สังเวชนียสถานแห่งที่ 2 : พุทธคยา(Bodhgaya)
สังเวชนียสถานแห่งที่ 2 : พุทธคยา(Bodhgaya)
สถานที่ตรัสรู้
พุทธคยา(Bodhgaya)
ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เดิมทีเป็นบริเวณหมู่บ้านอุรุเวลาซึ่งปัจจุบันได้เพี้ยนมาเป็นอุเรล อยู่ห่างจากสถานีรถไฟเมืองคยา ประมาณ 10 กิโลเมตร เราสามารถเดินทางโดยรถไฟจากปัตนะถึงคยาระยะทาง 110 กิโลเมตร ถ้าเป็นทางรถยนต์ก็ประมาณ 185 กิโลเมตร โดยผ่านทางเมืองราชคฤห์
ประวัติ
พุทธคยา ถือกันว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวพุทธทั่วโลก เพราะเป็นสถานที่ที่เจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่นี่ เป็นเวลา 2,500 ปีมาแล้ว สถานที่นี้ได้กลายเป็นศูนย์รวมของการจาริกแสวงบุญจากผู้มีจิตศรัทธาทั่วโลกและจัดเป็นสังเวชนีย-สถานแห่งที่ 2 ใน 4 แห่ง
สถานที่สำคัญ
1. ต้นพระศรีมหาโพธิ์
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นปัจจุบันนี้สืบทอดมาจากต้นที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งก่อนตรัสรู้ตามลำดับ ซึ่งมีทั้งหมด 4 ต้น
ต้นที่ 1 เริ่มในสมัยพุทธกาล เกิดขึ้นวันเดียวกันกับเจ้าชายสิทธัตถะประสูติ จนถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นเวลา 352 ปี
ต้นที่ 2 เริ่มในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช สิ้นสุดลงในสมัยของกษัตริย์ฮินดู ในแคว้นแบงกอลพระนามว่า สาสังกา เมื่อประมาณ พ.ศ. 1143-1163 มีอายุราว 871 – 891 ปี
ต้นที่ 3 พระเจ้าปูรณวรมา กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์เมารยะ ทรงปลูกขึ้นแทนต้นที่ 2 มาสิ้นสุดในสมัยอินเดียอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ เมื่อ พ.ศ.2521 มีอายุราว 1258-1278 ปี
ต้นที่ 4 นายพลเซอร์ คันนิ่งแฮม นักโบราณคดีชาวอังกฤษ ปลูกขึ้นแทนต้นที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2423
2. พระเจดีย์มหาโพธิ์
พระเจดีย์มหาโพธิ์แห่งนี้ คือสถานที่ที่เจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้ ณ ใต้ต้นโพธิ์ พระเจดีย์ใหญ่ มีขนาดความสูง 180 ฟุต มีพระเจดีย์เล็ก 4 องค์แวดล้อม สันนิษฐานกันว่า สร้างขึ้นในสมัยพุทธศตวรรษที่ 7 และได้ถูกบูรณะซ่อมแซมมาแล้วหลายครั้ง
ภายในห้องโถงของพระมหาเจดีย์มีพระพุทธรูปองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่พระพักตร์เปี่ยมไปด้วยเมตตาและนิ้วพระหัตถ์ขวาที่ชี้ลงที่พื้นดิน
3. พระแท่นวัชรอาสน์
พระแท่นวัชรอาสน์ หรือ พระแท่นเพชรแกะสลักด้วยเนื้อหินทรายเป็นรูปหัวเพชร กว้าง 4.10 นิ้ว ยาว 7.6 นิ้ว หนา 5 นิ้วครึ่ง ประดิษฐานไว้ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ พื้นแท่นแกะสลักเป็นรูปลวดลายแก้วชิงดวงเป็นรูปหัวแหวน มีรูปดอกบัวห่านฟ้า และดอกมณฑทรพ พระแท่นวัชอาสน์นี้เคยถูกทำลายเมื่อตอนต้นศตวรรษที่ 13 แตกเป็น 5 เสี่ยง นายพลเซอร์ คันนิ่งแฮม ได้บูรณะให้ดีดังเดิม
4. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงอุปมาสัตว์โลกดุจดอกบัว 4 เหล่า
หลังจากตรัสรู้แล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็นว่าธรรมเป็นสิ่งที่ลึกซึ้งยากที่สัตว์โลกจะเข้าใจถึงจึงไม่ประสงค์จะแสดงธรรม แต่เมื่อทรงเปรียบเทียบสัตว์โลกกับดอกบัว 4 เหล่า จึงได้ตั้งพระทัยที่จะแสดงธรรม แล้วทรงเปรียบเทียบมนุษย์ดุจดอกบัว 4 เหล่าคือ
4.1 อุคฆติตัญญู ดอกบัวที่พ้นน้ำแล้วพอถูกแสงอาทิตย์ก็บานเปรียบเหมือนบุคคลผู้มีสติปัญญาแก่กล้าพอได้รับคำแนะนำเพียงหัวข้อเล็กน้อยก็รู้แจ้งหรือบรรลุมรรคผลนิพพานได้เร็วพลัน
