้รองรับน้ำศักสิทธิ์เอาไปดื่มอาบกินเพื่อเป็นศิริมงคล เมืองโปโลนนารุวะเคยเป็นนครหลวงของประเทศศรีลังกาสมัยศตวรรษ ที่ 11-13 ปัจจุบันยังคงมีผลงานทางปฏิมากรรมอันงดงามปรากฎให้เห็นอยู่มากมาย อนุสรณ์สถานที่สวยงามและใหญ่โตที่สุด คือ ลังกาทิเลเก ทิวันกา และถูปาราม โดยเฉพาะที่ ทิวันกา มีตัวอย่างภาพเขียนสีน้ำที่ดีที่สุดในยุคโปโลนนารุวะมีสถูปวิหารรังคตและคีรีเวหารกัล เป็นศาลทำด้วยศิลา มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ 4 องค์ โดย 2 องค์ประทับนั่ง 1 องค์ ประทับยืน และอีก 1 องค์ เป็นพระนอน ส่วนปฏิมากรรมพารากรรมบาหุแสดงถึงฝีมือสลักหินของชาวสิงหล สำหรับวาตา-คา-เก คือการสร้างสรรผลงานอันมีเอกลักษณ์โดยศิลปินชาวศรีลังกา
สถานที่สำคัญที่เมืองโปโลนนารุวะ
วังหลวงของพระเจ้าปรักกรมพาหุหรือเวชยันต์ปราสาท เมืองโปโลนนารุวะ ศรีลังกา
เป็นอาคารก่ออิฐขนาดใหญ่ ตามพงศาวดารจุลวงศ์ เป็นวังสูง 7 ชั้น มีบันไดอิฐขึ้นไป 3 ขั้น มีร่องรอยว่าในชั้นสูงๆก่อสร้างด้วยไม้ มีห้องน้ำที่มีร่องรอยของสิ่งปฏิกูล แต่ก็มีวิธีการระบายกลิ่นอย่างแยบยล ชั้นล่างด้านนอกเป็นที่เก็บของและครัว กล่าวกันว่านอกจากวังที่ยิ่งใหญ่นี้แล้ว พระเจ้าปรักกรมพาหุที่ 1 ยังโปรดเกล้าฯให้สร้างมหาสถูปดามิลา มหาสิยา ซึ่งถ้าหากสร้างเสร็จในรัชสมัยพระองค์จะสูงถึง 180 เมตร ซึ่งจะเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลกในเวลานั้นเป็นรองเพียงปิรามิด ในอียิปต์ใกล้กับวังหลวงมีสระสรงสนาน มีห้องน้ำและศาสนาที่เสด็จมาทอดพระเนตรพระโอรสพระธิดาสรงน้ำ สระน้ำกุมารา โภคุนัน มีท่อส่งน้ำฝังดินมาจากอ่างเก็บน้ำปรากรมสมุทร พระเจ้าปักกรมพาหุ ได้ผ่านพิภพเมื่อ พ.ศ. 1669 นับลำดับรัชกาลเป็นที่ 119 พระเจ้าปักกรมพาหุพระองค์นี้มีอานุภาพมาก ในพงศาวดารลังกานับว่าเป็นมหาราชพระองค์ 1 ใน 3 พระองค์ปรากฏอยู่ในพงศาวดารลังกามาก่อน คือ พระเจ้าเทวานัมปิยติสผู้เป็นปฐมพุทธศาสนนูปถัมภกพระองค์ พระเจ้าทุฎฐคามินี ซึ่งพากเพียรทำสงครามกับพระยาเอฬารทมิฬจนมีชัยได้อิสระคืนแก่ชาวสิงหล อีกพระองค์พระเจ้าปรักกรมพาหุ ตั้งแต่ได้ราชสมบัติแล้ว ก็พากเพียรปราบปรามนานานิคมชนบทในเกาะลังกา ซึ่งยังปกครองแตกเป็นต่างพวกต่างเหล่า เข้าไว้ในราชอาณาจักรได้จนทั่วเกาะลังกาแล้ว ยกกองทัพหลวงข้ามไปปราบปรามเมืองทมิฬในชมพูทวีป