รู้ไว้ก่อนไปเที่ยว : ทัวร์ปีใหม่ เที่ยวปีใหม่ ทำไมวันปีใหม่สากลต้องเป็น 1 มกราคม

รู้ไว้ก่อนไปเที่ยว : ทัวร์ปีใหม่ เที่ยวปีใหม่ ทำไมวันปีใหม่สากลต้องเป็น 1 มกราคม

     

ท่านทราบไม้ว่าวันปีใหม่ 1 มกราคม ที่คนทั้งโลกให้การยอมรับ เป็นผลพวงแห่งความเชื่อ ศาสนา การเมือง และอิทธิพลของเมียน้อยตอนนี้การนับถอยหลังที่ 24 นาฬิกา ของวันที่ 31 ธันวาคม กลายเป็นจุดขายของประเพณีทั่วโลก จึงมีคำถามว่า “ทำไมต้องเป็น 1 มกราคม” วันอื่นๆไม่ได้หรือยังไง เป็นไปได้ครับถ้าผมเป็นบุคคลที่มีอำนาจสั่งคนทั้งโลกซ้ายหันขวาหันได้ดั่งใจหมาย ผมจะกำหนดให้วันปีใหม่ตรงกับวันเกิดก็ย่อมได้ แต่ความเป็นจริงผมเป็นเพียงประชากรหนึ่งใน 7 พันล้านคนของดาวเคราะห์ดวงนี้ จึงต้องยอมรับวันปีใหม่สากลโดยไม่มีข้อแม้ที่มาของวันที่ 1 มกราคม
เมื่อ 713 ปีก่อนคริตกาล จักรพรรดิ์โรมันชื่อ “นูม่า ปอมปีเลียส” (Numa pompilius) สร้างปฏิทินขึ้นมาให้ชาวโรมันได้ใช้กัน โดยกำหนดให้วันปีใหม่ตรงกับ 1 มกราคม และมีทั้งหมด 12 เดือน เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะชาวโรมันสังเกตเห็นว่าดวงอาทิตย์ในฤดูหนาวคล้อยต่ำลงไปเรื่อยๆทางทิศใต้ ขณะเดียวกันกลางคืนยาวก็ขึ้นเรื่อยๆ (ความจริงคือปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ “เหมายัน” หรือ Winter solstice กลางคืนยาวที่สุดในรอบปี ตรงกับปฏิทินปัจจุบันวันที่ 21 ธันวาคม) พวกเขาเกิดความกลัวว่าดวงอาทิตย์จะลาลับไปทำให้โลกมืดตลอดกาล จึงต้องไปพึ่งเทพเจ้าแห่งท้องฟ้าที่ชื่อ “เจนัส” (God Janus) เทพเจ้าองค์นี้ถือกุญแจไขท้องฟ้า ผลจากการบนบานศาลกล่าวประมาณ 10 วัน ดวงอาทิตย์เริ่มขยับตัวเคลื่อนกลับมาทางทิศเหนืออีกครั้งหนึ่ง พวกเขาดีใจมากและเชื่อว่านี่คือผลงานของเทพเจ้าเจนัส จึงตั้งให้วันนี้เป็นวันแรกของปี คือ 1 January มาจากรากศัพท์ Janus นับแต่นั้นเรื่อยมาวันที่ 1 มกราคมจึงเป็นปีใหม่ในปฏิทินโรมัน

