การบริหารความขัดแย้งเชิงสร้างสรรค์
การบริหารความขัดแย้งเชิงสร้างสรรค์
"ความขัดแย้งเกิดขึ้นทุกระดับ ตั้งแต่พนักงาน ผู้จัดการ ไปจนถึงระดับผู้บริหาร"
ทำอย่างไรจะบริหารความขัดแย้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แนวคิดของการบริหารความขัดแย้งแบบการใช้วิธีการแก้ปัญหา (Problem Solving) เพื่อให้บรรลุ Win-Win Situation - Synergy นั้นสามารถใช้หลักบางอย่างต่อไปนี้ได้ เช่น ยอมรับว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมชาติ เมื่อมีการทำงานร่วมกันย่อมเกิดความขัดแย้งกันเป็นธรรมดา หรือตระหนักว่าวัตถุประสงค์ของการแก้ปัญหา ไม่ได้มุ่งที่การเอาชนะซึ่งกันและกัน แต่มุ่งที่จะร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหามากกว่า
จบหลักสูตรนี้บริษัทของคุณจะได้อะไร ?
พนักงาน จะมี ระบบการคิด การเสนอแนะ อยู่บนหลักของความเป็นเหตุเป็นผล รู้จักรับฟัง สามารถ โต้ตอบ และ ร่วมกันแก้ไขปัญหา นั้นๆให้ลุล่วง
ตัวอย่าง
"มีองค์กรแห่งหนึ่ง ที่ผู้จัดการฝ่ายการผลิตและการขาย เกิดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงในด้านมุมมองของการทำงาน เช่นการขายมองว่าฝ่ายผลิตควรมีการบริหารจัดการสินค้าคงคลังให้ตอบสนองความ ต้องการของตลาด และควรให้ความร่วมมือในการประสานงานทุกครั้ง ส่วนฝ่ายผลิตเองก็มองว่าการตลาดควรส่งตัวเลขปริมาณสินค้าที่ต้องการให้ ชัดเจน ต้องมีการวางแผนรายปีหรือรายไตรมาศเป็นอย่างน้อย และไม่ควรตอบตกลงกับลูกค้าก่อนเช็คว่ามีสินค้าที่จะขายหรือไม่ ความขัดแย้งนี้ถูกสะสมมานานนับปีจนพัฒนาจากความขัดแย้งในระดับบุคคลจนเป็น ความขัดแย้งในระดับกลุ่ม ทำให้ทีมงานของทั้งสองฝ่ายไม่มองหน้ากัน เกิดความยากลำบากในการประสานงาน มีแต่คนทำแต่ไม่มีใครแก้ ทางออกของคนที่ทนไม่ได้ ก็มักจะลาออกหรือย้ายไปอยู่สายงานอื่น ปัญหาทวีความรุนแรงมากขึ้นจนกระทั่งส่งผลกระทบต่อยอดขายขององค์กร มีการเรียกประชุมจากผู้บริหารระดับสูง เพื่อตรวจสอบและแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งกว่าจะความขัดแย้งจะเบาบางลงได้ มูลค่าความเสียหายก็มากมายนับไม่ถ้วนและทำให้องค์กรแห่งนี้สูญเสียส่วนแบ่ง การตลาดไปกว่า 10%
ภายใน 3 เดือนหลังจากการประชุมโดยใช้หลักการบริหารความขัดแย้งเชิงสร้างสรรค์ ก่อให้เกิดการปรับปรุงกระบวนการทำงานทั้งระบบ ก่อให้เกิดนวัตกรรมเชิงกระบวนการที่ทำให้ฝ่ายขายตลาดสามารถเช็คปริมาณสินค้า ที่มีอยู่และปรับปรุงการส่งมอบให้กับลูกค้าได้ตรงตามเวลา ฝ่ายผลิตก็สามารถบริหารจัดการสินค้าคงคลังและควบคุมต้นทุนการจัดเก็บได้ อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่วนปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้นก็มีการตรวจหาสาเหตุของประเด็นปัญหาและแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งภายหลังการเป็นจุดแข็งของบริษัทที่สามารถสร้างคุณค่าในการผลิตและการ บริการได้อย่างต่อเนื่อง"