รู้ไว้ก่อนไปเที่ยว : วันขึ้นปีใหม่,บริสุทธิ์ที่สุดในญี่ปุ่น,วันสำคัญ,วันสิ้นปีจนถึงวันปีใหม่

รู้ไว้ก่อนเที่ยว : วันขึ้นปีใหม่,บริสุทธิ์ที่สุดในญี่ปุ่น,วันสำคัญ,วันสิ้นปีจนถึงวันปีใหม่

รู้ไว้ก่อนเที่ยว : วันขึ้นปีใหม่,บริสุทธิ์ที่สุดในญี่ปุ่น,วันสำคัญ,วันสิ้นปีจนถึงวันปีใหม่

โอะโชวกัตซึ hokusai
ช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดใน หนึ่งปีของญี่ปุ่น คือ การต้อนรับปีใหม่ที่จะมาถึง ภาษาญี่ปุ่นคำว่า 正月(โชกัตซึ) จะเรียกว่า お正月 (โอะโชวกัตซึ)หรือวันขึ้นปีใหม่ สำหรับวันที่ 1 เดือน มกราคม เราเรียกว่า 元旦 (คัตตัน)เป็นวันที่สำคัญมาก และ ตั้งแต่วันที่ 1จนถึงวันที่ 3 เราจะเรียกว่า 正月三が日(โชวกัตซึซันกะนิจิ)
เพราะเหตุใดวันขึ้นปีใหม่ถึงสำคัญ เพราะคนญี่ปุ่นนั้นให้ความสำคัญกับ"ความบริสุทธิ์" ปีใหม่ยังไม่มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น ซึ่งก็เปรียบเสมือน สีขาวบริสุทธิ์ที่ยังไม่แปดเปื้อน ตัวอย่างเช่น เจ้าสาวในงานแต่งงานนั้นก็จะสวมชุดกิโมโนสีขาว ซึ่งเป็นเหตุผลเดียวกัน สำหรับคนญี่ปุ่น วันแรกของปีนั้นจะเป็นวันที่ยังไม่มีสิ่งต่างๆเกิดขึ้นซึ่งก็เปรียบเสมือนสีขาวบริสุทธิ์
การทำความสะอาดครั้งใหญ่ 大掃除
คนญี่ปุ่นจะการทำความสะอาดบ้านเพื่อเป็นการต้อนรับปีใหม่ที่จะมาถึง เรียกว่า การทำความสะอาดครั้งใหญ่ ไม่ว่าจะ บ้าน,สำนักงาน ,รถยนต์,ในเมือง ทุกๆแห่งก็จะมีการทำความสะอาด คนที่ให้เงินยืมไปก็จะต้องไปตามเก็บคืนมา ส่วนคนที่ยืมก็ต้องพยายามหาเงินมาคืนให้กับเจ้าหนี้ด้วย เป็นการเตรียมตัวรับสิ่งดีๆในวันปีใหม่
ก่อนถึงวันปีใหม่ช่วงวันที่ 31ธันวาคม จะเรียกวันนี้ว่า 大晦日(โอมิโซกะ) ในวัน โอมิโซกะนี้จะต้องมีการทำความสะอาดให้เสร็จภายในช่วงเวลากลางวัน และเมื่อถึงเวลากลางคืนก็จะเป็นช่วงเวลานั่งรอวันปีใหม่ที่จะมาถึง สิ่งที่ทำกันมาเป็นประเพณีในวัน โอมิโซกะ เช่นการฟังคอนเสริตเพลงมิวสิคคัล หรือการนั่งดูทีวีรายการพิเศษในวันสิ้นปี วันโอมิโซกะ เป็นช่วงเวลาที่เราจะอยู่ร่วมกับ ครอบครัว, เพื่อน หรือคนรัก
โซบะข้ามปี 年越しそば
ที่ญี่ปุ่น มีประเพณีกิน"โซบะ"ในวันสิ้นปี ซึ่งเรียกว่า "โซบะข้ามปี" ทำไมถึงกินโซบะในวันสิ้นปีนั้น ยังไม่มีเหตุผลที่ชัดเจน มันเป็นประเพณีที่มีมาตั้งแต่สมัยเอโดะ เพราะเส้นโซบะยาว จึงมีทฤษฎีที่ทำให้เป็นประเพณีซึ่งเชื่อกันว่า "ขอให้สามารถใช้ชีวิตอย่างยืนยาว แข็งแรง"ดูเหมือนว่ามีหลายคนที่จะกิน"โซบะข้ามปี"ในคืนที่ใกล้เข้าสู๋วันปีใหม่ ตามชื่อนั้น