ทำไมปฏิทินโรมัน และวันที่ 1 มกราคมกลายเป็นสากลของคนทั้งโลกพูดกันตามหลักความจริงแบบไม่ต้องอ้อมค้อม ปฏิทินที่เราๆท่านๆใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลพวงการผสมผสานโดยเอาข้อมูลดาราศาสตร์ โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบ เป็นตัวตั้ง ใส่วิชาคณิตศาสตร์เข้าไปให้มีตัวเลข 365 วัน และ 366 วันทุกๆสี่ปี เติมเงื่อนไขความเชื่อทางศาสนาและประเพณีให้มีสีสันขณะเดียวกันก็ดูขลัง สุดท้ายอาศัยอำนาจทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจเผยแพร่ปฏิทินนี้ให้คนทั่วโลกใช้เป็นคำภีร์สากล สมมุติเล่นๆว่าถ้าพี่ไทยอย่างเราๆท่านๆเป็นมหาอำนาจระดับโลกเมื่อห้าร้อยปีที่แล้ว สามารถชี้ไม้เป็นนกชี้นกเป็นไม้ได้ รับรองว่าปีใหม่สากลต้องเป็นวันที่ 15 เมษายน และคนทั่วโลกคงต้องรดน้ำสงกรานต์กันถ้วนหน้าอย่างไรก็ตามปฏิทินโรมันมีการปรับแต่งใหม่เมื่อ 45 ปี ก่อนคริสตกาลโดยจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ จูเลียส์ ซีซ่าร์ เจ้าของคำพูดอหังการ “ข้ามา ข้าเห็น และข้าก็ชนะ” Veni Vidi Vici (I came I saw I conquered) ท่านซีซ่าร์ไม่สบอารมณ์กับปฏิทินโรมันฉบับที่ใช้อยู่เพราะกำหนดวันสำคัญของพิธีทางศาสนาไม่ตรงกับช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิต ที่เป็นเช่นนี้เพราะปฏิทินโรมันดั่งเดิมที่มีชื่อว่า "ปฏิทินนูม่า" (Calendar of Numa) จัดทำในสมัยจักรพรรดิโรมันชื่อ Numa Pompilius เมื่อ 713 ปี ก่อนคริสตกาล มีจำนวนวันในรอบปี 355 วัน แต่ในความเป็นจริงตามหลักดาราศาสตร์โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลาประมาณ 365.25 วัน ปฏิทินนูม่าจึงมีจำนวนวันน้อยกว่าความเป็นจริงตามธรรมชาติปีละประมาณ 10 วัน เมื่อสะสมนานๆเข้าจนถึงยุคสมัยของจักรพรรดิจูเลียส์ ซีซ่าร์ 46 ปี ก่อนคริสตกาล "ปฏิทินนูม่า" กับ "ฤดูกาล" จึงคลาดเคลื่อนกันมาก เป็นเหตุให้กำหนดวันทำพิธีทางศาสนาในฤดูใบไม้ร่วงเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิต กลายเป็นฤดูร้อนไม่มีผลผลิตอะไรเหลือให้เก็บเกี่ยว ท่านจูเลียส์ ซีซ่าร์ จึงสั่งการให้เริ่มสังคายนาปฏิทินโรมันเสียใหม่ในปี 45 ก่อนคริสตกาลตอนนั้นท่านซีซ่าร์พำนักอยู่ที่อียิปส์ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรโรมันและมีภรรยาน้อยเป็นเด็กวัยรุ่นหน้าตาดี ชื่อ พระนางครีโอพัตรา จริงๆแล้วพระนางมีตำแหน่งเป็นฟาร์โรในราชวงศ์ปโตเลมี เมื่อพระนางทราบว่าสามีผู้ยิ่งใหญ่ต้องการสร้างปฏิทินโรมันฉบับใหม่ จึงเสนอให้เอาผู้เชี่ยวชาญดาราศาสตร์จากราชสำนักฟาร์โรชื่อ โซซิเจเนส แห่งเมืองอล็กซานเดรีย (Sosigenes of Alexandria) มาทำหน้าที่นักวิชาการคำนวณปฏิทินฉบับใหม่ เป็นที่เข้าใจกันว่าอีตาผู้เชี่ยวชาญคนนี้แกเป็นเด็กเส้นของพระนางคลีโอพัตราไม่งั้นแกจะมีสิทธิได้รับเหมาด้วยวิธีพิเศษโดยไม่ผ่านการประกวดราคาได้อย่างไรละ แสดงว่าการเข้าหลังบ้านเพื่อรับเหมางานราชการมีความเป็นมานานกว่าสองพันปีแล้ว ผมจินตนาการว่าท่านซีซ่าร์คงจะคิดว่าไหนๆตูข้าก็หลวมตัวมาอยู่กินกับเด็กสาววัยรุ่นอย่างพระนางคลีโอพัตราแล้ว แถมเมียหลวงก็อยู่ห่างไกลที่กรุงโรม เป็นอันต้องตามใจแม่สาวน้อยซักทีนึงคงไม่เสียหายอะไรนัก อันนี้ผมว่าเองนะครับจริงๆแล้วไม่รู้ว่าท่านซีซ่าร์คิดอย่างไร แต่ดูจากพฤติกรรมแวดล้อมมันส่อไปทำนองนั้นเล่าถึงตอนนี้หลายท่านอาจสงสัยว่า ทำไมจักรพรรดิ์ซีซ่าร์ซึ่งเป็นชาวยุโรปจึงหลงเสน่ห์สาวอียิปส์ได้ง่ายๆ คำตอบคือ พระนางคลีโอพัตราไม่ใช่คนอียิปส์แต่เป็นลูกหลานฝรั่งชาวกรีกสืบเชื้อสายมาตั้งแต่ “ฟาร์โร