4.2 วิปจิตัญญู ดอกบัวที่เสมอน้ำมีโอกาสที่จะโผล่พ้นน้ำและรับแสงพระอาทิตย์เบ่งบานในเร็ววันได้ เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีสติปัญญาดี พอได้รับคำแนะนำเพียงนิดหน่อย ก็รู้แจ้งเห็นจริงหรือบรรลุมรรคผลนิพพานในวันต่อไปได้
4.3 เนยยะ ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำมีโอกาสจะโผล่พ้นน้ำในวันข้างหน้าได้ แต่อาจจะใช้เวลานานเปรียบเหมือนบุคคลผู้มีสติปัญญาปานกลาง ก็มีโอกาสรู้แจ้งเห็นจริง และบรรลุมรรคผลนิพพานได้ในโอกาสต่อไปภายหน้า
4.4 ปทปรมะ ดอกบัวที่จมอยู่ใต้น้ำติดโคลนตม อาจจะเป็นอาหารของปลาและเต่าเปรียบเหมือนบุคคลผู้โง่เขลาอับปัญญาไม่สามารถจะรู้แจ้งเห็นจริงตามคำแนะนำได้ก็มีแต่จะจมอยู่ในอบายภูมิต่อไป
5. สถานที่ที่มารทูลอาราธนาให้พระพุทธเจ้าปรินิพพาน
พญามารได้มาเข้าเฝ้าหลังจากที่พระพุทธองค์ตรัสรู้แล้วว่า ได้เวลาที่จะเสด็จ ดับขันธปรินิพพานแล้วแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า เราจักไม่ปรินิพพาน จนกว่า ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกและอุบาสิกาจะบรรลุธรรมตามที่เราแสดงไว้ และจนกว่าพระพุทธศาสนาจะประดิษฐานมั่นคงแก่มวลมนุษย์โลก เมื่อกาลอันควรมาถึงจึงจักปรินิพพาน
6. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุข 7 สัปดาห์
หลังจากการตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วพระพุทธองค์ก็ทรงประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ 7 แห่ง ตลอด 7 สัปดาห์ ดังนี้คือ
6.1 สัปดาห์แรกประทับนั่งที่พระแท่นวัชรอาสน์
พระองค์ทรงประทับใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ โดยประทับนั่งพิจารณาปฏิจจสมุปบาท โดยอนุโลมและปฏิโลม ตลอด 7 วัน
6.2 สัปดาห์ที่ 2 ที่อนมิสเจดีย์
พระองค์ทรงดำเนินไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือต้นโพธิ์ ทรงยืนพิจารณาทอดพระเนตรต้นพระศรีมหาโพธิ์โดยไม่กระพริบพระเนตรเลย 7 วัน ทรงหวนระลึกถึงอดีตที่ทรงชำระกิเลสหมดสิ้นผ่องใส ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่ประทับยืนนั้นเรียกว่า อนิมิสเจดีย์
6.3 สัปดาห์ที่ 3 ที่รัตนจงกรมเจดีย์
ทรงเสด็จเดินจงกรมอยู่ทางทิศเหนือข้างพระเจดีย์ใหญ่ ตรงจุดนี้พระองค์ทรงเดินจงกรมตลอด 7 วัน เรียกว่า รัตนจงกรมเจดีย์
6.4 สัปดาห์ที่ 4 ที่รัตนฆรเจดีย์
เทวดาเนรมิตเรือนแก้วขึ้นทางทิศเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ์ พระองค์ประทับ นั่งบนบัลลังก์ พิจารณาอภิธรรมอันลึกซึ้งตลอด 7 วัน จึงเรียกว่า รัตนฆรเจดีย์
6.5 สัปดาห์ที่ 5 ที่ต้นอชปาลนิโครธ
พระพุทธองค์เสด็จออกจากต้นพระศรีมหาโพธิ์มุ่งสู่ต้นอชปาลนิโครธ อยู่ทางทิศตะวันออกตรงข้ามกับต้นพระศรีมหาโพธิ์ ธิดามาร 3 นาง คือ นางราคะ นางอรตี และนางตัณหาเข้ามาแสดงอาการยั่วยวนพระพุทธองค์ แต่พระองค์ทรงชนะด้วยพุทธบารมี ทรงชนะจอมมาร คือพญามารจนทรงได้พระนามว่าพระผู้พิชิตมาร พระองค์จะไม่กลับมาแพ้อีกอย่างแน่นอน
6.6 สัปดาห์ที่ 6 ที่สระมุจลินทร์
ทรงเสวยวิมุติสุขที่สระมุจลินทร์ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ห่างจากต้นโพธิ์ราว 4 กิโลเมตร ทรงประทับนั่งที่นั่นตลอด 7 วัน 7 คืน มีพญานาคแผ่พังพานกำบังฝนให้แก่พระพุทธองค์
6.7 สัปดาห์ที่ 7 ที่ต้นราชายตนะ
7.ภูเขาดงคสิริ
คือสถานที่ที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ก่อนที่จะเสด็จมาที่ต้นโพธิ์ทรงกระทำทุกกิริยา คือทรงบำเพ็ญเพียรอย่างอุกฤษฏ์เพื่อจะทำที่สุดแห่งทุกข์
8. เขาพรหมโยนี (คยาสีสะประเทศ)
ตั้งอยู่ใกล้ตัวเมืองคยา ตรงไปจะเข้าตัวเมืองคยา เดิมเรียกว่า “คยาสีสะ” ปัจจุบันเป็น ศาสนสถานของชาวฮินดู เรียกว่า พรหมโยนี เพราะมีก้อนหินทับกันดูเหมือนโยนีของพระพรหม มีความสำคัญต่อพุทธศาสนา คือ
1. ชฏิล 3 พี่น้อง
2. พระเทวทัตต์ถูกตีเข่ายอดอก