มหกรรมคอนเสริต์ ขาว แดง 紅白歌合戦
ในวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปีที่ญี่ปุ่นจะมีการจัดงาน คอนเสิร์ตขาวแดง ซึ่งจัดขึ้นโดยสถานีโทรทัศน์ NHK (https://www9.nhk.or.jp/kouhaku/) ซึ่งงานครั้งนี้เรียกสั้นๆว่า โควฮาคุ 「紅白」รายการนี้จะมีถ่ายทอดตั้งแต่เวลา 19 นาฬิกา 15 นาที ไปจนถึง 23 นาฬิกา 45 นาที ซึ่งรายการนี้มีคนญี่ปุ่นกว่าครึ่งรอคอยที่จะชม ตลอดรายการจะมีการแข่งขันระหว่างทีม ขาว (ทีมศิลปินผู้ชาย) และ แดง (ทีมศิลปินผู้หญิง) นักร้องส่วนใหญ่ที่ขึ้นบนเวที คอนเสริต์ ขาว แดง นี้ เป็นนักร้องที่ได้รับความนิยมาช่วง หนึ่งปี และนักร้องผู้มีประสบการณ์ความรัก มาขับร้องเพลงให้ได้ฟังกัน สำหรับ มหกรรมคอน ขาว แดง ปี 2011 มีกลุ่มนักร้องจากเกาหลีที่ได้รับความนิยมในญี่ปุ่น เข้าร่วมด้วย คือ ดงบังชินกิ , เกริล์เจนเนเรชั่น และคาร่า
หลังจากมหกรรมคอน ขาว แดง เสร็จสิ้น ก็จะเริ่ม รายการ ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ซึ่งจะมีการถ่ายทอดสด โดยสถานี โทรทัศน์ NHKและสถานีวิทยุต่างๆ ตั้งแต่เวลา 23 นาฬิกา 45 นาที เป็นต้นไป สำหรับรายการนี้ เป็นรายการเค้าท์ดาวน์เข้าปีใหม่ เมื่อถึงเวลา เที่ยงคืน วันแรกของวันปีใหม่ จะถ่ายทอดสดการตีระฆังจากวัดที่มีชื่อเสียงทั่วประเทศ ปีใหม่สำหรับคนญี่ปุ่นนั้นเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์มาก

 

ระฆังส่งท้ายปี 除夜の鐘
ระฆังส่งท้ายปี 除夜の鐘
ระฆังส่งท้ายปีที่ญี่ปุ่น เมื่อเข้าสู่คืนวันที่31เดือนธันวาคม ก็จะค่อยๆตีระฆังใหญ่ที่วัดจำนวน108ครั้ง ซึ่งเรียกว่า"ระฆังส่งท้ายปี" เพราะที่ญี่ปุ่นเองก็มีวัดในหลายๆที่เช่นเดียวกับไทย พอได้ยินเสียงระฆัง คนญี่ปุ่นก็จะรู้สึกว่า"ปีนี้ก็จบลงแล้วสินะ"
แล้วทำไมถึงต้องตี108ครั้งล่ะ? มีทฤษฎีต่างๆมากมาย แต่ที่น่าเชื่อถือคือ "ทฤษฎีกิเลสตัณหา" กิเลสตัณหามีอยู๋ในตัวมนุษย์36ชนิด เมื่อรวมในส่วนของทั้ง3ชาติเข้าด้วยกัน คือ ชาติที่แล้ว ชาตินี้ และชาติหน้าก็จะได้108 ระฆังจึงถูกตีที่วัด108ครั้ง เพื่อจ่ายกิเสสตัณหาที่มีของมนุษย์ในตอนสิ้นปี
จะตีระฆังจนถึง107ครั้งถึงเที่ยงคืน กล่าวคือในช่วงปีเก่า และพอถึงเที่ยงคืนของปีใหม่ก็จะตีอีก1ครั้งเป็นครั้งสุดท้าย ที่วัดจะอนุญาตให้ผู้มาสักการะทั่วไปมาตีระฆังส่งท้ายปีได้ ถ้าไม่ใช่วัดที่มีชื่อเสียง เพียงแค่รอคิวนิดเดียวก็สามารถตีระฆังได้แล้ว ตอนที่จะข้ามปีที่ญี่ปุ่น ลองแวะไปที่วัดดูให้ได้นะ