ปโตเลมี” ผู้สืบอำนาจการปกครองอาณาจักรอียิปส์ต่อจากพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ดังนั้นพระนางจึงมีผิวพรรณขาวและสง่างามในสายตาของชาวโรมัน ปฏิทินฉบับกลิ่นอายอียิปส์ได้เริ่มประกาศใช้ในอาณาจักรโรมันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยกำหนดให้ปีหนึ่งมี 365 วัน และทุกๆสี่ปีเพิ่มอีกหนึ่งวันให้เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน รวมทั้งปี 366 วัน สูตรนี้คำนวณมาจากหลักการโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เท่ากับ 365.25 วัน เมื่อครบสี่ปีให้ปัดเศษไปรวมกันเป็น 1 วัน นักวิชาการเรียกปฏิทินฉบับนี้ว่า Julian Calendarอย่างไรก็ตามก่อนที่จะประกาศใช้อย่างเป็นทางการได้เกิดเรื่องใหญ่ขึ้น กล่าวคือนักวิชาการอียิปส์จะกำหนดให้เปลี่ยนวันปีใหม่จาก 1 มกราคม มาเป็นวัน "วสันตวิษุวัต" กลางวันเท่ากับกลางคืนต้นฤดูใบไม้ผลิตามแบบฉบับของอาณาจักรอียิปส์ เท่านั้นแหละสภาการปกครองแห่งอาณาจักรโรมันถึงกับเป็นเดือดเป็นร้อน เพราะท่านซีซ่าร์ไฉนจึงละทิ้ง "เทพเจ้าเจนัส" ได้ลงคอ จึงยื่นคำขาดจะปลดซีซ่าร์ออกจากตำแหน่งจักรพรรดิ์ แถมขู่อีกว่าไปเอาเมียน้อยต่างชาติก็ผิดแล้วแต่สภาก็อดกลั้นไว้เพราะให้เกียรติในฐานะนักรบผู้ยิ่งใหญ่ แต่นี่เล่นจะเปลี่ยนวันปีใหม่ของเทพเจ้าเจนัสไปเป็นปฏิทินอียิปส์ "มันรับไม่ได้" เจอคำขู่แบบนี้ท่านซีซ่าร์ถึงกับถอดใจต้องใช้กลยุทธ "ยอมงอ แต่ไม่ต้องหัก" เพื่อให้ทุกอย่างไปด้วยกันแบบ win win ระหว่างเมียน้อยกับตำแหน่งจักรพรรดิ์ ท่านซีซ่าร์จึงพบกันคนละครึ่งทางระหว่างอียิปส์กับโรมันโดยให้วันปีใหม่คงเป็น 1 มกราคม เหมือนเดิม ส่วนนอกนั้นเอาแบบอียิปส์คือหนึ่งปีมี 365 วัน และเพิ่ม 366 วันทุกๆสี่ปี ทางสภาโรมันก็รับได้ถึงแม้จะไม่สบอารมณ์เท่าไหร่ก็เข้าตำรา "กำขี้ดีกว่ากำตด" ส่วนท่านซีซ่าร์แกก็แฮบปี้เพราะเก้าอี้จักรพรรดิ์ก็ยังอยู่ เมียน้อยก็ไม่เสียหน้า ประชาชนทั้งอียิปส์และโรมันก็พอรับได้ นี่แหละครับยอดนักรบย่อมมีไม้เด็ดออกหมัดน้อกได้ในยกสุดท้ายอย่างไรก็ตาม ปฏิทินจูเลียส ซีซ่าร์ ใช้ต่อเนื่องมาพันกว่าปีก็เกิดปัญหาใหม่ คือการคำนวณวัน “อีสเตอร์” ซึ่งต้องตรงกับ “วันอาทิตย์” ถัดจากขึ้น 15 ค่ำ หลังจากวันที่ 21 มีนาคม “วสัตวิษุวัต” (Vernal equinox) แต่ปรากฏว่าวันที่ 21 มีนาคม มาถึงก่อนปรากฏการณ์วสันตวิษุวัตถึง 10 วัน เนื่องจากปฏิทินซีซ่าร์สะสมการคลาดเคลื่อนประมาณ 1 วัน ต่อ 128 ปี เพราะวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ไม่ใช่ลงตัวเป๊ะๆที่ 365.25 วัน แต่เป็น 365.2424 วัน ทำให้การประกอบพิธีกรรมทางศาสนาคริตส์ไม่ตรงกับหลักการเบื้องต้น ร้อนถึงสันตปาปา “เกรเกอรี่ ที่ 13” ต้องปรับปรุงปฏิทินฉบับนี้ใหม่ โดยออกกฏแห่งสำนักวาติกันกำหนดให้วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม ค.ศ.1582 เป็นวันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม ดังนั้น ผู้คนชาวโรมันเข้านอนในคืนวันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม เมื่อตื่นเช้าจะพบกับวันศุกร์ที่ 15 แต่วันปีใหม่ก็คงไว้ที่ 1 มกราคม เช่นเดิม ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาชาวคริตส์ทั่วยุโรปได้ยึดถึงปฏิทินฉบับเกอกอร์รี่ที่ 13 เป็นคำภีร์ฉบับใหม่ และแน่นอนครับอิทธิพลของชาวยุโรปในยุคล่าอาณานิคมได้แพร่กระจายปฏิทินฉบับนี้ไปทุกหนแห่งที่ตนเองเข้าครอบครอง ทั้งทวีปอัฟริกา เอเซีย อเมริกาใต้ และอเมริกาเหนือประเทศไทยก็ประกาศให้วันที่ 1 มกราคม เป็นปีใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2484 โดยท่าน “ผู้นำชาติพ้นภัย” จอมพลแปลก พิบูลสงคราม

