ข้อมูลเที่ยวพม่า : วัดพระหินขาว และ พระเจดีย์ไจปุ่น(Kyaikpun Pagoda)
วัดพระหินขาว และ พระเจดีย์ไจปุ่น(Kyaikpun Pagoda)
วัดพระหินขาว
หรือที่มีชื่อเรียกอย่างทางการว่า "Lawka Chantha Abaya Labamuni Buddha Image" พระหินขาวนี้สร้างจากหินขาวที่มีลักษณะมันวาว สีขาวสะอาดและไม่มี ตำหนิ สูง 37 ฟุต กว้าง 24 ฟุต หนัก 600 ตัน เป็นพระพุทธรูปประทับนั่ง พระหัตถ์ขวาบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญมาจากสิงคโปร์ และศรีลังกายกขึ้นหันฝ่าพระหัตถ์ออกจากองค์ หมายถึงการไล่ศัตรูและประทานความเจริญรุ่งเรือง นอกจากนี้ยังมีการนำหินที่เหลือมาสลักเป็นพระพุทธบาทซ้าย - ขวา ประดิษฐานอยู่บริเวณด้านหลังพระพุทธรูปด้วย จากนั้นชมช้างเผือกคู่บ้านคู่เมืองของประเทศพม่าในบริเวณใกล้กันศาสนสถานที่ สำคัญและศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ใน เมืองหงสาวดี เป็นพระธาตุเก่าแก่อายุกว่า 1,200 ปี เคยพังทลายลงมาเพราะแผ่นดินไหวเมื่อ พ.ศ. 2473 หรือเมื่อ 74 ปีที่แล้ว ต่อมาได้รับการบูรณะปฎิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2497 ปัจจุบันพระธาตุมุเตามีความสูงประมาณ 125 เมตร พระราชวังหงสาวดี หรือ Kanbawzathadi Palace อดีตพระราชวังของ “พระเจ้าบุเรงนองกยอดิน นรธา” ที่คนไทยรู้จักในดีในนามของผู้ชนะสิบทิศ สิ่งปลูกสร้างไม่ว่าจะเป็น ตำหนักที่บรรทมและท้อง พระโรงที่ออกว่าราชการซึ่งตั้งอยู่ในพระราชวังทุกวันนี้ และเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์และถูกจับเป็นตัวประกัน ในอดีตพระราชวังแห่งนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2109 มีผังเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยม กำแพงแต่ละด้านยาวประมาณ 1.5 ไมล์ถูกสร้างขึ้นใหม่ตามบันทึกของ นายราล์ฟ ฟิตซ์ ชาวอังกฤษซึ่งเข้ามาติดต่อค้าขายและได้เห็นเมืองหงสาวดีในยุครุ่งเรืองได้ บรรยายไว้ เมื่อปี พ.ศ. 2129 ก่อนที่พระราชวังหงสาวดีซึ่งถูกสร้างขึ้นอย่างสวยงามจะถูกเผาทำลายลงในปี พ.ศ. 2143 พระพุทธไสยาสน์ชเวทาลยวง ปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์อันดับสองของเมืองหงสาวดี พระพุทธรูป องค์นี้มีความยาว 60 เมตร สูง 17 เมตร สร้างขึ้นโดยพระเจ้ามิคทิปปะ ใน พ.ศ. 1537 พระพุทธรูปองค์นี้ได้ตากแดดกรำฝนอยู่เป็นเวลาหลายร้อยปีจนกระทั่งทรุดโทรมลง ระหว่างนั้นก็ได้มีการบูรณะมาโดยตลอด แต่ในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าอลองพญาแห่งราชวงศ์คองบอง ปราบมอญราบคาบ เมืองหงสาวดีถูกทิ้งร้างพระพุทธไสยาสน์ก็ถูกทอดทิ้งจนกลางเป็นเพียงกองอิฐ ถูกต้นไม้ขึ้นปกคลุมหมด จนถึงปี พ.ศ. 2424 เมื่ออังกฤษ สร้างทางรถไฟสายพม่าใต้ จึงได้พบพระนอนองค์นี้ จากนั้นในปี พ.ศ. 2491 หลังพม่าได้รับเอกราชก็มีการบูรณะปฏิสังขรณ์อย่างจริงจัง โดยทาสีและปิดทองใหม่อย่างที่เห็นในปัจจุบัน พระมหาเจดีย์ พระมหาเจดีย์ซึ่งสร้างโดยพระเจ้าบุเรงนอง ในปี พ.ศ. 2103 เพื่อประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วจากลังกาและ พระเจดีย์ไจปุ่น ซึ่งมีอายุมากกว่า 500 ปี สร้างเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ 4 องค์หันพระพักตร์ไปทุกทิสทาง แทนความหมายถึง พระพุทธเจ้า ทั้งสี่พระองค์ในภัทรกัป ได้เวลาสมควรนำท่านเดินกลับสู่กรุงย่างกุ้ง
พระเจดีย์ไจปุ่น(Kyaikpun Pagoda)