การไปวัดครั้งแรกของปีใหม่ 初詣
การไปวัดครั้งแรกของปีใหม่ หลังจากที่วัดตีระฆังส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ แล้ว ผู้คนก็จะไปวัดกันในสัปดาห์แรกของวันปีใหม่ เชื่อกันว่า วัดเป็นสถานที่ที่ทำบุญให้กับคนตายและ เป็นสถานที่ที่ไว้สำหรับไหว้พระขอพร ผู้คนจะโยนเงินลงในกล่องและอธิษฐาน หลังจากไหว้พระแล้วก็จะพากันไปซื้อเครื่องรางนำโชค(โอมาโมริ)ติดตัว ตามวัดใหญ่ๆในเมืองต่างๆ คนจะนำรถไปวัดกันทำให้เกิดการจราจรติดขัดอยู่บ่อยๆ คนส่วนใหญ่ เมื่อไหว้พระขอพรกันเสร็จแล้วก็จะเดินทางกลับบ้าน แต่ก็มีคนส่วนหนึ่งที่ ขึ้นไปดูพระอาทิตย์ของวันแรกในปีใหม่กันตาม ภูเขา หรือทะเล ซึ่ง พระอาทิตย์ที่ขึ้นวันแรกของปีเราจะเรียกว่า ฮัตซึฮิโนะเดะ (初日の出)
การประดับตกแต่งในวันขึ้นปีใหม่ 正月飾り
ของประดับตกแต่งสำหรับต้อนรับวันขึ้นปีใหม่ สิ่งที่เป็นตัวแทน ก็คือ กาคาโมมิจิ「鏡餅」(โมจิปั้นเป็นรูปกลมแบน วางซ้อนกัน 2 ขนาด ตั้งไว้เซ่นไหว้ในช่วงปีใหม่) คาโดมัสซึ「門松」ต้นสนหรือกิ่งสนที่นำมาประดับประตูบ้านในช่วงปีใหม่ ชิเมคาซาริ「しめ飾り」ของใช้ประดับวันปีใหม่
กาคาโมมิจิ 鏡餅กาคาโมมิจิ ทำมาจากข้าวโมจิ โมจิปั้นเป็นรูปกลมมี 2 อัน อันเล็กกว่าวางไว้บนอันใหญ่ ข้างบนวางด้วยส้มอีกที ถวายแด่เทพเจ้าในเทศกาลปีใหม่ เส้นผ่าศูนย์กลางของอันใหญ่ประมาณ สามสิบเซ็นติเมตร หมายถึง ใจกลางของบ้าน(โทโกะโนมะ) เป็นสถานที่ที่บริสุทธิ์ ส่วนโมจิอีกอันเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ห้าเซ็นติเมตร หมายถึง ไฟ และน้ำเป็นต้น สำหรับคนญี่ปุ่นมีความเชื่อว่า ตามสถานที่ต่างๆจะมีเทพเจ้าอาศัยอยู่ ซึ่งเรียกว่า ยาโอะโยโระซุ (八百万) ซึ่งหมายความว่าไม่มีที่สิ้นสุด เทพเจ้าอาศัยอยู่ทุกหนทุกแห่ง นั้นเป็นความเชื่อที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณสืบทอดต่อๆมา
คาโดมัสซึ 門松คาโดมัสซึ คือ การนำต้นไผ่มาตัดมุม สามต้น แล้วมัดรวมกัน ใช้ใบไผ่พันไว้รอบๆต้นอีกที โดยจะนำไปวางไว้ที่หน้าประตูบ้าน อาจจะข้างเดียวหรือ 2 ข้างของประตูก็ได้ เพื่อใช้ต้อนรับวิญญาณบรรพบุรุษและเทพเจ้าแห่งปี เชื่อว่าจะทำให้ปีนี้มีแต่สิ่งดีๆเข้ามา
ชิเมคาซาริ しめ飾りอย่างสุดท้ายคือ ชิเมะนาวะ คือการนำ ต้นข้าวมามัดกันเป็นฟ่อนใหญ่ๆ (เหมือนกับที่นักกีฬาซูโม่ใช้ในการแข่งขันกีฬามวยปล้ำ)ไปวางไว้ตามบริเวณ บ้านหรือบริษัทส่วนใหญ่จะนำ เอา ชิเมะนาวะ มาวางไว้ตรงทางเข้าหน้าบ้าน หรือวางไว้ตาม รถ , จักรยานและ ส่วนหน้าของโรงแรมเป็นต้น