จนถึงได้เมืองในปาณฑย ประเทศ และโจลมณฑลไว้เป็นเมืองขึ้น และในหนังสือพงศาวดารลังกาดังกล่าวว่าพระเจ้าปักกรมพาหุได้ยกกองทัพมาตีเมืองรามัญด้วย เมื่อเจ้าปรักกรมพาหุปราบปรามศัตรูหมู่ร้ายไว้ในพระราชอำนาจได้สำเร็จแล้วทรงปรากฏถึงสงฆมณฑลในลังกาทวีป ซึ่งพระเจ้าวิชัยพาหุได้ทรงเริ่มต้นทะนุบำรุงขึ้นนั้น จึงให้ชุมนุมสงฆ์มีพระมหากัสสปเถระ ผู้มีนิวาสถานอยู่ ณ อุทุมพรคีรีวันวิหารเป็นประธาน ทำสังคายนาพระธรรมวินัย รวบรวมพระสงฆ์เข้าเป็นนิกายเดียวกัน แลให้สึกเหล่าภิกษุซึ่งเป็นอลัชชีเสียจนสิ้นเสี้ยนพระศาสนา พระสงฆ์ลังกาจึงกลับคืนเป็นนิกายเดียวกันในครั้งนั้น ด้วยพระราชานุภาพของพระเจ้าปรักกรมพาหุมหาราช
วังและท้องพระโรง เมืองโปโลนนารุวะ ศรีลังกา
พระราชวังเมืองโปโลนนารุวะ ศรีลังกา,ทัวร์ศรีลังกา
วังและท้องพระโรงหรือศาลาลูกขุนมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม ยกพื้น 3 ชั้น ชั้นบนเป็นหลังคาไม้ ซึ่งยังปรากฏเสาหินอยู่ ซึ่งแม้ไม่มีผนังกำแพงแต่เชื่อว่าหลังคาคงลดลงมาต่ำ ทำให้การประชุมลูกขุนมีความเป็นส่วนตัว กำแพง 3 ระดับแกะเป็นรูปสัตว์อย่างประณีต งดงามมาก ทั้งช้าง สิงโต และคนแคระส่วนบันไดก็สร้างอย่างงดงาม มีสิงห์หมอบเฝ้าตรงบันได จากพงศาวดารกล่าวไว้ว่าท้องพระโรงนี้เข้าได้เฉพาะบุคคลระดับสูง มีการจัดที่นั่งเหมือนการประชุมคณะรัฐมนตรีในปัจจุบัน ด้านหนึ่งของท้องพระโรงแกะสลักบนราชอาสน์ว่าเป็นที่ประทับของพระเจ้านิสสันกมลา
ศิวะเทวาลัย เมืองโปโลนนารุวะ ศรีลังกา
ในเขตวังมีสถานที่บูชาพระสิวะตามศาสนาฮินดู 14 แห่ง ซึ่งสร้างโดยกษัตริย์โจฬะซึ่งยึดครองโปโลนนารุวะ ในศาลามีศิวลึงค์และโยนี
บริเวณอารามของพระบรมมหาราชวัง เมืองโปโลนนารุวะ ศรีลังกา
อยู่เหนือกลุ่มพระราชวังเล็กน้อย ประกอบด้วย สิ่งก่อสร้าง 12 อาคาร ได้แก่
วัฏฏะทาเคหรือวิหารคตวงกลม เมืองโปโลนนารุวะ ศรีลังกา
ซึ่งมีสถูปอยู่กลางบรรจุพุทธศาสนาตั้งแต่เมืองหลวงยังอยู่อนุราธปุระ วิหารนี้ทำเป็นวงกลม 2 ชั้น มีพื้นที่เป็นหินซ้อนกัน มีเสาหินซึ่งรองรับหลังคาไม้ของอาคารนี้มีบันไดทางขึ้นไปที่ฐานชั้นแรก บนฐานนี้มีทางเข้าวิหาร 4 ด้าน บนฐานชั้นบนมีสถูปอยู่ตรงกลางรายรอบ 4 ด้านด้วยพระพุทธรูปทรงสมาธิ ทั้งอาคารเป้นหินแผ่น เชื่อกันว่าพระเจ้านิสสันกมลาเป็นผู้ทรงสร้าง กล่าวกันว่าวัฏฏะทาเคนี้มีความงดงามที่สุดในศรีลังกา
