ข้อมูลเที่ยวญี่ปุ่น : "เที่ยวบินแรกของเครื่องบิน Made in Japan"

ข้อมูลเที่ยวญี่ปุ่น : "เที่ยวบินแรกของเครื่องบิน Made in Japan"


"เที่ยวบินแรกของเครื่องบิน Made in Japan" ในช่วงฤดูใบไม้ผลิปีนี้ เครื่องบินมิตซูบิชิ MRJ จะทำการทดลองบินเป็นครั้งแรก โดยนับเป็นเครื่องบินลำแรกที่ผลิตในญี่ปุ่นโดยความร่วมมือของบริษัทชั้นนำ คือ มิตซูบิชิ, โตโยต้า และฟูจิ เฮฟวี่อินดัสตรี อย่างไรก็ตาม สายการบินของญี่ปุ่นจะยังไม่มีการใช้งานเครื่องบินมิตซูบิชิ MRJ โดยคาดว่าเครื่องบินMade in Japan จะจำหน่ายเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2017

เมื่อ 40 ปีก่อน ญี่ปุ่นเคยมีโครงการผลิตเครื่องบินภายใต้ชื่อ Nihon Aircraft Manufacturing’s YS-11 หากแต่ต่อมาได้ประสบวิกฤตทางการเงิน จนต้องยกเลิกการผลิตไป 
เครื่องบินโดยสารซึ่งพัฒนาและผลิตในญี่ปุ่นลำแรกในรอบเกือบ 40 ปีถูกเปิดตัวในวันนี้(18) โดยผู้ผลิตอย่าง มิตซูบิชิ หวังที่จะนำอากาศยานรุ่นนี้เข้าตีตลาดแย่งส่วนแบ่งจากผู้ผลิตรายใหญ่อย่างเอ็มเบรเออร์ (Embraer) และ บอมบาร์เดียร์ (Bombardier) มิตซูบิชิ เฮฟวี อินดัสตรีส์ บริษัทคู่สัญญากลาโหมที่เคยสร้างเครื่องบินโจมตีรุ่น A6M “Zero” ให้กองทัพญี่ปุ่นใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เตรียมที่จะเปิดตัวอากาศยานเชิงพาณิชย์ที่ใช้ชื่อว่า มิตซูบิชิ รีเจอเนิล เจ็ต (Mitsubishi Regional Jet – MRJ) เครื่องบินรุ่นอนาคตที่ประหยัดเชื้อเพลิงดีเยี่ยม และจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับสายการบินที่ต้องการมอบความสะดวกสบายแก่ผู้โดยสารในต้นทุนที่ต่ำลง

MRJ ซึ่งผลิตโดยความร่วมมือกับค่ายอากาศยานยักษ์ใหญ่อย่าง โบอิ้ง ถูกนำมาเปิดตัวที่เมืองนาโกยา ทางตอนกลางของญี่ปุ่นในวันนี้(18) และจะเริ่มส่งมอบแก่ลูกค้าได้ในปี 2017

“โครงการพัฒนาเครื่องบิน MRJ มีความก้าวหน้าไปตามลำดับ การออกแบบที่ล้ำสมัยและเครื่องยนต์รุ่นใหม่จะช่วยลดทั้งอัตราการใช้เชื้อเพลิง เสียง และการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันและผลกำไรแก่สายการบินต่างๆ ในอนาคต” เทรุอากิ คาวาอิ ประธานและหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการของ มิตซูบิชิ แอร์คราฟต์ ระบุในถ้อยแถลงเมื่อไม่นานนี้ โครงการพัฒนา MRJ ถือเป็นการพลิกประวัติศาสตร์หน้าใหม่สำหรับอุตสากรรมการบินญี่ปุ่น ซึ่งผลิตเครื่องบินโดยสารเชิงพาณิชย์ออกจำหน่ายครั้งล่าสุดในปี 1962 ได้แก่ รุ่น YS-11 เทอร์โบพร็อป และได้เลิกผลิตไปในอีกราวๆ 1 ทศวรรษให้หลัง หลังจากญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐฯ ซึ่งอยู่ในฐานะผู้ยึดครองก็ไม่อนุญาตให้บริษัทญี่ปุ่นพัฒนาอากาศยานรุ่นใดๆ

ภาคการบินของญี่ปุ่นเติบโตขึ้นอีกครั้งอย่างช้าๆ ในช่วงทศวรรษ 1950 เริ่มจากการผลิตอะไหล่ให้แก่กองทัพอเมริกัน ก่อนจะได้รับอนุญาตให้ผลิตเครื่องบินที่สหรัฐฯ พัฒนาขึ้นสำหรับใช้ในกองกำลังป้องกันตนเอง ขณะที่บริษัทญี่ปุ่นหลายแห่งมีการผลิตอะไหล่เครื่องบินส่งให้ โบอิ้ง เป็นเวลานานแล้ว เครื่อง MRJ ของมิตซูบิชิซึ่งเหมาะสำหรับการบินทั้งระยะสั้นและระยะกลางในภูมิภาค มีทั้งรุ่น 70 และ 90 ที่นั่ง ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลโตเกียวและกลุ่มบริษัทชั้นนำอีกหลายแห่ง รวมถึงโตโยต้า โดยมีค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาราวๆ 180,000 ล้านเยน มิตซูบิชิ ได้รับออเดอร์สั่งซื้อเครื่องบินจากลูกค้า 375 ราย ซึ่งรวมถึงสายการบิน ออล นิปปอน แอร์เวย์ส (ANA), ทรานส์ สเตทส์ โฮลดิงส์ ของสหรัฐฯ และ สกาย เวสต์

ด้านสายการบิน เจแปนแอร์ไลน์ส (JAL) ก็ได้ลงนามจดหมายสั่งซื้อเครื่องบิน MRJ จำนวน 32 ลำ ด้วยราคาแคตตาล็อกลำละ 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยจะนำมาใช้กับเส้นทางบินในประเทศ 

ทัวร์แนะนำ ที่คุณอาจจะสนใจ