     

เหตุผลที่เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายน มาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ

1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย
สรุปแล้ววันปีใหม่ 1 มกราคม มีที่มาที่ไปตั้งแต่กรุงโรมโบราณเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน 2,724 ปี และก็อย่างที่ผมว่าไว้แต่ต้น ปีใหม่เริ่มจากดาราศาสตร์ บวกคณิตศาสตร์ ใส่เรื่องราวของความเชื่อและศาสนา เผยแพร่ไปทั่วโลกด้วยอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจ มิติแห่ง “กาลเวลา” ของโลกใบนี้จึงตกอยู่ในคำภีร์ของลูกหลานชาวโรมันอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น ถ้าท่านไม่เชื่อก็ขอให้ลองทำสัญญาซื้อขายสินค้ากับต่างประเทศโดยระบุวันส่งของเป็น “ปฏิทินจันทรคติแบบไทยๆ” ให้ส่งของตรงกับ ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 3 ปี มะโรง รับรองไม่มีใครทำธุรกิจกับท่าน หรือไม่ก็ให้รัฐบาลไทยที่มักอ้างว่าทำอะไรก็ต้อง "แบบไทยๆ" ลองหาญกล้าเปลี่ยนปีงบประมาณแผ่นดินเป็น ขึ้น 1 ค่ำ เดือนอ้าย เอาไม้ละ

ประเพณี New Year Countdown
เป็นที่ทราบโดยทั่วกันในระดับสากลว่าเมื่อถึงคืนวันที่ 31 ธันวาคม ผู้คนทั้งโลกจะจัดกิจกรรม "นับถอยหลัง" เพื่อเฉลิมฉลองเข้าสู่วันปีใหม่ และแน่ละเรื่องแนวสนุกสนานแบบนี้เข้าตาพี่ไทยอย่างเราๆท่านๆ ประเทศไทยจึงอึกทึกไปด้วยเสียงจุดพลุและประทัด อย่างไรก็ตามประเทศต่างๆจะ "นับถอยหลังไม่พร้อมกัน" เนื่องจากเวลาเที่ยงคืนในท้องถิ่นของแต่ละประเทศไม่ตรงกัน เพราะอยูกันคนละตำแหน่งของเส้นแวง (longitude) ประเทศไหนอยู่ที่เส้นแวงทางตะวันออกสุดที่ 180 E จะถึงเวลาเที่ยวคืนก่อนเพื่อน ส่วนประเทศที่ตั้งอยู่เส้นแวงตะวันตกสุด 180 W ก็ต้องรอคิวหลังสุด ท
รู้ไว้ก่อนไปเที่ยว : ทัวร์ปีใหม่ เที่ยวปีใหม่ ทำไมวันปีใหม่สากลต้องเป็น 1 มกราคม
ท่านทราบไม้ว่าวันปีใหม่ 1 มกราคม ที่คนทั้งโลกให้การยอมรับ เป็นผลพวงแห่งความเชื่อ ศาสนา การเมือง และอิทธิพลของเมียน้อย
ตอนนี้การนับถอยหลังที่ 24 นาฬิกา ของวันที่ 31 ธันวาคม กลายเป็นจุดขายของประเพณีทั่วโลก จึงมีคำถามว่า “ทำไมต้องเป็น 1 มกราคม” วันอื่นๆไม่ได้หรือยังไง เป็นไปได้ครับถ้าผมเป็นบุคคลที่มีอำนาจสั่งคนทั้งโลกซ้ายหันขวาหันได้ดั่งใจหมาย ผมจะกำหนดให้วันปีใหม่ตรงกับวันเกิดก็ย่อมได้ แต่ความเป็นจริงผมเป็นเพียงประชากรหนึ่งใน 7 พันล้านคนของดาวเคราะห์ดวงนี้ จึงต้องยอมรับวันปีใหม่สากลโดยไม่มีข้อแม้