ซึ่งมีอายุมากกว่า 500 ปี สร้างเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ 4 องค์หันพระ พักตร์ไปทุกทิสทางแทนความหมายถึงพระพุทธเจ้าทั้งสี่พระองค์ในภัทรกัป มีตำนานเล่าว่า พระราชธิดาทั้งสี่องค์ของกษัตริย์มอญสร้างไว้ โดยอธิษฐานว่า จะไม่ยอมอภิเษก แต่ตอนหลังพระธิดาองค์เล็กได้อภิเษก เป็นการผิดสัจจะ พระพุทธรูปองค์หนึ่งในจำนวนสี่องค์นี้ ก็เลยพังทลายลงมา. เมืองพุกาม นับแต่พระเจ้าอโนรธาตีเมืองตะโถ่งได้ในปี 1057 จนกุบไล่ขาน ยกทัพมาเหยียบเมืองพุกาม ในปี 1287 นั้น มีการ สร้างวัดวาอาราม และสถูปเจดีย์ขึ้นบนที่ราบอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้กว่า 13,000 แห่ง แต่หลังจากที่เวลาผ่านไปได้เพียง เจ็ดร้อยปี กลับมีศาสนสถาน หลงเหลืออยู่ราว 2,000 แห่งเท่านั้น นอกนั้นกลายเป็นซากกองอิฐ ที่ปรักหักพังบ้าง ถูกแม่น้ำ เอยาวดี พัดหายไปบ้าง แต่มรดกจาก ยุคทอง ของการสร้างวัดวาอาราม ที่เหลือตกทอดมาให้ผู้คน ในปัจจุบัน ได้ชื่นชม ก็ยัง ต้องถือว่ามีอยู่ไม่น้อยเลยอยู่ดี ถ้าพุกามตั้งอยู่บน เส้นทาง การท่องเที่ยวสำคัญของเอเชีย แทนที่จะเป็นที่ราบอันร้อนและ แห้งแล้ง ในภาคกลางของพม่าเช่นนี้ ก็คงจะเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ในหมู่ชาวตะวันตก ไม่ต่างจากกำแพงเมืองจีน หรือ ทัชมาฮาล ไปเสียนานแล้ว ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 2 พระเจ้าตะมุดะริด (สมุทรฤทธิ์) ทรงนำชาว ปยู มาตั้งบ้านเมืองขึ้นในเขต ที่ราบพุกาม แต่เมืองแบบ ที่มีกำแพงล้อมรอบนั้น เพิ่งมาสร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 849 ในรัชสมัย ของพระเจ้าปหยิ่นปยา ครั้นพระเจ้าอโนรธา ขึ้นครองราชย์ เป็นกษัตริย์องค์ที่ 42 แห่งราชวงศ์พุกาม ก็ทรงทำนุบำรุงบ้านเมือง จนรุ่งเรือง และรุ่งเรืองยิ่งขึ้นไปอีกใน รัชสมัยพระเจ้าญานสิทธา พระเจ้าอโนรธา ทรงปราบดาภิเษกขึ้นครองบัลลังก์ในปี 1044 ทรงพลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์พุกามด้วยการพิชิตราชธานี ของ พวกมอญลงได้ในปี 1507 เมืองพุกาม หรือที่เรารู้จักในนาม อาณาจักรพุกามเดิม (Pagan หรือ Bagan) เมืองมรดกโลก ตั้งอยู่ทางเหนือของกรุงย่างกุ้ง 680 กิโลเมตร เป็นดินแดนอารยธรรม แห่งหนึ่งของโลก เพราะมีวัดวาอารามมากมาย ตลอดจนเจดีย์กว่า 2,000 องค์ นับแต่พระเจ้าอโนรธาตีเมืองตะโถ่งได้ในปี 1057 จนกุบไล่ขานยกทัพมาเหยียบเมืองพุกามในปี 1287 นั้น มีการ สร้างวัดวาอาราม และสถูปเจดีย์ขึ้นบนที่ราบอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้กว่า 13,000 แห่ง แต่หลังจากที่เวลาผ่านไปได้เพียง เจ็ดร้อยปี กลับมีศาสนสถานหลงเหลืออยู่ราว 2,000 แห่งเท่านั้น นอกนั้นกลายเป็นซากกองอิฐที่ปรักหักพังบ้าง ถูกแม่น้ำ เอยาวดี พัดหายไปบ้าง แต่มรดกจากยุคทองของการสร้างวัดวาอารามที่เหลือตกทอดมาให้ผู้คนในปัจจุบัน ได้ชื่นชม ก็ยัง ต้องถือว่ามีอยู่ไม่น้อยเลยอยู่ดี ถ้าพุกามตั้งอยู่บนเส้นทางการท่องเที่ยวสำคัญของเอเชีย แทนที่จะเป็นที่ราบอันร้อนและ แห้งแล้ง ในภาคกลางของพม่าเช่นนี้ ก็คงจะเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในหมู่ชาวตะวันตก ไม่ต่างจากกำแพงเมืองจีน หรือ ทัชมาฮาลไปเสียนานแล้ว ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 2 พระเจ้าตะมุดะริด (สมุทรฤทธิ์) ทรงนำชาวปยู มาตั้งบ้านเมืองขึ้นในเขต ที่ราบพุกาม แต่เมืองแบบที่มีกำแพงล้อมรอบนั้น เพิ่งมาสร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 849 ในรัชสมัยของพระเจ้าปหยิ่นปยา ครั้นพระเจ้าอโนรธา ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์ที่ 42 แห่งราชวงศ์พุกาม ก็ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองจนรุ่งเรือง และรุ่งเรืองยิ่งขึ้นไปอีกใน รัชสมัยพระเจ้าญานสิทธา พระเจ้าอโนรธา ทรงปราบดาภิเษกขึ้นครองบัลลังก์ในปี 1044 ทรงพลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ พุกามด้วยการพิชิตราชธานีของพวกมอญลงได้ในปี 1507