ถูปาราม เมืองโปโลนนารุวะ ศรีลังกา
เป็นอาคารที่ยังคงสภาพที่งดงามและได้รับการดูแลรักษาอย่างดี เป็นอาคารก่ออิฐฉาบปูน มีฐานพระพุทธรูปนั่งซึ่งถูกทำลายไปมีทางเข้าภายในเป็นรูปโค้ง มีพุทธรูปยืนแกะสลักจากหินปูน มีหน้าต่างที่ส่องสว่างเข้าไปข้างใน ฝาประดับด้วยหินเชื่อว่าเป็นการใช้หินอ่อนครั้งแรกๆของโลกภายนอกของอาคารยังปรากฏลวดลายที่งดงาม
ลาตา มัณทะภา เมืองโปโลนนารุวะ ศรีลังกา
เป็นอาคารที่มีรูปทรงแปลกแต่สวยงาม จนกล่าวไว้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมสไตล์ สไตล์ Rococo ของศรีลังกาที่มานิยมในยุโรปในอีกหลายศตวรรษต่อมาอาคารนี้มีเสาหินที่สวยงามรองรับหลังคาไม้ในอดีต ภายในสถูปมีหลังคาเล้กซึ่งเชื่อกันว่าเคยบรรจุพระบราสารีริกธาตุ เป็นที่เก็บพระไตรปิฎก และคัมภีร์ต่างๆ ตลอดจนเป็นที่นั่งสวดมนต์ของอุบาสกอุบาสิกา อาคารนี้กล่าวกันว่าเป็นที่นิยมแทนอาคารทรงกลมแบบวัฏฏะทาเค ก่อนศิลปะสมัยแคนดีและกัมโบล่า
อตาเค เป็นอาคารที่เคยประดิษฐานพระเขี้ยวแก้ว ในตอนในชั้นบนของอาคาร เสาหินมีการแกะสลักเป็นพระพุทธองค์ มีรูปแกะสลักเป้นรูปพิทักษ์อาคาร กล่าวกันว่าอาคารนี้เป็นอาคารหลังเดียวที่สร้างโดยพระเจ้าวิชัยพาหุที่ 1
ฮาตาทาเค เมืองโปโลนนารุวะ ศรีลังกา
พระเจ้านิสสันกมลาสร้างอาคารนี้ ซึ่งตามชื่อบอกว่าสร้างเสร็จ 60 ชั่วโมง ก่อสร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วก่อนนำไปแคนดี ชั้นล่างเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปส่วนชั้นบนประดิษฐานพระเขี้ยวแก้ว
กัลโพธา เมืองโปโลนนารุวะ ศรีลังกา
เป็นสิลาจารึกขนาดใหญ่ 8 x 4.25 x 0.5 เมตร กล่าวถึงการที่พระเจ้านิสสันกมลาบุกอินเดีย และความสัมพันธ์ระหว่างพระองค์กับประเทศต่างๆเชื่อกันว่านำมาจากสิกิริยา เป็นศิลาจารึกขนาดใหญ่ที่สุดของศรีลังกา
สัตตมหาปราสาท เมืองโปโลนนารุวะ ศรีลังกา
เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมทึบก่อด้วยอิฐซ้อนกันขึ้นไปรวม 7 ชั้น จากชั้นที่ 1 จะมีบันไดแนบกับผนังทิศตะวันตกเดินขึ้นไปยังลานชั้นที่ 2 ได้แต่ละชั้นมีซุ้มอยู่ตรงกลาง 1 ซุ้ม ภายในวุ้มเทวดาปูนปั้นยืนอยู่ด้วยท่าตริภังค์ และยกมือขึ้นข้างหนึ่ง สัตตมหาปราสาทแห่งนี้เป็นอาคารที่มีรูปทรงแปลกไปจากที่อื่นและมีเพียงแห่งเดียวยในศรีลังกา แต่ในเมืองไทยมีอยู่ด้วยกันหลายแห่ง