ที่มาของวันที่ 1 มกราคม
เมื่อ 713 ปีก่อนคริตกาล จักรพรรดิ์โรมันชื่อ “นูม่า ปอมปีเลียส” (Numa pompilius) สร้างปฏิทินขึ้นมาให้ชาวโรมันได้ใช้กัน โดยกำหนดให้วันปีใหม่ตรงกับ 1 มกราคม และมีทั้งหมด 12 เดือน เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะชาวโรมันสังเกตเห็นว่าดวงอาทิตย์ในฤดูหนาวคล้อยต่ำลงไปเรื่อยๆทางทิศใต้ ขณะเดียวกันกลางคืนยาวก็ขึ้นเรื่อยๆ (ความจริงคือปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ “เหมายัน” หรือ Winter solstice กลางคืนยาวที่สุดในรอบปี ตรงกับปฏิทินปัจจุบันวันที่ 21 ธันวาคม) พวกเขาเกิดความกลัวว่าดวงอาทิตย์จะลาลับไปทำให้โลกมืดตลอดกาล จึงต้องไปพึ่งเทพเจ้าแห่งท้องฟ้าที่ชื่อ “เจนัส” (God Janus) เทพเจ้าองค์นี้ถือกุญแจไขท้องฟ้า ผลจากการบนบานศาลกล่าวประมาณ 10 วัน ดวงอาทิตย์เริ่มขยับตัวเคลื่อนกลับมาทางทิศเหนืออีกครั้งหนึ่ง พวกเขาดีใจมากและเชื่อว่านี่คือผลงานของเทพเจ้าเจนัส จึงตั้งให้วันนี้เป็นวันแรกของปี คือ 1 January มาจากรากศัพท์ Janus นับแต่นั้นเรื่อยมาวันที่ 1 มกราคมจึงเป็นปีใหม่ในปฏิทินโรมัน
ทำไมปฏิทินโรมัน และวันที่ 1 มกราคมกลายเป็นสากลของคนทั้งโลก
พูดกันตามหลักความจริงแบบไม่ต้องอ้อมค้อม ปฏิทินที่เราๆท่านๆใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลพวงการผสมผสานโดยเอาข้อมูลดาราศาสตร์ โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบ เป็นตัวตั้ง ใส่วิชาคณิตศาสตร์เข้าไปให้มีตัวเลข 365 วัน และ 366 วันทุกๆสี่ปี เติมเงื่อนไขความเชื่อทางศาสนาและประเพณีให้มีสีสันขณะเดียวกันก็ดูขลัง สุดท้ายอาศัยอำนาจทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจเผยแพร่ปฏิทินนี้ให้คนทั่วโลกใช้เป็นคำภีร์สากล สมมุติเล่นๆว่าถ้าพี่ไทยอย่างเราๆท่านๆเป็นมหาอำนาจระดับโลกเมื่อห้าร้อยปีที่แล้ว สามารถชี้ไม้เป็นนกชี้นกเป็นไม้ได้ รับรองว่าปีใหม่สากลต้องเป็นวันที่ 15 เมษายน และคนทั่วโลกคงต้องรดน้ำสงกรานต์กันถ้วนหน้าอย่างไรก็ตามปฏิทินโรมันมีการปรับแต่งใหม่เมื่อ 45 ปี ก่อนคริสตกาลโดยจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ จูเลียส์ ซีซ่าร์ เจ้าของคำพูดอหังการ “ข้ามา ข้าเห็น และข้าก็ชนะ” Veni Vidi Vici (I came I saw I conquered) ท่านซีซ่าร์ไม่สบอารมณ์กับปฏิทินโรมันฉบับที่ใช้อยู่เพราะกำหนดวันสำคัญของพิธีทางศาสนาไม่ตรงกับช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิต ที่เป็นเช่นนี้เพราะปฏิทินโรมันดั่งเดิมที่มีชื่อว่า "ปฏิทินนูม่า" (Calendar of Numa) จัดทำในสมัยจักรพรรดิโรมันชื่อ Numa Pompilius เมื่อ 713 ปี ก่อนคริสตกาล มีจำนวนวันในรอบปี 355 วัน แต่ในความเป็นจริงตามหลักดาราศาสตร์โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลาประมาณ 365.25 วัน ปฏิทินนูม่าจึงมีจำนวนวันน้อยกว่าความเป็นจริงตามธรรมชาติปีละประมาณ 10 วัน เมื่อสะสมนานๆเข้าจนถึงยุคสมัยของจักรพรรดิจูเลียส์ ซีซ่าร์ 46 ปี ก่อนคริสตกาล "ปฏิทินนูม่า" กับ "ฤดูกาล" จึงคลาดเคลื่อนกันมาก เป็นเหตุให้กำหนดวันทำพิธีทางศาสนาในฤดูใบไม้ร่วงเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิต กลายเป็นฤดูร้อนไม่มีผลผลิตอะไรเหลือให้เก็บเกี่ยว ท่านจูเลียส์ ซีซ่าร์ จึงสั่งการให้เริ่มสังคายนาปฏิทินโรมันเสียใหม่ในปี 45 ก่อนคริสตกาลตอนนั้นท่านซีซ่าร์พำนักอยู่ที่อียิปส์ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรโรมันและมีภรรยาน้อยเป็นเด็กวัยรุ่นหน้าตาดี ชื่อ พระนางครีโอพัตรา จริงๆแล้วพระนางมีตำแหน่งเป็นฟาร์โรในราชวงศ์ปโตเลมี เมื่อพระนางทราบว่าสามีผู้ยิ่งใหญ่ต้องการสร้างปฏิทินโรมันฉบับใหม่ จึงเสนอให้เอาผู้เชี่ยวชาญดาราศาสตร์จากราชสำนักฟาร์โรชื่อ โซซิเจเนส แห่งเมืองอล็กซานเดรีย (Sosigenes of Alexandria) มาทำหน้าที่นักวิชาการคำนวณปฏิทินฉบับใหม่ เป็นที่เข้าใจกันว่าอีตาผู้เชี่ยวชาญคนนี้แกเป็นเด็กเส้นของพระนางคลีโอพัตราไม่งั้นแกจะมีสิทธิได้รับเหมาด้วยวิธีพิเศษโดยไม่ผ่านการประกวดราคาได้อย่างไรละ แสดงว่าการเข้าหลังบ้านเพื่อรับเหมางานราชการมีความเป็นมานานกว่าสองพันปีแล้ว