การ์ดอวยพรในวันปีใหม่ 年賀状

การ์ดอวยพรในวันปีใหม่ 年賀状
การ์ดอวยพรในวันปีใหม่ 年賀状ในวันขึ้นปีใหม่ จะมีการส่ง การ์ดอวยพรวันปีใหม่ ให้กับ ญาติพี่น้อง เพื่อน หรือ คนที่ทำงานด้วยกัน ในสมัยก่อนจะเขียนด้วยลายมือ แต่ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะพิมพ์ส่งแทน เพื่อให้ผู้รับมีความสุข ตาม ที่ทำการไปรษณีย์ต่างๆ มีการวางจำหน่าย "ซองใส่เงินอวยพรวันปีใหม่" ไว้ใช้สำหรับเป็นการ์ดอวยพรปีใหม่ โดย"คุจิ" นี้จะเป็นของรางวัล จำพวกเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือ ตั๋วท่องเที่ยว เป็นต้น
ในกรณีที่ตัวเราไม่ได้ส่งการ์ดอวยพรไปให้กับคนอื่นแต่เราได้รับการ์ดอวยพรมานั้น จะต้องเขียนตอบกลับไปทันที หรือภายใน สอง หรือสามวัน
ตีโมจิ 餅突き
ตีโมจิ 餅突きปีใหม่เป็นวันน่ายินดีในการต้อนรับเข้าปีใหม่ๆ ที่ญี่ปุ่นเวลาที่น่ายินก็จะมีประเพณีการตีโมจิมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในวันปีใหม่ก็จะตีโมจิเช่นกัน เพราะญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ทำการปลูกข้าว จึงให้ความสำคัญกับอาหารที่ทำจากข้าว และการตีโมจิก็เป็นกิจกรรมสะดุดตาที่จัดขึ้นร่วมกับทุกคน โมจิที่ทำเสร็จก็จะนำไปจิ้มถั่วแดงกวน จิ้มแป้งถั่วเหลือง สามารถกินเป็นขนมได้ เพราะเหตุนี้ จีงเป็นที่นิยมมากในฐานะกิจกรรมในวันปีใหม่
สมัยก่อนจำนวนสมาชิกในแต่ละครอบครัวจะมีหลายคน เพราะญาติก็อาศัยอยู่ใกล้ๆมากมาย จึงมีการตีโมจิขึ้นในแต่ละครอบครัว แต่ด้วยในสมัยนี้ได้เปลี่ยนเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้นเรื่อยๆ ครอบครัวที่จะตีโมจิจึงแทบไม่มี ในขณะนี้การตีโมจิจะจัดขึ้นโดยชุมชนในเขต ซึ่งมีครอบครัวเข้าร่วมมากมาย
เพราะมีประเพณีตีโมจิในวันปีใหม่ การกินโมจิในวันปีใหม่จึงกลายเป็นประเพณีด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอาหารที่เรียกว่า "โซนิ" แม้แต่ในปัจจุบันก็ยังคงกินกันเป็นปกติทั่วไป เป็นอาหารที่ต้มโมจิกับเครื่องปรุงหลากหลาย เช่น เห็ด, ลูกชิ้นปลา, เนื้อไก่ และผักโขม ในน้ำซุปรสโชยุ
ถุงนำโชค 福袋
วันปีใหม่ตามบริษัทจะมีการให้โบนัสแก่พนักงาน และ สำหรับของเด็กๆ จะเรียกว่า โอโทชิดามะ คือ เงินค่าขนมที่ได้รับจากผู้ใหญ่ เงินที่ได้รับในช่วงนี้จะทำให้การจับจ่ายซื้อของมีเพิ่มขึ้น ฟุคุฟุคุโระ หรือ ถุงนำโชคนี้ เป็น ของที่ได้รับความนิยมในช่วงปีใหม่อย่างหนึ่ง