ศรีลังกาอาจได้รับอิทธิพลศิลปะทางสถาปัตยกรรมแบบนี้ไปจากเมืองไทยก็เป็นได้ และชั้นล่างของสัตตมหาปราสาทนี้ยังมีร่องรอยเดิมของการก่ออิฐเป้นรูปแปดเหลี่ยม แล้วจึงสร้างเจดีย์สี่เหลี่ยมครอบทับในภายหลัง กรรมวิธีในการก่อสร้างดังกล่าวสามารถที่จะกำหนดได้ว่ามีอายุช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 รวมทั้งประติมากรรมในซุ้มของเจดีย์ลักษณะของสัตตมหาปราสาท สร้างขึ้นตามกฏเกณฑ์รูปแบบและแผนผังที่ได้กำหนดหรือบังคับไว้ในตำรา ที่เรียกว่า “ศาสตระ” เป็นศาสนสถานที่จำลองภาพเขาพระสุเมรุเป็นชั้นๆรวม 7 ชั้น เป็นสัญลักษณ์ของจินตนาการเกี่ยวกับลำดับขั้นของสันฐานของภูเขาแห่งโลก คล้ายกับรูปแบบของสถาปัตยกรรมหลายแห่งในศิลปะแบบขอมแบบนครวัด ในประเทศกัมพูชา
กลุ่มพระอารามนอกกำแพงเมือง เมืองโปโลนนารุวะ ศรีลังกา
วิหารกัล ครั้งหนึ่งเรียกว่า “อุตรอาราม”
กัลวิหา เมืองโปโลนนารุวะ ศรีลังกา,ทัวร์ศรีลังกา
เป็นรูปสลักหินแกรนิตขนาดใหญ่ เป็นพระพุทธรูปยืน พระพุทธรูปนั่งปางสมาธิและพระพุทธรูปปางปรินิพพาน สลักจากภูเขาหินชิ้นเดียวพระพุทธรูปปางนิพพาน มีความยาว 15 เมตร ซึ่งมีพุทธลักษณะที่งดงาม บ่งบอกความสุขสงบของนิพพาน ขณะที่ พระพุทธรูปยืน หัตถ์ 2 ข้างกอดพระอุรา มีความงดงามตามแบบพุทธสิลป์แบบอมราวดี จีวรจีบเป็นริ้วคู่ป็นรายละเอียด รู้จักกันในนามปางอนิมิส โลชนะซึ่งหายากมาก พระพุทธรูปนี้อยู่หน้าต้นโพธิ์ทรงประทับขณะทรงตรัสรู้ เป็นการแสดงความคารวะที่ให้ร่มไม้ขณะทรงบำเพ็ญเพียร ใกล้กันนั้นมีการแกะสลักหินเป็นถ้ำเล็ก เรียกว่า ถ้ำวิทยหาร มีทางเขาที่แกะสลักเป็นนาคและสิ่งศักสิทธิ์ของฮินดู ข้างในมีพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งเป็นทรงสมาธิ
วิหารลังกาดิลก เมืองโปโลนนารุวะ ศรีลังกา
เป็นซากโครงสร้างขนาดใหญ่ สร้างด้วยอิฐ มีพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ซึ่งเป้นพระประธานสร้างด้วยอิฐและปูน แต่ส่วนบนขององค์พระถูกทำลายไปแล้ว ไม่เหลือพระเศียรและพระกร ซากเสาวิหารสูง 17 เมตร 2 ข้างแคบไม่มีหลังคา อาคารนี้ใหญ่กว่าถูปาราม เชื่อกันว่ามีความสูงถึง 5 ชั้น หลังคามีภาพเขียนที่งดงามแต่เลือนหายไปแล้ว
ศรีวิหาร เมืองโปโลนนารุวะ ศรีลังกา
เป็นซากอาคารขนาดใหญ่อยู่ทางเหนือของวิหารลังกาดิลก มีสถูปสร้างด้วยปูนสีขาวสด มีโครงสร้างอาคารขนาดเล็กจำนวนหนึ่งล้มรอบ เชื่อว่าสร้างโดยพระเจ้าปรากรมทพาหุที่ 1