ผมจินตนาการว่าท่านซีซ่าร์คงจะคิดว่าไหนๆตูข้าก็หลวมตัวมาอยู่กินกับเด็กสาววัยรุ่นอย่างพระนางคลีโอพัตราแล้ว แถมเมียหลวงก็อยู่ห่างไกลที่กรุงโรม เป็นอันต้องตามใจแม่สาวน้อยซักทีนึงคงไม่เสียหายอะไรนัก อันนี้ผมว่าเองนะครับจริงๆแล้วไม่รู้ว่าท่านซีซ่าร์คิดอย่างไร แต่ดูจากพฤติกรรมแวดล้อมมันส่อไปทำนองนั้นเล่าถึงตอนนี้หลายท่านอาจสงสัยว่า ทำไมจักรพรรดิ์ซีซ่าร์ซึ่งเป็นชาวยุโรปจึงหลงเสน่ห์สาวอียิปส์ได้ง่ายๆ คำตอบคือ พระนางคลีโอพัตราไม่ใช่คนอียิปส์แต่เป็นลูกหลานฝรั่งชาวกรีกสืบเชื้อสายมาตั้งแต่ “ฟาร์โร ปโตเลมี” ผู้สืบอำนาจการปกครองอาณาจักรอียิปส์ต่อจากพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ดังนั้นพระนางจึงมีผิวพรรณขาวและสง่างามในสายตาของชาวโรมัน ปฏิทินฉบับกลิ่นอายอียิปส์ได้เริ่มประกาศใช้ในอาณาจักรโรมันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยกำหนดให้ปีหนึ่งมี 365 วัน และทุกๆสี่ปีเพิ่มอีกหนึ่งวันให้เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน รวมทั้งปี 366 วัน สูตรนี้คำนวณมาจากหลักการโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เท่ากับ 365.25 วัน เมื่อครบสี่ปีให้ปัดเศษไปรวมกันเป็น 1 วัน นักวิชาการเรียกปฏิทินฉบับนี้ว่า Julian Calendarอย่างไรก็ตามก่อนที่จะประกาศใช้อย่างเป็นทางการได้เกิดเรื่องใหญ่ขึ้น กล่าวคือนักวิชาการอียิปส์จะกำหนดให้เปลี่ยนวันปีใหม่จาก 1 มกราคม มาเป็นวัน "วสันตวิษุวัต" กลางวันเท่ากับกลางคืนต้นฤดูใบไม้ผลิตามแบบฉบับของอาณาจักรอียิปส์ เท่านั้นแหละสภาการปกครองแห่งอาณาจักรโรมันถึงกับเป็นเดือดเป็นร้อน เพราะท่านซีซ่าร์ไฉนจึงละทิ้ง "เทพเจ้าเจนัส" ได้ลงคอ จึงยื่นคำขาดจะปลดซีซ่าร์ออกจากตำแหน่งจักรพรรดิ์ แถมขู่อีกว่าไปเอาเมียน้อยต่างชาติก็ผิดแล้วแต่สภาก็อดกลั้นไว้เพราะให้เกียรติในฐานะนักรบผู้ยิ่งใหญ่ แต่นี่เล่นจะเปลี่ยนวันปีใหม่ของเทพเจ้าเจนัสไปเป็นปฏิทินอียิปส์ "มันรับไม่ได้" เจอคำขู่แบบนี้ท่านซีซ่าร์ถึงกับถอดใจต้องใช้กลยุทธ "ยอมงอ แต่ไม่ต้องหัก" เพื่อให้ทุกอย่างไปด้วยกันแบบ win win ระหว่างเมียน้อยกับตำแหน่งจักรพรรดิ์ ท่านซีซ่าร์จึงพบกันคนละครึ่งทางระหว่างอียิปส์กับโรมันโดยให้วันปีใหม่คงเป็น 1 มกราคม เหมือนเดิม ส่วนนอกนั้นเอาแบบอียิปส์คือหนึ่งปีมี 365 วัน และเพิ่ม 366 วันทุกๆสี่ปี ทางสภาโรมันก็รับได้ถึงแม้จะไม่สบอารมณ์เท่าไหร่ก็เข้าตำรา "กำขี้ดีกว่ากำตด" ส่วนท่านซีซ่าร์แกก็แฮบปี้เพราะเก้าอี้จักรพรรดิ์ก็ยังอยู่ เมียน้อยก็ไม่เสียหน้า ประชาชนทั้งอียิปส์และโรมันก็พอรับได้ นี่แหละครับยอดนักรบย่อมมีไม้เด็ดออกหมัดน้อกได้ในยกสุดท้ายอย่างไรก็ตาม ปฏิทินจูเลียส ซีซ่าร์ ใช้ต่อเนื่องมาพันกว่าปีก็เกิดปัญหาใหม่ คือการคำนวณวัน “อีสเตอร์” ซึ่งต้องตรงกับ “วันอาทิตย์” ถัดจากขึ้น 15 ค่ำ หลังจากวันที่ 21 มีนาคม “วสัตวิษุวัต” (Vernal equinox) แต่ปรากฏว่าวันที่ 21 มีนาคม มาถึงก่อนปรากฏการณ์วสันตวิษุวัตถึง 10 วัน เนื่องจากปฏิทินซีซ่าร์สะสมการคลาดเคลื่อนประมาณ 1 วัน ต่อ 128 ปี เพราะวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ไม่ใช่ลงตัวเป๊ะๆที่ 365.25 วัน แต่เป็น 365.2424 วัน ทำให้การประกอบพิธีกรรมทางศาสนาคริตส์ไม่ตรงกับหลักการเบื้องต้น ร้อนถึงสันตปาปา “เกรเกอรี่ ที่ 13” ต้องปรับปรุงปฏิทินฉบับนี้ใหม่ โดยออกกฏแห่งสำนักวาติกันกำหนดให้วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม ค.ศ.1582 เป็นวันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม ดังนั้น ผู้คนชาวโรมันเข้านอนในคืนวันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม เมื่อตื่นเช้าจะพบกับวันศุกร์ที่ 15 แต่วันปีใหม่ก็คงไว้ที่ 1 มกราคม เช่นเดิม ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาชาวคริตส์ทั่วยุโรปได้ยึดถึงปฏิทินฉบับเกอกอร์รี่ที่ 13 เป็นคำภีร์ฉบับใหม่ และแน่นอนครับอิทธิพลของชาวยุโรปในยุคล่าอาณานิคมได้แพร่กระจายปฏิทินฉบับนี้ไปทุกหนแห่งที่ตนเองเข้าครอบครอง ทั้งทวีปอัฟริกา เอเซีย อเมริกาใต้ และอเมริกาเหนือ
 