ถุงนำโชคภายในของถุงนำโชคมีอะไรอยู่นั้น มองจากภายนอกไม่สามารถเห็นได้ เป็นความตื่นเต้นอย่างหนึ่งที่ว่า ของข้างในมีอะไรอยู่ จนกว่าจะเปิดออกมาดู ส่วนใหญ่แล้ว ของข้างในจะมีราคาแพงกว่าเงินที่ซื้อ ปกติ จะราคาประมาน หนึ่งหมื่นเยน (สามพันเจ็ดร้อยบาท) ตามห้างนั้นจะมีราคาถุงละประมาณ หนึ่งล้านเยน(สามแสนเจ็ดหมื่นบาท)
ฟุคุฟุคุโระ ในอดีต หมายถึงถุงที่ใส่ความสุข ไม่ใช่สิ่งของ แต่ในปัจจุบันก็เปลี่ยนเป็นใส่ของดีๆเอาไว้
การละเล่นในวันปีใหม่ 正月の遊び
เล่นว่าวเมื่อถึงวันปีใหม่ คนญี่ปุ่นจะมีการไปเยี่ยมเยียนญาติ ตามบ้านของคุณตา คุณยาย ลูกๆหลานๆก็จะไปอวยพรเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ ข่วงนั้นสำหรับเด็กๆ เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการเที่ยวเล่น ภายในห้องจะมีการเล่น เกมคารุตะ ในอดีตนั้นเรียกว่า เฮียคุนินอิชชู (百人一首)เป็นการละเล่น โดยจะแข่งกันจดจำกลอนจากไพ่ และยังมีการละเล่นที่เรียกว่า ซูโกะโระคุ อีกอย่างนึง วิธีการเล่นคือ การทอยลูกเต๋าเดินไปตามแต้มที่ออก ในขณะที่ จะมีการเล่นว่าว นอกบ้านด้วยเหมือนกัน
แต่ในปัจจุบัน นิยมที่จะเล่นเกมคอมพิวเตอร์และวีดีโอเกมมากกว่าประเพณีการละเล่น ประเภทนี้ เทศกาลวันขึ้นปีใหม่ของญี่ปุ่นก็มีการปรับให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป
อาหารในเทศกาลปีใหม่ おせち料理
อาหารในเทศกาลปีใหม่ วันที่สาม ของ วันขึ้นปีใหม่ ผู้คนจะรับประทานอาหารที่มีเฉพาะวันขึ้นปีใหม่ ที่เรียกว่า โอะเซจิเรียวริ โอะเซจิเรียวริ เป็นอาหารที่ทำขึ้นมาเพื่อแสดงความยินดี ซึ่งประเพณีนี้มีมาตั้งแต่สมัยก่อน ซึ่งญี่ปุ่นรับเข้ามาจากประเทศจีนอีกที แต่ปรับเปลี่ยนให้เป็นรูปแบบของญี่ปุ่น
คนญี่ปุ่นสมัยก่อน ในวันแรกของปี เชื่อว่าถ้าใช้ไฟในห้องครัว เทพเจ้าจะโกรธและทำให้เกิดไฟไหม้ สมัยก่อนนั้นไม่มีตู้เย็น ดังนั้นจึงต้องทำอาหารที่สามารถเก็บไว้นานๆได้ เช่น ของต้ม,ของย่าง,ของหมักเป็นต้น
อาหารในเทศกาลปีใหม่มีหลากหลายประเภท จึงต้องนำใส่กล่องเก็บอาหาร ที่ไทยก็มีร้านอาหารที่ทำอาหารในเทศกาลปีใหม่เหมือนกัน ส่วนใหญ่จะต้องสั่งจองล่วงหน้า ผู้ที่สนใกรุณาติดต่อสอบถามตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน by たいすけ

ทัวร์แนะนำ ที่คุณอาจจะสนใจ