รันคตวิหารหรือภูเขาทอง เมืองโปโลนนารุวะ ศรีลังกา
รูปทรงคล้ายคีรีวิหารแต่เล็กกว่า เชื่อว่าจำลองมาจากพระมหาสถูปรุวันเวลิในอนุราธปุระ และคีรีวิหารแต่เล็กกว่า มีความสูงประมาณ 55 เมตร อยู่ในบริเวณวัดอรหันต์ปริเวนะที่เป็นที่ตั้งพระเมรุมาศ ถวายพระเพลิงกษัตริย์และราชวงค์ รันคตวิหารสร้างโดยพระเจ้านิสสันกมลา
มีนิควิหาร เมืองโปโลนนารุวะ ศรีลังกา
เป็นซากฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสของสถูป สร้างด้วยอิฐ มีรูปสิงห์ และศิลา จารึกว่าสร้างโดยพระเจ้านิสสันกมลา
พุทธสีมาปรารสาท เมืองโปโลนนารุวะ ศรีลังกา
บริเวณวัดอรหันต์ปริเวนะ ประกอบด้วย วิหารลังกาดิลก วิหารคีรี และพุทธสีมาปราสาท ทั้งหมดนี้สร้างโดยพระเจ้าปรักกรมพาหุที่ 1 พุทธสีมาปราสาทเป็นพระอุโบสถที่พระภิกษุมาประกอบพิธีกรรมต่างๆทุกวันพระ มีทางเข้าพระอุโบสถสี่ด้าน
เดมาลามหาเจดีย์ เมืองโปโลนนารุวะ ศรีลังกา
เป็นซากสถูปขนาดใหญ่ซึ่งพระเจ้าปรากรมพาหุที่ 1 ทรงสร้างโดยหวังให้เป็นสถูปที่สูงที่สุดในโลก โดยใช้แรงงานเชลยศึกชาวทมิฬ แต่สร้างไม่เสร้จก็สิ้นพระชนม์ก่อน ดังนั้นจึงสร้างสถูปเล็กๆบนซากฐานพระมหาสถุปนี้
สระบัว (เนลัม โภคนะ) เมืองโปโลนนารุวะ ศรีลังกา
เป็นสระที่สลักจากหินแกรนิตเป็นรุปดอกบัวแปดกลีบ ซึ่งงดงามมากรอบสระมีกำแพงล้อมรอบ และมีท่อใต้ดินส่งน้ำเข้ามา
สิกิริยา ศรีลังกา
สิกิริยา,ภูเขาสิกิริยา,พระราชวังสิกิริยา,สิกิริยา ทัวร์ศรีลังกา
สิกิริยา เป็นเมืองที่มี "ป้อมปราการระฟ้า" สร้างโดยกษัตริย์กัสปาสมัยศตวรรษที่ 5 ซึ่งอาจจะนับเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่สุดของศรีลังกา ซึ่งรู้จักกันในชื่อ ไลอ้อน ร็อค หรือ แท่นศิลาราชสีห์เนื่องจากเคยมีสิงห์โตตัวใหญ่ ยืนอยู่บริเวณปากทางเข้าภายในคูรอบป้อม 3 ชั้น มีแท่นศิลายักษ์สูง 500 ฟุต และบนยอดศิลายังมีฐานรากของพระราชวังอันยิ่งใหญ่ในอดีตและสวนดอกไม้พร้อมสระว่ายน้ำ ที่ทางขึ้นแห่งหนึ่ง มีรูปวาดสีน้ำของชาวสิงหลเป็นภาพนางอัปสรขนาดเท่าตัวคนซึ่งมีสีสันสดใสละเอียดอ่อนอยู่เช่นเดิม สิกิริยา สิกิริยาใช่ว่าแต่จะมีพระราชวังบนยอดเขาที่มีรูปร่างเหมือนสิงโตเท่านั้น แต่ความจริงแล้วสิกิริยาเคยเป็นวัดพระป่าเคยมาปฏิบัติธรรมบำเพ็ญเพียรอยู่ในถ้ำต่างๆ ดังปรากฏสถูปและร่องรอยที่ล้างเท้าก่อนเข้าไปในถ้ำ นอกจากนั้นยังมีสวนน้ำที่นักท่องเที่ยวชาวตะวันตกเคยเปรียบว่าเป็นเหมือนสวนลอยแห่งบาบิลอน สวนญี่ปุ่นและสวนน้ำของโรงแรมรวมกันมีน้ำพุ มีสวนหินแบบญี่ปุ่นและจีน และสวนนอกชานซึ่งยกระดับหลายชั้นซึ่งสามารถเดินไปถึงทะเลสาบกิริยาได้