     

ประเทศไทยก็ประกาศให้วันที่ 1 มกราคม เป็นปีใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2484 โดยท่าน “ผู้นำชาติพ้นภัย” จอมพลแปลก พิบูลสงคราม

เหตุผลที่เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายน มาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ
1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย
สรุปแล้ววันปีใหม่ 1 มกราคม มีที่มาที่ไปตั้งแต่กรุงโรมโบราณเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน 2,724 ปี และก็อย่างที่ผมว่าไว้แต่ต้น ปีใหม่เริ่มจากดาราศาสตร์ บวกคณิตศาสตร์ ใส่เรื่องราวของความเชื่อและศาสนา เผยแพร่ไปทั่วโลกด้วยอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจ มิติแห่ง “กาลเวลา” ของโลกใบนี้จึงตกอยู่ในคำภีร์ของลูกหลานชาวโรมันอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น ถ้าท่านไม่เชื่อก็ขอให้ลองทำสัญญาซื้อขายสินค้ากับต่างประเทศโดยระบุวันส่งของเป็น “ปฏิทินจันทรคติแบบไทยๆ” ให้ส่งของตรงกับ ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 3 ปี มะโรง รับรองไม่มีใครทำธุรกิจกับท่าน หรือไม่ก็ให้รัฐบาลไทยที่มักอ้างว่าทำอะไรก็ต้อง "แบบไทยๆ" ลองหาญกล้าเปลี่ยนปีงบประมาณแผ่นดินเป็น ขึ้น 1 ค่ำ เดือนอ้าย เอาไม้ละ

ประเพณี New Year Countdown
เป็นที่ทราบโดยทั่วกันในระดับสากลว่าเมื่อถึงคืนวันที่ 31 ธันวาคม ผู้คนทั้งโลกจะจัดกิจกรรม "นับถอยหลัง" เพื่อเฉลิมฉลองเข้าสู่วันปีใหม่ และแน่ละเรื่องแนวสนุกสนานแบบนี้เข้าตาพี่ไทยอย่างเราๆท่านๆ ประเทศไทยจึงอึกทึกไปด้วยเสียงจุดพลุและประทัด อย่างไรก็ตามประเทศต่างๆจะ "นับถอยหลังไม่พร้อมกัน" เนื่องจากเวลาเที่ยงคืนในท้องถิ่นของแต่ละประเทศไม่ตรงกัน เพราะอยูกันคนละตำแหน่งของเส้นแวง (longitude) ประเทศไหนอยู่ที่เส้นแวงทางตะวันออกสุดที่ 180 E จะถึงเวลาเที่ยวคืนก่อนเพื่อน ส่วนประเทศที่ตั้งอยู่เส้นแวงตะวันตกสุด 180 W ก็ต้องรอคิวหลังสุด ทั้งหมดนี้ห่างกัน 24 ชั่วโมง
โลกหมุนรอบตัวเองไปทางทิศตะวันออกจึงทำให้ประเทศที่อยู่ทางตำแหน่งนั้นเริ่มต้นวันใหม๋ก่อนใครเพื่อน
ในทางวิชาการดาราศาสตร์โลกมีลักษณะเป็นวัตถุทรงกลม ถูกแบ่งออกเป็นเส้นระหว่างขั้วโลกเหนือกับขั้วโลกใต้ เรียกว่าเส้นแวง (Longitude) มีตั้งแต่ 0 -180 องศาตะวันออก และ 0-180 องศาตะวันตก รวมทั้งสิ้นเป็น 360 องศา โดยกำหนดให้จุดเริ่มต้นศูนย์องศาอยู่ที่เมืองกรีนนิค (Greenwich) ประเทศอังกฤษ เมื่อโลกหมุนรอบตัวเองไปทางทิศตะวันออกจะใช้เวลา 4 นาที ต่อ 1 องศา หรือ 1 ชั่วโมง ต่อ 15 องศา

จุดเริ่มต้นที่ศูนย์องศาของเส้นแวงอยู่ที่เมืองกรีนนิค ประเทศอังกฤษ เรียกชื่อเส้นนี้ว่า Prime Meridian
ตามข้อตกลงสากลกำหนดให้จุดเริ่มต้นวันใหม่อยู่ที่เส้นแวง 180 E เรียกชื่อว่าเส้นเขตเริ่มต้นวันใหม่สากล (International Date Line) ประเทศไหนตั้งอยู่ที่ตำแหน่งนี้จะเริ่มต้นวันใหม่ก่อนเพื่อน ในกรณีนี้ประเทศนิวซีแลนด์จะได้รับเกียรติให้นับถอยหลังปีใหม่เป็นอันดับแรกของโลกประเทศอังกฤษตั้งอยู่ในตำแหน่งเส้น Prime meridian จะนับถอยหลังปีใหม่ช้ากว่าประเทศนิวซีแลนด์ร่วม 12 ชั่วโมงถ้าเจาะลึกลงไปในรายละเอียดจะเห็นว่า "เกาะซามัว" (Samoa) หรือมีชื่อทางการว่า American Samoa เป็นดินแดนในอานัติของสหรัฐอเมริกา อยู่ภายใต้การปกครองของประธานาธิบดีบารัค โอบาม่า ใช้เงินตราดอลล่าห์สหรัฐ อยู่เลยตำแหน่ง International Date Line ไปนิดเดียวต่อมาจึงมีการปรับให้เข้าไปอยู่ในเส้น International Date Line เพื่อสะดวกต่อการนับวันเวลาตามหลักสากลในแผนที่การแล่งโซนเวลาของโลก ประเทศไทยจัดอยู่ในตำแหน่งเส้นแวง 105 E (เลือกสถานที่ ณ ผาชนะได อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี) โซนเวลาของเราจึงอยู่ที่ +7 ชั่วโมง จากประเทศอังกฤษดังนั้น ประเพณีนับถอยหลังวันปีใหม่จึงเป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับหลักวิชาการดาราศาสตร์ และคณิตศาสตร์ที่ว่าด้วยทฤษฏีปีธากอรัสที่ว่าด้วยมุมและองศา แต่ตัวเลขของโซนแห่งเวลาสากลเป็น "สิ่งสมมุติ" ที่เราๆทั้งหลายตกลงกันเองโดยอาศัยประเทศมหาอำนาจเป็นผู้นำเสนอ ซึ่งในยุคนั้นประเทศอังกฤษเขาเป็นเจ้าโลกก็สามารถชี้อะไรได้ตามถนัด ตำแหน่งเส้นแวง Prime meridian จึงต้องอยู่ตรงนั้น มันจึงเป็นเรื่องของการเมืองระหว่างประเทศ ถ้าพี่ไทยในยุคนั้นมีอำนาจเหนือใครในโลกรับรองว่าตำแหน่ง Prime meridian ต้องมาตั้งอยู่ที่กลางกรุงเทพมหานครเป็นแน่แท้

ทัวร์แนะนำ ที่คุณอาจจะสนใจ