ประวัติ เดิมมีพระป่ามาปฏิบัติธรรมตั้งแต่สมัยแรกๆของอนุราธปุระ ในสมัยพระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะ เรียกว่า สีหคีรี หรือเขาสิงโต ต่อมาในสมัยราชวงค์ โมริยะ พระเจ้าธาตุเสนถูกพระโอรส คือ พระเจ้ากัสสปะที่ 1 พ.ศ 1010-1038 กระทำปิตุฆาต เนื่องจากทรงเกรงว่าพระราชบิดาจะให้พระอนุชาต่างมารดาซึ่งเป็นพระโอรสของพระมเหสี คือ เจ้าชายโมคคลัลนะขึ้นครองราชย์ กล่าวกันว่าพระเจ้ากัสสปะทื่ 1 นำพระราชบิดาขังไว้ที่ถ้ำใดถ้ำหนึ่งแล้วโบกปูนทับ หลังจากครองราชยืได้ 7 ปี ก็ย้ายเมืองหลวงมาที่สิกิริยา สร้างพระราชวังบนยอดเขาสิงห์และสร้างป้อมค่าย เพื่อป้องกันการบุกรุกเข้ามาของพระอนุชา ซึ่งลี้ภัยไปสะสมกองกำลังที่อินเดีย กล่าวกันว่ากำแพงนั้นสูงมาก คูเมืองมี 2 ชั้น สามารถปล่อยให้น้ำมาท่วมกองทหารที่บุกเข้ามาได้แต่ 18 ปี หลังจากครองราชย์ เจ้าชายโมคลัลนะก็เสด็จกลับมาพร้อมไพร่พล พระเจ้ากัสสปะเสด็จไปรบนอกเมืองโดยทรงช้าง แต่ปรากฏว่าช้างตกหล่ม ทำให้พระองค์ทรงชักดาบมาตัดเศียรพระองค์เอง พระเจ้าโมคคลัลนะทรงกลับมาใช้อนุราธปุระเป็นเมืองหลวงอีกครั้งหนึ่ง และถวายพระราชวังนี้ให้เป็นวัดพุทธสาสนา ซึ่งก็เป็นวัดต่อมาจนถึงราวศตวรรษที่ 19 ในศตวรรษที่ 19 ในศตวรรษที่ 21-22 ได้เป็นป้อมปราการ เพิ่งมาพบใหม่โดยอังกฤษในพ.ศ 2396 หลังจากนั้นมีนักท่องเที่ยวมาเยือนแล้วหลายคน
ภาพสีเฟรสโก้ สิกิริยา,ภูเขาสิกิริยา,พระราชวังสิกิริยา,สิกิริยา ทัวร์ศรีลังกา
พระราชวังสิกิริยา เชิงเขาสิงห์เป็นที่ราบกว้างใหญ่ มีคูเมืองและกำแพงเมืองทำด้วยดินและอิฐ เมื่อเดินผ่านเข้ามาจะพบสระน้ำ ประกอบด้วย สระสรงสนานและวังฤดูร้อนสวนน้ำเหล่านี้ได้รับการดูแลเป็นอย่างดี ยังปรากฏรร่องรอยของความงดงามของสวนลอยแบบบาบิลอน สวนญี่ปุ่น หรือ จีน และสวนยกระดับเป็นชานขั้นบันไดก้าวสู่ด้านบน มีร่องรอยของวังฤดุร้อนซึ่งคงสร้างด้วยไม้ ทีท่อน้ำส่งน้ำมาจากยอดเขาทะเลสาบ และมีน้ำพุที่ยังใช้การได้อยู่ ทั้งท่อส่งน้ำใต้ดิน วาล์วปิด ต่อจากสวนนี้ เดินขึ้นบันไดก็จะพบกำแพงกระจกโดยฉาบกำแพงหินด้วยหินปูน ทำให้สะท้อนภาพคล้ายกับกระจกเงาบนกำแพง กระจกนี้มีโคลงกลอนหรือคำคมคล้ายๆ กับการพ่นสีที่กำแพงของวัยรุ่น เชื่อกันว่าทำกันในศตวรรษที่ 12-15 นับว่าเป็นกราฟฟิติยุคแรกๆ สิกิริยามีชื่อเสียงเกี่ยวกับจิตรกรรมฝาผนังที่โด่งดังระดับโลก ซึ่งเป็นความกล้าหาญของพระเจ้ากัสสปะ ที่ให้วาดภาพอื่นแทนภาษาทางศาสนา ภาพเฟรสโกนี้เป็นรูปสตรีครึ่งตัว เปลือยหน้าอก ใส่เครื่องประดับทั้งมงกุฏ ต่างหู สายสร้อย ทับทรวง แหวน และกำไล บ้างถือดอกไม้หรือถาดดอกไม้ กล่าวกันว่านางเหล่านี้เป็นมเหสี พระราชิดา นางสนม ฯลฯ แต่บางคนกล่าวว่าเป็นนางอัปสรตามความเชื่อของชาวอินเดียใต้ กำแพงที่มีภาพดังกล่าวมีขนาดใหญ่เท่ากับสนามฟุตบอลและน่าเคยมีภาพเช่นนี้กว่า 500 ภาพ แต่ขณะนี้เหลือเพียง 23 ภาพ ภาพทั้งหมดมีขนาดเล็กกว่าตัวจริง ทางขึ้นยอดเขาเป็นรูปสิงโต ได้มีการเสริมสร้างส่วนต่างๆของลูกเขานี้ให้มีลักษณะคล้ายสิงโตมากขึ้น โดยก่ออิบต่อเติมหรือสลักหิน ซึ่งเชื่อกันว่าพระเจ้ากัสสปะที่ 1 ต้องการประกาศตนว่าพระองค์เป็นสิงหลที่มาจาก คำว่า สิงโต ทางขึ้นจะชั้นขึ้นและวกวนตามบันไดเหล็กจนถึงพระราชวังลอยฟ้า ซึ่งสูงประมาณ 200 เมตรจากพื้น ผ่านปากสิงห์ที่ชำรุดแล้ว มีภาพทิวทัศน์เบื้องล่างงดงาม ขนาดของพื้นที่ที่วังประมาณ 10 ไร่ มีทั้งวังชั้นในด้านตะวันตกซึ่งอยู่สูงสุดลงมาข้างล่างทางตะวันออกเป็นวังชั้นนอก มีพระราชอุทยานอยู่ทางใต้กับมีสระน้ำขนาดใหญ่ ที่ตักหิน ขุดไว้สะสมน้ำใช้ ลักษณะแตกต่างจากการออกแบบวังของอนุราธปุระและโปโลนนารุวะเป็นผลงานทางวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมชั้นเยี่ยมของโลกเมื่อ 1500 ปีที่แล้ว
ถ้ำดัมบูลลา ศรีลังกา
“วัดถ้ำดัมบูลลา” (Dambulla Cave Temple) ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในปี พ.ศ.2534 ถือเป็นมรดกโลกแห่งล่าสุดในศรีลังกา สร้างโดยพระเจ้าวาลากัมบา หรือพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย พระองค์ทรงเคยพำนักในถ้ำที่ดัมบูลลา ช่วงที่พระองค์เสด็จพลัดถิ่นจากเมืองอนุราชปุระ เพื่อเป็นการตั้งหลักก่อนที่จะรวบรวมไพร่พลกลับไปรบกันอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาเมื่อพระองค์ทรงรบชนะ และเสด็จกลับขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้ทรงสร้างวิหารศิลาภายในถ้ำ ที่ดัมบูลลานี้ ภายในมีถ้ำทั้งหมด 5 ถ้ำด้วยกันมีขนาดใหญ่เล็กแตกต่างกันออกไป ถ้ำทั้ง 5 ถ้ำ มีพระพุทธรูปประดิษฐานทั้งหมด 153 องค์รูปปั้นกษัติรย์ 3 องค์ และ รูปปั้นของเทวีและเทพในศาสนาฮินดูอีก 4 องค์
วัดถ้ำดัมบูลลาประกอบด้วย 5 ถ้ำดังนี้
วัดถ้ำดัมบูลลา ดัมบูลลา ศรีลังกา,ทัวร์ศรีลังกา
ถ้ำแรกชื่อว่าถ้ำเทวราชา ถ้ำดัมบูลลา ศรีลังกา
ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางนิพพานยาว 14 เมตร ประทับบน แท่นหิน มีพระสาวก คือ พระอานนท์กับพระพุทธเจ้าองค์ต่างๆอีก 4 องค์ มีพระศิวะและพระวิษณุ ซึ่งชาวพุทธศรีลังกาก็บูชาด้วย เพราะตามศาสนาฮินดูพระพุทธเจ้าเป็นปางหนึ่งของพระวิษณุ ด้านหน้ามีแผ่นหินสลักภาษาพราหมีเกี่ยวกับประวัติการสร้างถ้ำด้วย
ถ้ำที่สองชื่อว่าถ้ำมหาราชา ถ้ำดัมบูลลา ศรีลังกา
ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่ง 40 องค์ ประทับยืน 16 องค์ มีเทวดาสมัน วิษณุ มีรูปปั้นของกษัตริย์พระเจ้าวาลากัมบา หรือพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย ผู้ริเริ่มการสร้างวัดถ้ำดัมบูลล่า รูปปั้นกษัตริย์นิสสังกมัลละ พระโพธิสัตว์เมไตรยะ พระโพธิสัตว์อวโลติเกศวรมีองค์เจดีย์สูงจากพื้นถึงเพดานถ้ำ มีจิตรกรรมที่เล่าเรื่องพุทธประวัติ ตำนานที่พระเจ้าวิชัยเสด็จมาที่ศรีลังกา การรับพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ การปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ และสงครามต่อต้านชาวทมิฬ ฯลฯ เป็นต้น ส่วนน้ำที่หยดลงมาถือว่าเป็นน้ำทิพย์หรือน้ำมนต์ที่นำไปใช้ในพิธีต่างๆ ถ้ำนี้ถือว่าเป็นถ้ำที่ใหญ่ที่สุด
ถ้ำที่สามชื่อว่ามหาอลุวิหาร ถ้ำดัมบูลลา ศรีลังกา
ถ้ำนี้สร้างโดยกษัตริย์เมืองแคนดี้พระนามว่าพระเจ้ากิติศรีราชสิงหะโดยคำแนะนำจากพระภิกษุ ภายในถ้ำประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ถ้ำนี้มีพระพุทธรูปทั้งยืนและนั่ง 50 องค์ และรูปปั้นเท่าองค์จริงของกษัตริย์
ถ้ำที่สี่ ถ้ำดัมบูลลา ศรีลังกา
ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่ง สถูปขนาดเล็ก งานแกะสลักพระของถ้ำนี้จะมีความแตกต่างไม่งดงามเท่ากับ ถ้ำที่ 2 และ 3 เพราะเป็นชาวบ้านแกะสลัก และถ้ำมีขนาดเล็ก
ถ้ำที่ห้า ถ้ำดัมบูลลา ศรีลังกา
ขนาดเล็ก ภายในประดิษฐานพระปางไสยาสน์ มีพระพุทธรูปหลายองค์